แพทย์แนะนักเรียน-ผู้ปกครอง "Dek61" รับมือความกดดันด้วยสติ

แพทย์แนะนักเรียน-ผู้ปกครอง "Dek61" รับมือความกดดันด้วยสติ

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

ตลอดหลายวันที่ผ่านมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังอยู่ระหว่างสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก แสดงความไม่พอใจผ่านสื่อโซเชียล วิพากษ์วิจารณ์ระบบรับตรงร่วม ซึ่งพวกเขาเห็นว่าก่อให้เกิดสิ่งที่หลายคนเรียกว่า "คะแนนเฟ้อ" หรือ "กั๊กที่นั่ง"

สิ่งที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาจากระบบการรับนักศึกษาแบบใหม่นี้คือการที่นักเรียนสามารถเลือกสาขาที่ต้องการได้ 4 แห่ง โดยไม่มีลำดับ ทำให้นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนสูงได้ที่นั่งส่วนมากในมหาวิทยาลัยไปหมด เป็นผลให้นักเรียนที่มีคะแนนต่ำลงมาไม่สามารถยื่นคะแนนของตนได้ในรอบนี้

ล่าสุด เมื่อวานนี้ (30 พ.ค.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้หารือกับตัวแทนของนักเรียน และได้กำหนดแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้น ด้วยการเพิ่มรอบการคัดเลือกพิเศษ (รอบ 3/2) เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับพิจารณาคัดเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้อีกหนึ่งรอบ

ในระหว่างที่ยังมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น โฆษกกรมสุขภาพจิต แนะว่าการอยู่ในสภาพที่อาจก่อให้เกิดความกดดันเช่นนี้ ทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง ควรรับมือกับความเครียดด้วยการมีสติ และศึกษาหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์

แพทย์แนะนักเรียน-ผู้ปกครอง "Dek61" รับมือความกดดันด้วยสติ

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

รับมือกับความไม่แน่นอน

ตามความเห็นของ นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นั้น เห็นว่าระบบคัดเลือกนักศึกษาของไทยที่ปรับเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะเป็นการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ก็มีส่วนทำให้ทั้งนักเรียนและผู้ปกครองเกิดปัญหาในการปรับตัวและทำความเข้าใจกับระบบ

"ปัญหาหลักที่เจอ คือพอระบบใหม่มา เด็กเองเกิดความกดดันที่ต้องปรับตัว ส่วนผู้ปกครองก็ต้องทำความเข้าใจใหม่ทั้งหมดกับระบบการสอบเข้ามหา วิทยาลัยปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจากรุ่นพ่อแม่โดยสิ้นเชิง" นพ. อภิชาติกล่าว

โฆษกกรมสุขภาพจิตแนะนำว่า ผู้ปกครองควร "ตั้งสติ" เป็นอย่างแรก รวมทั้งทำความเข้าใจระบบจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพราะในความเห็นของเขา ความไม่รู้และไม่เข้าใจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความกังวลในสถานการณ์เช่นนี้

ข้าม Twitter โพสต์ , 1
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 1

นพ. อภิชาติ กล่าวว่า ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างมากในการช่วยประคองให้เด็กผ่านภาวะเครียดเช่นนี้ไปได้ และยังสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการควบคุม อารมณ์เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในชีวิตจริง ซึ่งสิ่งนี้เป็นบทเรียนที่แม้แต่ในมหาวิทยาลัยก็ไม่มีการสอน

"ถ้าเรารู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกกังวล อย่าเพิ่งไปถ่ายทอดความรู้สึกและความกดดันไปสู่เด็ก เพราะเด็กเองก็มีความเครียดความกดดันเหมือนกัน เด็กบางคนก็กลัวที่จะทำให้พ่อแม่เครียดหรือเสียใจจึงไม่กล้าบอก ผู้ปกครองก็ต้องรู้ทันด้วย" เขากล่าว

ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา นักเรียนจำนวนมากที่อยู่ระหว่างรอฟังผลการคัดเลือก ได้แสดงความเห็นอย่างกวางขวางผ่านโซเชียลมีเดีย โดยข้อความส่วนใหญ่ บ่งบอกถึงความเครียด และกดดัน และบางส่วนได้แสดงออกผ่านข้อความและภาพที่มีเนื้อหาส่อไปในทางรุนแรง

