เพิ่มเติม -- ดีเอสไอยุติค้นวัดธรรมกายวันแรกแล้ว ยังไม่พบ ”ธัมมชโย” เตรียมค้นหาต่อพรุ่งนี้

ไม่มีใครยืนยันได้ว่า พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ยังคงอยู่ในวัดหรือไม่

ที่มาของภาพ, DAMIR SAGOLJ/REUTERS

คำบรรยายภาพ, ไม่มีใครยืนยันได้ว่า พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ยังคงอยู่ในวัดหรือไม่

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงผลการเข้าตรวจค้นวัดพระธรรมกายและพื้นที่โดยรอบ เพื่อตรวจค้นและจับกุม พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย ผู้ต้องหาตามหมายจับในข้อหาร่วมกันฟอกเงิน วันนี้ (16 ก.พ.) ว่า ปฏิบัติการตรวจค้นในวันแรก เจ้าหน้าที่ใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง ในการเข้าค้นพื้นที่สำคัญในวัดที่เชื่อว่าพระธัมมชโยพักอาศัยอยู่ แต่ก็ยังไม่พบตัวพระธัมมชโย จึงยุติการค้นหาลง และจะเริ่มการตรวจค้นอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป

มติชนออนไลน์ รายงานอ้าง พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษ และรองโฆษกดีเอสไอ ที่ระบุว่า ในวันพรุ่งนี้เจ้าหน้าที่จะเข้าค้นพื้นที่ของมูลนิธิต่าง ๆ ของวัด เช่น อาคาร 100 ปี อาคารอุบาสก และอาคารสงฆ์ รวมถึงพื้นที่อื่นที่เหลือ เช่น อาคารมหาธรรมกายเจดีย์ และอาคารรัตนวิหารคต

เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ได้นำกุญแจพร้อมโซ่ไปล็อคที่ประตู 6 ของวัดธรรมกาย เพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องผ่านเข้าออก พร้อมตรึงกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความเรียบร้อยบริเวณดังกล่าว

เจ้าหน้าที่เข้าค้นวัด

ที่มาของภาพ, EPA

เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2560 เรื่อง มาตรการให้อำนาจกำหนดพื้นที่ควบคุมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

สาระสำคัญของคำสั่งหัวหน้า คสช. นี้ คือการประกาศให้วัดพระธรรมกาย ตลอดจนพื้นที่โดยรอบในหมู่ 7-13 ต.คลองสอง และหมู่ 7-11 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็น "พื้นที่ควบคุม" และให้อำนาจ "พนักงานเจ้าหน้าที่" จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครองที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งมีอธิบดีดีเอสไอเป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการในพื้นที่ควบคุม อาทิ ไม่ให้เข้าออกจากพื้นที่ สั่งให้บุคคลใดออกจากพื้นที่ ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัว จับกุมบุคคลที่ทำผิดอาญาซึ่งหน้า เข้าไปในเคหสถานใดเพื่อตรวจค้น ควบคุมระบบการสื่อสาร ฯลฯ

โดยกำหนดโทษของผู้ที่ขัดขวางหรือฝ่าฝืนไว้คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 17 ของพรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งนิรโทษกรรมให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย หากปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ มาใช้บังคับกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. นี้

รวมถึงกำหนดให้ไม่สามารถจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ด้วย

กรมสอบสวนคดีพิเศษประกาศปิดถนนโดยรอบวัดพระธรรมกาย ตั้งแต่วันนี้ จนกว่าการตรวจค้นเพื่อนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีจะเสร็จสิ้น

ที่มาของภาพ, Department of Special Investigation

คำบรรยายภาพ, กรมสอบสวนคดีพิเศษประกาศปิดถนนโดยรอบวัดพระธรรมกาย ตั้งแต่วันนี้ จนกว่าการตรวจค้นเพื่อนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีจะเสร็จสิ้น

