Got a TV Licence?

You need one to watch live TV on any channel or device, and BBC programmes on iPlayer. It’s the law.

Find out more
I don’t have a TV Licence.

รายงานสด

ระบุสหราชอาณาจักรโดยตลอด

  1. Post update

    บีบีซีไทยขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามรายงานสดพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โปรดติดตาม เว็บไซต์บีบีซีไทย เพื่อไม่ตกข่าวสารและสถานการณ์จากประเทศไทยและทั่วโลก

    ร.10 พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
  2. นาทีประวัติศาสตร์กับรัฐธรรมนูญฉบับแรกในรัชกาลที่ 10

    ภาพนาทีประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แด่ปวงชนชาวไทย

    Video content

    Video caption: King signs constitution
  3. นายกฯ เผยยังกำหนดวันเลือกตั้งไม่ได้ ยันใช้ ม.44 เท่าที่จำเป็น

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงผ่านทีวีพูล ภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เริ่มมีผลบังคับใช้ ใจความว่า ปัจจุบันถือว่าอยู่ในช่วงปลายของโรดแมประยะที่สองแล้ว เพื่อนำไปสู่ระยะที่สาม คือการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นเมื่อใด  เพราะต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ โดยเฉพาะการออกกฎหมายลูกเสียก่อน ทั้งนี้ คสช.และรัฐบาลจะอยู่ประกาศหน้าที่ต่อไป โดยบรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช. รวมถึงคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ออกไปแล้วยังคงมีผลใช้บังคับ เช่นเดียวกับมาตรา 44 ที่ยังคงมีอยู่ แต่จะใช้ภายใต้หลักเกณฑ์เดิม คือเท่าที่จำเป็นเร่งด่วน ที่ไม่อาจใช้กฎหมายปกติได้

    นายกฯ กล่าวอีกว่า ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฯใหม่ กำหนดให้ ครม. คสช. สนช. จะอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ส่วน สปท. และ กรธ. จะยังอยู่ต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง 3.สิทธิเสรีภาพรวมถึงหน้าที่ของประชาชนจะเพิ่มขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯใหม่ 4.มีภารกิจสำคัญที่รัฐบาลจะต้องทำ 2 เรื่อง ซึ่งจะเสนอกฎหมายให้ สนช. พิจารณาเร็วๆ นี้ คือวางยุทธศาสตร์ชาติ และปฏิรูปประเทศ 

    “คสช. และรัฐบาล มิได้เข้ามาเพื่อต้องการอำนาจและผลประโยชน์ หรืออยู่ยาวนาน โดยปล่อยให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่านพ้นไปแต่ละวันโดยเปล่าประโยชน์ หากแต่ต้องการแก้ปัญหาเดิม ๆ ที่ค้างคาอยู่จนเป็นกับดักสกัดกั้นความเจริญของชาติ” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

    อ่านเนื้อหาทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์รัฐบาลไทย

    นายก
  4. แอมเนสตี้ฯ: ทหารยังเป็นใหญ่หลังประกาศใช้ รธน.ใหม่

    แชมพา พาเทล ผอ.สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญใหม่ของไทยมีเงื่อนไขที่นำไปสู่การจัดเลือกตั้งทั่วไป และกำหนดแนวทางเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพต่าง ๆ ถึงกระนั้นก็แทบไม่มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่กำลังเกิดขึ้นอย่างร้ายแรงในประเทศ

    “รัฐบาลทหารของไทยยังคงมีอำนาจอย่างกว้างขวางในการปกครอง จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง อีกทั้งรัฐบาลใหม่ก็ได้รับอำนาจอย่างเสรีในการจำกัดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลมาจากข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่กำกวม" 

    “รัฐธรรมนูญใหม่กำหนดให้ประกาศและมีคำสั่งมากมาย บังคับใช้โดยรัฐบาลทหารมาตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป โดยประกาศและคำสั่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุม โดยมีการนำไปสู่การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย “ทางการไทยได้ประกาศแล้วว่า จะไม่มีการผ่อนปรนข้อห้ามต่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ความหวังที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงในอนาคตคงเป็นไปได้อยาก” 

