ไวรัสโคโรนา : “ภูมิคุ้มกันหมู่” คืออะไร เหตุใดนักวิทยาศาสตร์พากันคัดค้าน ไม่ให้ใช้ต้านโควิด-19

ลอนดอน

ที่มาของภาพ, EPA

ข้อเสนอเพื่อรับมือการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคทางเดินหายใจโควิด-19 ที่ตกเป็นข่าวฮือฮาและถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในขณะนี้ เห็นจะได้แก่เรื่องที่เซอร์ แพทริก วัลแลนซ์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลอังกฤษ เสนอให้มีการสร้าง "ภูมิคุ้มกันหมู่" (herd immunity) ในกลุ่มประชากรของประเทศ เพื่อเป็นกลยุทธ์บริหารและควบคุมการแพร่ระบาดที่ยั่งยืนในระยะยาว

เซอร์วัลแลนซ์อธิบายว่า จะต้องปล่อยให้ประชากรส่วนใหญ่ซึ่งอาจคิดเป็นจำนวนมากถึง 60% ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในหมู่ผู้ที่หายป่วยและรอดชีวิต โดยภูมิคุ้มกันนี้จะกลายเป็นสมบัติส่วนรวม ซึ่งช่วยปกป้องกลุ่มคนไม่มีภูมิคุ้มกันจากเชื้อร้ายได้โดยอัตโนมัติ ทั้งยังป้องกันการกลับมาระบาดซ้ำของโรคในภายหลังด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ 229 คน ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลสหราชอาณาจักรเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยวิจารณ์ว่ารัฐบาลยังคงดำเนินมาตรการไม่เพียงพอและล่าช้าต่อการรับมือกับโรคโควิด-19

แผนที่การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลก 22 เมษายน 2563

แผนที่นี้ใช้ข้อมูลที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์บันทึกไว้เป็นระยะ และอาจจะไม่สะท้อนข้อมูลล่าสุดของแต่ละประเทศ