ยันเลี่ยงรุนแรง ใช้อำนาจเท่าที่จำเป็น

เช้าตรู่วันเดียวกัน กำลังผสมจากดีเอสไอ ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง เข้าปิดกั้นทางเข้าออกโดยรอบวัดพระธรรมกาย โดยสื่อมวลชนไทยหลายสำนักรายงานจำนวนกำลังเจ้าหน้าที่ มีระหว่าง 1,350 - 1,500 คน ขณะที่ดีเอสไอยังได้ประกาศปิดกั้นถนนโดยรอบวัดธรรมกายตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. 2560 จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ

พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ระบุว่า เหตุที่มีการใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. นี้ เนื่องจากพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาในคดีร่วมกันฟอกเงินหรือรับของโจรจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น รวมเป็นเงิน 1,400 ล้านบาท ในคดีพิเศษที่ 27/2559 มีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แม้ศาลอาญาจะออกหมายจับ และต่อมา อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องคดีดังกล่าว และมีคำสั่งให้ดีเอสไอนำตัวพระเทพญาณมุนีมาดำเนินคดี แต่กลับถูกลูกศิษย์ของวัดขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จึงต้อง

"จึงจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 เพื่อนำตัวพระธัมมชโยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่ยืนยันว่าจะใช้อำนาจเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงความรุนแรงทุกอย่าง และจะเข้าตรวจค้นโดยไม่มีอาวุธ" พ.ต.อ.ไพสิฐกล่าว

.

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang / BBC Thai

พ.ต.อ.ไพสิฐยังเปิดเผยว่า การขอเข้าตรวจค้นครั้งนี้ ศาลได้อนุมัติหมายค้นเป็นเวลาหลายวัน แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า ให้เวลากี่วัน

ทั้งนี้ มีรายงานว่า คืนวานนี้ (15 ก.พ. 2560) นายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ได้เข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาทั้งหมิ่นประมาท และยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยนายองอาจกล่าวปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวน โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ห้ามสร้างความวุ่นวาย และห้ามยุยงปลุกปั่น

.

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang / BBC Thai

ก่อนหน้านี้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมว.ยุติธรรม เปิดเผยว่า ในหมายค้น ศาลให้เวลาเป็นสัปดาห์ ส่วนจะดำเนินมาตรการใดๆ หลังจากนี้ เช่น ตัดน้ำ ตัดไฟ ให้เป็นดุลยพินิจของอธิบดีดีเอสไอ"ตอนนี้เรายังยึดไว้ว่าพระธัมมชโยยังอยู่ในวัด ไม่เช่นนั้นศาลคงไม่อนุมัติหมายค้นให้" นายสุวพันธุ์กล่าว

เวลา 10.00 น. พ.ต.อ.ไพสิฐ พร้อมด้วย พล.ต.ต.สมบัติ มิลินทจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 1 พระเทพรัตนสุธี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี และเจ้าหน้าที่สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ มาเจรจากับตัวแทนวัดพระธรรมกาย ซึ่งนำโดยพระมหานพพร ปุญญชโย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกาย ที่ประตู 7 เพื่อขอเข้าตรวจค้นภายในวัด โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

พ.ต.อ.ไพสิฐ ระบุว่า ทางวัดพระธรรมกายให้ความร่วมมืออย่างดี โดยเจ้าหน้าที่จะนำกำลังตรวจค้นทุกประตูตามหมายจับ เริ่มจากประตู 8 ก่อน และจะตรวจค้นให้ครบพื้นที่ ทั้ง 2,000 ไร่ของวัด

.

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang / BBC Thai

ด้านพระมหานพพร กล่าวว่า ไม่สามารถยืนยันได้ว่าพระธัมมชโยอยู่ในวัดหรือไม่ เพราะไม่ได้พบมา 8 เดือนแล้วเวลา 13.00 น. พ.ต.อ.ไพสิฐเดินทางมาที่ประตู 1 ที่อยู่ใกล้เคียงกับอาคารภาวนาและอาคารดาวดึงส์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่พักรักษาอาการอาพาธของพระธัมมชโย เพื่อขอเข้าตรวจค้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทางวัดไม่ยอมเปิดที่ล็อกกุญแจทำให้ต้องใช้คีมตัดกุญแจ ทั้งนี้ในการตรวจค้นทั้ง 2 จุด ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปทำข่าว