    “เราเรียกร้องรัฐบาลไทยให้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ และยอมรับที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของตน ทางการควรยกเลิกการดำเนินคดีอาญาใด ๆ ที่มีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบ และให้ยกเลิกกฎหมายจำนวนมากที่คุกคามต่อเสรีภาพอย่างไม่หยุดยั้งนับแต่รัฐประหารปี 2557”

    รถถัง
  5. "รธน.นี้ดีที่มีการคุมสื่อ"

    ทัศนะของนักดนตรีและบัณฑิตนิติศาสตร์เกี่ยวกับ รธน.ฉบับใหม่ของประเทศ

    Video content

    Video caption: vox6
  6. 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฯ 2560

    • เป็นฉบับแรกที่มีการประกาศใช้ในรัชกาลที่ 10 ฉบับที่สองที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ฉบับที่ห้าที่มีงานพระราชพิธี และฉบับที่ 20 ของประเทศไทย นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475
    • เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการเปลี่ยนแปลง “ร่างสุดท้าย” บ่อยครั้งที่สุด ถึง 3 ครั้ง แม้จะผ่านการออกเสียงประชามติแล้ว ครั้งแรก แก้ไขเนื้อหาตามคำถามพ่วงประชามติ ครั้งที่สอง แก้ไขคำปรารภ เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 9 และครั้งที่สาม แก้ไขเนื้อหาตามข้อสังเกตพระราชทาน
    • เพิ่มหมวดใหม่ว่าด้วยการ “ปฏิรูปประเทศ” รวมถึง “หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับใด
    • เปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นแบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนในเมืองไทย โดยมี ส.ส. เขต 350 คน และ ส.ส.สัดส่วน 150 คน ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะชูว่าข้อดีคือทำให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย แต่หลายฝ่ายมองว่าข้อเสียคือจะทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ
    • ให้อำนาจของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับเก่ายังมีผลใช้บังคับต่อไป “ทับซ้อน” กับฉบับใหม่แล้ว โดยเฉพาะอำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44
    การออกเสียงประชามติร่าง รธน.
  7. เปิดเนื้อหาสำคัญ รธน. 2560 หลังปรับปรุงตามข้อสังเกตพระราชทาน

    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ซึ่งเพิ่งผ่านงานพระราชพิธีประกาศใช้ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน พบว่ามีการแก้ไขตามข้อสังเกตพระราชทานซึ่งมีขึ้นหลัง รธน.ผ่านประชามติไปแล้ว อย่างน้อย 5 มาตรา ได้แก่

    - มาตรา 5 กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครอง โดยตัดวรรค 3-5 ที่ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจัดการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ เพื่อวินิจฉัย ออก

    - มาตรา 12 เรื่องคุณสมบัติขององคมนตรี โดยเพิ่มข้อความว่า ให้ข้าราชการในพระองค์สามารถเป็นองคมนตรีได้

    - มาตรา 16 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ จากเดิมที่ระบุว่าให้ทรงแต่งตั้ง

    - มาตรา 17 กรณีที่มีความจำเป็นต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้เป็นไปตามลำดับที่ทรงโปรดเกล้าฯไว้ก่อนแล้ว

    - มาตรา 182 ให้ตัดวรรคสอง ว่าด้วยการมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานที่จัดพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ
    Image caption: พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานที่จัดพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ
  8. กรธ. ภัทระ ชี้ข้อดี รธน.ฉบับใหม่ "อย่ามัวแต่สนใจว่าคนมีอำนาจคนไหนจะอยู่หรือจะไป "

