ประเด็นถกเถียงสองโรงไฟฟ้าใหม่ในภาคใต้

เหมืองถ่านหิน

ที่มาของภาพ, Getty Images

บีบีซีไทยรวบรวมข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ที่กำลังเป็นประเด็นร้อน

สองโรงไฟฟ้าใหม่ในภาคใต้

ก.พลังงาน/กฟผ. : ใช้ถ่านหิน "สะอาด" สำหรับ 800 mw ที่ จ. กระบี่ และ 1100+1100 mw ที่ อ.เทพา, ต้นทุนถูก เชื้อเพลิงหาง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

พรรคประชาธิปัตย์ : ใช้ปาล์มน้ำมันสำหรับ กระบี่ และก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG) ที่ เทพา เพราะ การขนถ่ายถ่านหินลงเรือเล็ก จะทำให้เกิด มลพิษทางทะเล และการเผาไหม้จะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ

ชนิดของเชื้อเพลิง

ก.พลังงาน/กฟผ. : ลดการพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติที่กำลังหมดลงในอ่าวไทยและเมียนมา ไปใช้ถ่านหินคุณภาพสูง ที่มีราคาถูก และใช้ "เทคโนโลยีสะอาด"

พรรคประชาธิปัตย์ : ลดการพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติไปใช้ LNG เพราะ มีอยู่ทั่วโลก เป็นเชื้อเพลิงสะอาด ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีราคาเหมาะสม

สัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟ

โรงขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมองว่าก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

ก.พลังงาน/กฟผ. : ก๊าซธรรมชาติ 65% เป็น 37% ปี2579 ถ่านหิน 18% เป็น 23% ปี2579

พรรคประชาธิปัตย์ : ทำไมต้องหันไปหาถ่านหิน ในเมื่อมี LNG ที่สะอาดกว่า ราคาพอกัน และ ต้นทุนการสร้างถูกกว่า

ทำไมต้องไปเพิ่มการใช้ถ่านหิน

ก.พลังงาน/กฟผ. : หลักสากลกระจายความเสี่ยง ใช้ถ่านหิน 30% ขึ้นไป และใช้ก๊าซ 20% - 25% หลายประเทศสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ มาเลเซีย

พรรคประชาธิปัตย์ : ทั่วโลกกำลังลดการใช้ถ่านหินลง มุ่งหน้าพลังงานทางเลือกมากขึ้น แต่กระทรวงพลังงาน กำลังเดินทางสวนกระแสโลก

เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ก.พลังงาน/กฟผ. : โรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ของไทย จะใช้ ถ่านหินซับบิทูมินัสจากอินโดนิเซียและออสเตรเลีย ใช้เทคโนโลยี "สะอาด" Ultra-Super Critical (USC) มีประสิทธิภาพสูง และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้รับการยอมรับจาก ธนาคารโลก

ถ่านหินซับบิทูมินัส

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, ถ่านหินซับบิทูมินัสมีสีน้ำตาลถึงสีดำ มีคาร์บอนสูงกว่าลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าและงานอุตสาหกรรม

พรรคประชาธิปัตย์ : ระยะเวลาในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งรวมถึงการอนุมัติ อนุญาต และการก่อสร้างจะใช้เวลาประมาณ 80 เดือน ในขณะที่การพัฒนาโรงไฟฟ้า LNG จะใช้เวลา 48 เดือน เพราะ โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซไม่ต้องขออนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ซึ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ต้องได้รับอนุมัติก่อนเริ่มต้นก่อสร้างโรงไฟฟ้า

ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งเอเชีย หรือ AIIB บอกว่า จะไม่ปล่อยกุ้โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน

ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยด้วยเชื้อเพลิงแต่ละชนิด

ก.พลังงาน/กฟผ. : ถ่านหิน 2-2.47 บาท, ก๊าซธรรมชาติ 2-4 บาท, LNG 6-7 บาท, แสงอาทิตย์ 4.12-8 บาท, ชีวมวล 4-5 บาท

แผงพลังงานแสงอาทิตย์

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, หลายประเทศเริ่มหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น

พรรคประชาธิปัตย์ : ผลการคำนวณอัตราค่าไฟเทียบเท่า (leverised tariff) ที่ราคาน้ำมันเบรนท์ 55 เหรียญต่อบาเรล และราคาถ่านหินอินโดนิเซียที่ 90 เหรียญต่อตันพบว่าอัตราค่าไฟจากการผลิตด้วย LNG อยู่ที่ 2.90 บาท ส่วน ถ่านหินอยู่ที่ 2.95 บาท

รวบรวมโดย : บีบีซีไทย