สำหรับนักเรียนเอง นพ. อภิชาติกล่าวว่า นอกจากการติดตามความเคลื่อนไหวจากแหล่งที่เชื่อถือได้แล้ว การพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและคนรอบข้าง แทนที่จะเก็บไว้กับตัวเอง ก็สามารถลดความกังวลได้เช่นกัน

ข้าม Twitter โพสต์ , 2
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 2

แต่หากภาวะเครียด เริ่มส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และการใช้ชีวิต เขาแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ซึ่งยินดีจะรับฟังและให้คำแนะนำได้

จิตแพทย์ท่านนี้เชื่อว่าผู้ปกครองสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ ด้วยการแสดงให้บุตรหลานเห็นว่า การมีสติและความเข้าใจกันสามารถช่วยให้ พวกเขารับมือกับความกดดันไปด้วยกันได้

"คนเราในทุกช่วงอายุก็มีเรื่องความเครียดของแต่ละช่วงวัยที่ต่างกัน แต่เราก็ต้องไม่มองว่าปัญหาของคนวัยอื่นมันเล็ก เพราะปัญหาใดก็ตามเมื่อเกิดกับคน ๆ นั้นมันก็ใหญ่ทั้งนั้น" นพ. อภิชาติ กล่าว

ข้าม Twitter โพสต์ , 3
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 3

เกิดปัญหาอะไรขึ้น ?

ตามระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ หรือ Thai University Central Admission System (TCAS) นักเรียนจะได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยทั้งหมด 5 รอบด้วยกัน ได้แก่

  • รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio
  • รอบที่ 2 การรับแบบโควตา
  • รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน ที่กำลังเกิดปัญหาอยู่ในขณะนี้
  • รอบที่ 4 การรับแบบ Admission
  • รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ

ระบบรับตรงร่วมกัน เป็นการยื่นคะแนนผ่านระบบศูนย์กลางใหม่ หรือ เคลียริงเฮาส์ (Clearing House) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาที่ถูกมองว่า ทำให้เกิดการ "กั๊กที่นั่ง" ที่เคยเกิดขึ้นในปีก่อน ๆ เมื่อนักเรียนวิ่งสอบตรงในหลายสาขาเพื่อเป็นตัวเลือกก่อนจะต้องสละสิทธิ์เพื่อเลือกเฉพาะสาขา ที่ต้องการ ทำให้ผู้สมัครรายอื่นเสียโอกาสในการเข้าสมัคร

แต่ในทางปฏิบัติ ดูเหมือนว่าระบบใหม่นี้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างสิ้นเชิง หลังการประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกในรอบที่ 3 ที่เกิดปัญหาที่หลายคนเรียกว่า "คะแนนเฟ้อ" กล่าวคือ กลุ่มนักเรียนที่มีคะแนนสูงได้ที่นั่งตามที่ต้องการในทั้ง 4 แห่งที่เลือกไว้ ซึ่งแม้พวกเขาจะสามารถยืนยันสิทธิเพียง 1 แห่งเท่านั้น แต่คะแนนที่สูงกว่าของพวกเขาก็ทำให้นักเรียนที่มีคะแนนต่ำกว่าไม่ได้รับคัดเลือกในรอบนี้

หลังจากตัวแทนของนักเรียนเขาพบกับ ทปอ. เมื่อวานนี้ ล่าสุด ทปอ. ได้แก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการเพิ่มรอบการคัดเลือกพิเศษ หรือ รอบ 3/2 เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับพิจารณาคัดเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแบบรับตรงได้อีกหนึ่งรอบ แต่หลายคนยังกังวลว่าปัญหาเดียวกันนี้อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก

อย่างไรก็ตาม หลังจากการคัดเลือกแบบรับตรงร่วมกันนี้ นักเรียนยังสามารถยื่นคะแนนสมัครในระบบ Admission ที่จะเปิดให้สมัครผ่านเว็บไซต์ ระหว่างวันที่ 12-16 มิ.ย. นี้ได้