    นายภัทระคำพิทักษ์ หนึ่งในสมาชิก กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เขียน ในโพสต์ ทางเฟซบุ๊คส่วนตัว เมื่อ 4 เม.ย. ว่า  จะต้องมีการออกกฎหมายใหม่มารองรับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญราว ๆ 50 กว่าฉบับ และข้อดีอื่น ๆ ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อ่านเพิ่มเติม

  9. 85 ปี ปชต. กับ 20 รธน. เมื่อไหร่จะหยุดรัฐประหารได้

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560  ประกาศใช้ แล้ว เป็นฉบับที่ 20 นับแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ.2475

    แต่ด้วยอายุเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งอยู่ที่เพียงฉบับละ 4 ปีเศษ ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดจะอยู่ได้นานแค่ไหน มีโอกาสจะเป็น "ฉบับสุดท้าย" ที่มีอายุยาวนานเช่นเดียวกฎหมายสูงสุดของนานาอารยประเทศหรือไม่

    อ่านรายละเอียดทั้งหมด

    อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  10. ฮิวแมนไรท์วอทช์ชี้ รธน.ใหม่สืบทอดอำนาจทหาร

    HRW ชี้รัฐธรรมนูญใหม่สืบทอดอำนาจระบอบทหาร / เริ่มนับถอยหลังเลือกตั้ง แต่ คสช.ยังริดรอนสิทธิ์เสรีภาพ-ขัดขวางประชาธิปไตย-ปราบคนเห็นต่าง  

    ทหาร
  11. ภาคการท่องเที่ยว ขานรับสัญญาสู่โหมดประชาธิปไตย

    นายสง่า เรืองวัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัดดี้ กรุ๊ป ผู้ประกอบการร้านอาหารและโรงแรมย่านถนนข้าวสาร ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจถนนข้าวสาร ตัวแทนภาคการท่องเที่ยว บอกกับ บีบีซีไทย ว่า การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น ปลดล็อคเงื่อนไขบางประการที่ต่างชาติได้กำหนดไว้นับตั้งแต่การเข้ายึดอำนาจของคสช. 

    “นี่คือสัญญาที่สำคัญของการเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง” นายสง่ากล่าว

    Kaosan Road
  12. รังสิมันต์: รธน.ใหม่ไม่มีหลักประกันเรื่องสิทธิเสรีภาพ

    นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ส่วนตัวมองว่ารัฐธรรมนูญฯ นี้จะไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งสังคมไทยได้ เพราะแม้จะผ่านประชามติ แต่ก็เป็นประชามติที่ไม่มีความชอบธรรมในหลายประการ โดยเนื้อหาที่เห็นว่าเป็นปัญหา เช่น ที่มา ส.ว. ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน

    นายรังสิมันต์ กล่าวว่า การรับรองสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญฯ ไม่สามารถจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพได้จริง เนื่องจากหัวหน้า คสช.ยังสามารถใช้มาตรา 44 ได้ ไปจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ 

    "สุดท้ายไม่มีความหมายเรื่องหลักประกันสิทธิเสรีภาพ เพราะมาตรา 44 ก็สามารถละเมิดสิทธิเสรีภาพใดๆ ก็ได้อยู่แล้ว ซึ่งได้รับการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และใครก็เอาผลกระทบจากมาตรา 44 ฟ้องร้อง คสช. ไม่ได้" นายรังสิมันต์กล่าว

    พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
    Image caption: พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ภายหลัง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยลงในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้วพระราชทานแก่ พล.อ.ประยุทธ์ จัทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
  13. เนื้อหา รธน.ฉบับใหม่

    อ่านเนื้อหา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560  โดยละเอียด 

    การตีระฆัง
    พระสงฆ์ชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
    Image caption: พระสงฆ์ชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
  14. เส้นทางรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