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วทั้งหมด จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
2,524,433 177,503
จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต
สหรัฐอเมริกา 824,065 44,996
สเปน 204,178 21,282
อิตาลี 183,957 24,648
เยอรมนี 148,453 5,086
สหราชอาณาจักร 129,044 17,337
ฝรั่งเศส 117,324 20,796
ตุรกี 95,591 2,259
อิหร่าน 84,802 5,297
จีน 83,864 4,636
รัสเซีย 52,763 456
บราซิล 43,368 2,761
เบลเยียม 40,956 5,998
แคนาดา 39,405 1,915
เนเธอร์แลนด์ 34,139 3,916
สวิตเซอร์แลนด์ 28,063 1,478
โปรตุเกส 21,379 762
อินเดีย 20,111 645
เปรู 17,837 484
ไอร์แลนด์ 16,040 730
สวีเดน 15,322 1,765
ออสเตรีย 14,873 491
อิสราเอล 13,942 184
ซาอุดีอาระเบีย 11,631 109
ญี่ปุ่น 11,512 281
ชิลี 10,832 147
เกาหลีใต้ 10,694 238
เอกวาดอร์ 10,398 520
โปแลนด์ 9,856 401
ปากีสถาน 9,749 209
เม็กซิโก 9,501 857
โรมาเนีย 9,242 498
สิงคโปร์ 9,125 11
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 7,755 46
เดนมาร์ก 7,695 370
นอร์เวย์ 7,241 182
อินโดนีเซีย 7,135 616
สาธารณรัฐเช็ก 7,033 201
เบลารุส 6,723 55
ออสเตรเลีย 6,647 74
เซอร์เบีย 6,630 125
ฟิลิปปินส์ 6,599 437
กาตาร์ 6,533 9
ยููเครน 6,125 161
มาเลเซีย 5,482 92
สาธารณรัฐโดมินิกัน 5,044 245
ปานามา 4,821 141
โคลอมเบีย 4,149 196
ฟินแลนด์ 4,014 141
ลักเซมเบิร์ก 3,618 78
อียิปต์ 3,490 264
แอฟริกาใต้ 3,465 58
บังกลาเทศ 3,382 110
โมร็อกโก 3,209 145
อาร์เจนตินา 3,144 151
ไทย 2,826 49
แอลจีเรีย 2,811 392
มอลโดวา 2,614 72
กรีซ 2,401 121
ฮังการี 2,168 225
คูเวต 2,080 11
คาซัคสถาน 2,025 19
บาห์เรน 1,973 7
โครเอเชีย 1,908 48
ไอซ์แลนด์ 1,778 10
อุซเบกิสถาน 1,692 6
อิรัก 1,602 83
เอสโตเนีย 1,552 43
โอมาน 1,508 8
อาเซอร์ไบจาน 1,480 20
นิวซีแลนด์ 1,451 14
อาร์เมเนีย 1,401 24
ลิทัวเนีย 1,370 38
สโลวีเนีย 1,344 77
บอสเนีย และเฮอร์เซโกวินา 1,342 51
มาซิโดเนียเหนือ 1,231 55
สโลวาเกีย 1,199 14
แคเมอรูน 1,163 43
คิวบา 1,137 38
อัฟกานิสถาน 1,092 36
กานา 1,042 9
บัลแกเรีย 1,015 47
จิบูตี 945 2
โกตดิวัวร์ 916 13
เปอร์โตริโก 915 64
ตูนิเซีย 901 38
ไซปรัส 784 12
ไนจีเรีย 782 25
ลัตเวีย 748 9
อันดอร์รา 717 37
เรือสำราญ ไดมอนด์ พรินเซส 712 13
กินี 688 6
เลบานอน 677 21
คอสตาริกา 669 6
ไนเจอร์ 657 20
คีร์กิซสถาน 612 7
แอลเบเนีย 609 26
โบลิเวีย 609 37
บูร์กินาฟาโซ 600 38
อุรุกวัย 543 12
คอซอวอ 510 12
ฮอนดูรัส 510 46
ซานมาริโน 476 40
ดินแดนปาเลสไตน์ 466 4
มอลตา 443 3
จอร์แดน 428 7
ไต้หวัน 425 6
เซเนกัล 412 5
เรอูนียง 410
จอร์เจีย 408 4
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 350 25
มอริเชียส 328 9
กัวเตมาลา 316 8
มอนเตเนโกร 313 5
มายอต 311 4
ศรีลังกา 310 7
ไอล์ ออฟ แมน 307 9
เคนยา 296 14
เวเนซุเอลา 288 10
โซมาเลีย 286 8
เวียดนาม 268
มาลี 258 14
เจอร์ซีย์ 255 14
แทนซาเนีย 254 10
เกิร์นซีย์ 241 10
จาเมกา 233 6
เอลซัลวาดอร์ 225 7
ปารากวัย 213 9
หมู่เกาะแฟโร 185
คองโก 165 6
มาร์ตีนิก 164 14
กาบอง 156 1
รวันดา 150
กัวเดอลุป 148 12
ซูดาน 140 13
บรูไน (ดารุสซาลาม) 138 1
กวม 136 5
ยิบรอลตาร์ 132
กัมพูชา 122
เมียนมา 121 5
มาดากัสการ์ 121
ตรินิแดดและโตเบโก 115 8
เอธิโอเปีย 114 3
ไลบีเรีย 101 8
เบอร์มิวดา 98 5
เฟรนช์เกียนา 97 1
อารูบา 97 2
โมนาโก 94 3
มัลดีฟส์ 86
โตโก 86 6
อิเควทอเรลกินี 83
ลิกเตนสไตน์ 81 1
บาร์เบโดส 75 5
แซมเบีย 70 3
กาบูเวร์ดี 68 1
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส 68 10
หมู่เกาะเคย์แมน 66 1
กายอานา 66 7
บาฮามาส 65 9
ยูกันดา 61
ลิเบีย 59 1
เฮติ 58 4
เฟรนช์พอลินีเซีย 57
เบนิน 54 1
หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา 53 3
เซียร์ราลีโอน 50
กินีบิสเซา 50
เนปาล 42
ซีเรีย 42 3
โมซัมบิก 39
เอริเทรีย 39
เซนต์มาร์ติน (ส่วนของฝรั่งเศส) 38 2
มองโกเลีย 35
ชาด 33
เอสวาตีนี 31 1
ซิมบับเว 28 3
แอนติกา และบาร์บูดา 24 3
แองโกลา 24 2
ติมอร์-เลสเต 23
บอตสวานา 20 1
สปป.ลาว 19
มาลาวี 18 2
นิวแคลิโดเนีย 18
เบลีซ 18 2
ฟิจิ 18
นามิเบีย 16
โดมินิกา 16
เซนต์ลูเซีย 15
เซนต์คิตส์และเนวิส 15
คูราเซา 14 1
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา 14 2
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 14
เกรนาดา 14
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 13
มอนต์เซอร์รัต 11
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 11
หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส 11 1
กรีนแลนด์ 11
บุรุนดี 11 1
เซเชลส์ 11
สุรินัม 10 1
แกมเบีย 10 1
นิการากัว 10 2
วาติกัน 9
MS Zaandam 9 2
ปาปัวนิวกินี 7
มอริเตเนีย 7 1
ภูฏาน 6
แซ็ง-บาร์เตเลมี 6
ซาฮาราตะวันตก 6
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 5 1
ซูดานใต้ 4
เซาตูเมและปรินซิปี 4
แองกวิลลา 3
เยเมน 1
แซงปีแยร์และมีเกอลง 1