    • 7 ส.ค.2559 - วันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ยกร่าง
    • 10 ส.ค.2559 - กกต.รับรองผลประชามติอย่างเป็นทางการ เห็นชอบทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง
    • 8-9 พ.ย.2559 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติขึ้นทูลเกล้าฯ
    • 9 ม.ค.2560 - สำนักราชเลขาธิการทำเรื่องมาถึงรัฐบาล ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชกระแสรับสั่งว่ามี 3-4 เรื่องที่จำเป็นต้องแก้ไขให้เป็นไปตามพระราชอำนาจ
    • 11 ม.ค.2560 - วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เปิดรายชื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการยกร่างมาตราที่จะมีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติให้เป็นไปตามข้อสังเกตพระราชทาน จำนวน 11 คน
    • 13 ม.ค.2560 - ที่ประชุม สนช.มีมติเห็นชอบ 3 วาระรวด แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพื่อให้นายกฯ ขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฯ ที่ผ่านการออกเสียงประชามติ กลับมาแก้ไขเพิ่มเติมได้
    • 20 ม.ค.2560 - รัฐบาลได้รับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฯ คืนมาแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อสังเกตพระราชทาน
    • 17 ก.พ.2560 - นายกฯ นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ร่างที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อสังเกตพระราชทาน ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
    มีชัย
  15. "ถ้า คสช.ปราบโกงได้ดีกว่าก็ไม่ต้องมีเลือกตั้ง"

    นักศึกษาถาม  รธน.ฉบับใหม่จะปราบโกงได้จริงหรือ?

    Video content

    Video caption: vox3
  16. ภาพนายกฯ ก่อนร่วมพิธี

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากทำเนียบรัฐบาลในเวลา 13.30 น.เพื่อไปร่วมพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต

    นายก
  17. "รธน.ฉบับที่ 20 ไม่ใช่ฉบับสุดท้าย"

    นักศึกษาคาด รธน.ฉบับที่ 20 จะช่วยแก้ปัญหาการเมือง แต่เชื่อยังไม่ใช่ฉบับสุดท้าย

    Video content

    Video caption: vox4
  18. ทหารยิงปืนใหญ่ 21 นัด

    ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ยิงปืนใหญ่ฝ่ายละ 21 นัด  หลังจาก เจ้าพนักงานอาลักษณ์อ่านกระแสพระราชปรารภประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เสร็จสิ้น 

    ทหารยิงปืนใหญ่
    Image caption: พิธียิงสลุตจำนวน 21 นัด ที่สนามเสือป่า หนึ่งในพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20
  19. ประธานสภาอุตฯ เชื่อ รธน.ใหม่ใช้ ช่วยต่างชาติเชื่อมั่น

    นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับบีบีซีไทย หลังจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่ประกาศใช้ว่า กระบวนการดังกล่าวนี้เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลกำหนดไว้ และทำให้การเดินหน้าสู่การเลือกตั้งมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อภาพรวมของการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศ เพราะนักลงทุนจะมีความมั่นใจต่ออนาคตของการบริหารประเทศมากยิ่งขึ้น

    "ความชัดเจนที่เกิดขึ้นในวันนี้จะ ช่วยให้นักลงทุนมั่นใจในโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น โครงการการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)” นายเจนกล่าว

    ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโครงการดังกล่าวเมื่อวานนี้ เบื้องต้นได้อนุมัติลงทุนเมืองการบินภาคตะวันออก 2 แสนล้านบาท โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน 158,000 ล้านบาท

    Thai building
  20. สนช.ทิ้งหุ้นสัมปทานรัฐ หวั่นตกเก้าอี้ตาม รธน.ใหม่

    นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ภายหลังรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ทำให้สมาชิก สนช. ต้องปฏิบัติตามมาตรา 184(2) ที่ห้ามสมาชิก สนช. รวมถึงคู่สมรสและบุตร เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่เป็นคู่สัญญาหรือรับสัมปทานจากรัฐ ไม่เช่นนั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งโดยทันที สมาชิก สนช. หลายคนจึงตัดสินใจขายหรือโอนหุ้นดังกล่าวไปก่อนหน้านี้

    อ่านเพิ่มเติม  http://www.thairath.co.th/content/906856