ที่มา: มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์, หน่วยงานท้องถิ่น

ข้อมูล 22 เมษายน 2563 13:00 GMT+7 ล่าสุด

บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชาดังกล่าว ยังคัดค้านข้อเสนอเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นพิเศษด้วย โดยชี้ว่าเป็นมาตรการที่เสี่ยงเกินไป และอาจทำให้มีผู้ล้มป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน ซึ่งเกินกำลังที่สำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) จะรับมือไหว

แม้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้จะไม่มีผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าทางระบาดวิทยารวมอยู่ด้วย แต่พวกเขายืนยันว่าการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในขณะนี้ แต่มาตรการกักกันโรคและแยกตัวเว้นระยะห่างจากสังคม (social distancing) ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น จะช่วยชะลออัตราการแพร่ระบาดได้ดีกว่าและจะรักษาชีวิตผู้คนไว้ได้นับหมื่นราย

ภูมิคุ้มกันหมู่คืออะไร

บัคกิงแฮม

ที่มาของภาพ, AFP

เว็บไซต์ประจำโครงการให้ความรู้เรื่องวัคซีนของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดระบุว่า ภูมิคุ้มกันหมู่คือภาวะที่ประชากรส่วนมากของสังคมมีภูมิคุ้มกันโรค โดยคิดเป็นสัดส่วนจำนวนคนที่สูงมากพอ จนช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ ไม่ว่าภูมิคุ้มกันหมู่นั้นจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อหายจากโรค หรือเกิดจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ก็ตาม

เมื่อชุมชนแห่งใดมีภูมิคุ้มกันหมู่เกิดขึ้น สมาชิกส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันหรือร่างกายอ่อนแอจนไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ก็จะได้รับประโยชน์จากการปกป้องรวมหมู่นี้โดยอัตโนมัติ เพราะพาหะที่นำเชื้อโรคจากภายนอกเข้ามา จะไม่สามารถส่งต่อเชื้อนั้นให้กับคนอื่น ๆ เป็นจำนวนมากจนเกิดการระบาดขึ้นได้

ผู้ที่ได้รับการปกป้องจากภูมิคุ้มกันหมู่นั้น ได้แก่คนชรา ทารกแรกเกิด ผู้ป่วยหนักที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ ผู้มีอาการภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือม้ามทำงานผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าภูมิคุ้มกันหมู่นั้นจะช่วยป้องกันโรคระบาดได้ทุกชนิด ตัวอย่างเช่นโรคบาดทะยัก (tetanus) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งแวดล้อมโดยตรง และไม่สามารถจะติดต่อจากผู้ป่วยบาดทะยักคนอื่น ๆ ได้ ดังนั้นไม่ว่าคนรอบข้างจะฉีดวัคซีนจนมีภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักกันมากแค่ไหนก็ตาม ความเสี่ยงติดเชื้อในหมู่คนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันก็จะยังคงสูงมากอยู่

ในกรณีของสหราชอาณาจักรนั้น แม้จะมีอัตราการรับวัคซีนป้องกันโรคในหมู่ประชากรสูงมาก แต่การหวังพึ่งภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 อาจจะเป็นเรื่องที่ประมาทจนเกินไป เพราะยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะเกิดภูมิคุ้มกันในประชากรแต่ละคน โดยให้กระจายทั่วถึงเป็นสัดส่วนสูงในทุกภูมิภาคของประเทศได้ การระบาดของโรคหัดในแคว้นเวลส์เมื่อปี 2013 เป็นบทเรียนราคาแพงให้กับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขของอังกฤษมาแล้ว

Many surgeries are warning people with respiratory illnesses to stay away and use the phone
คำบรรยายภาพ, คลินิกหลายแห่งเตือนให้ประชาชนที่มีอาการของโรคทางเดินหายใจไม่ให้เดินทางไปยังคลินิก

สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ กลยุทธ์ที่หวังผลได้จริงหรือสุ่มเสี่ยง ?

ศาสตราจารย์ วิลเลม ฟาน สกายค์ จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของสหราชอาณาจักรประมาณการว่า หากรัฐบาลอังกฤษเดินหน้าตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ จะต้องมีพลเมืองของสหราชอาณาจักรอย่างน้อย 60% หรือราว 36 ล้านคน ถูกปล่อยให้ติดเชื้อโรคโควิด-19 และคนเหล่านี้จะต้องฟื้นตัวหายป่วยให้ได้ในที่สุดด้วย

"โดยทั่วไปแล้ว ระบบสาธารณสุขสมัยใหม่มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ผ่านการรับวัคซีนอย่างทั่วถึง แต่ในกรณีที่โรคนั้นยังไม่มีวัคซีนและต้องสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวิธีธรรมชาติ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำนายว่า แผนการนี้จะต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์และต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเท่าใด"

"อย่างต่ำที่สุดอาจต้องมีคนตายหลายหมื่นคน หรือสูงสุดที่หลายแสนคน" ศ. ฟาน สกายค์ กล่าว

ศ. มาร์ติน ฮิบเบิร์ด จากวิทยาลัยการสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งกรุงลอนดอน (LSHTM) มองว่า "แม้เราจะพบหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่าการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นั้น จะทำให้ร่างกายผลิตสารแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ที่อาจจะคงทนอยู่ตลอดชีวิตได้ แต่เรายังไม่มั่นใจในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ และต้องการหลักฐานยืนยันเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจหวังพึ่งการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ตามธรรมชาติ"

"หากจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ของโรคโควิด-19 เกิดขึ้นในอังกฤษจริงแล้ว มันควรจะต้องเกิดขึ้นก่อนฤดูหนาวครั้งหน้าและก่อนการระบาดซ้ำจะมาถึง" ศ. ฮิบเบิร์ดกล่าว

ภาพคนสวมหน้ากากอนามัย

ที่มาของภาพ, Reuters

อย่างไรก็ตาม ศ. ปีเตอร์ โอเพนชอว์ ประธานสมาคมภูมิคุ้มกันวิทยาแห่งอังกฤษ แสดงความเห็นคัดค้านว่า "ไวรัส SARS-CoV-2 นั้นเป็นชนิดใหม่ล่าสุดที่พบในมนุษย์ และเรายังต้องเรียนรู้อีกมากว่ามันส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของเราอย่างไร เรายังไม่รู้แน่ว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อจะอยู่ได้นานแค่ไหน ภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาบางชนิดอยู่ได้สั้นมากเพียงประมาณสามเดือนเท่านั้น"

รมว. สาธารณสุขแจง "ภูมิคุ้มกันหมู่" ยังไม่ใช่นโยบาย

หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง เซอร์วัลแลนซ์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลอังกฤษ และศ. คริส วิตที หัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลด้านการแพทย์ ออกมาระบุว่าจะเผยแพร่แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจวางมาตรการรับมือโควิด-19 แบบดังกล่าว

บอริส จอห์นสัน และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาล

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, เซอร์วัลแลนซ์ (ขวา)

เซอร์วัลแลนซ์อธิบายว่า "เราไม่ต้องการใช้ยาแรงอย่างการสั่งปิดเมืองหรือกักกันโรคอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้จำนวนผู้ป่วยและติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เกิดการระบาดในระดับสูงสุด จนระบบบริการสาธารณสุขของประเทศต้องล้มเหลว"

"เราต้องการทำให้กราฟอัตราการแพร่ระบาดแบนลงและมีฐานกว้างมากขึ้น ซึ่งก็คือชะลอจำนวนผู้ป่วยในช่วงการระบาดสูงสุดให้มีน้อยลง และเกิดกรณีการติดเชื้อกระจายกันไปในแต่ละช่วงเวลา"

"คนส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย และจะหายเป็นปกติอยู่แล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โดยปล่อยให้คนส่วนใหญ่ติดเชื้อจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล หากดำเนินการควบคู่ไปกับการปกป้องผู้มีความเสี่ยงสูงเช่นคนชราไปด้วย"

ด้านโฆษกประจำกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษออกมาแถลงว่า การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในแผนปฏิบัติการของทางกระทรวง แต่เป็นเพียงผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อการระบาดสิ้นสุดลง

ส่วนนายแมตต์ แฮนค็อก รมว. สาธารณสุขของอังกฤษกล่าวเน้นย้ำด้วยว่า ข้อเสนอสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ใช่นโยบายที่เป็นทางการ "เราจะรับฟังนักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ และจะพิจารณาข้อมูลหลักฐานที่มีทั้งหมดอย่างถี่ถ้วน ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ใช่เป้าหมายหรือนโยบายของเรา มันเป็นแค่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์แบบหนึ่งเท่านั้น"