ไวรัสโคโรนา : สธ.พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 188 ราย ขอให้ประชาชนงดการเดินทาง

คนนั่งรถไฟฟ้า

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ, สธ.ขอความร่วมมือประชาชนจำกัดการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางข้ามจังหวัด หลังพบจำนวนผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศไทยในรอบ 24 ชั่วโมงยังสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยวันนี้ (22 มี.ค.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากถึง 188 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 599 รายแล้ว

นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ไทยยืนยันผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 ที่ สธ.แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมงเป็นหลักร้อยคน

ทั้งนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่มีการยืนยันในรอบ 5 วัน เป็นดังนี้

  • 18 มี.ค. 35 ราย
  • 19 มี.ค. 60 ราย
  • 20 มี.ค. 50 ราย
  • 21 มี.ค. 89 ราย
  • 22 มี.ค. 188 ราย

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก สธ. กล่าวว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่พบในกรุงเทพฯ เป็นคนวัยหนุ่มสาวที่มีอาการเล็กน้อย จึงยังคงออกไปใช้ชีวิตตามปกติ

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ยังได้ขอความร่วมมือประชาชนทุกคนว่าอย่าเดินทางกลับภูมิลำเนา แม้ว่าจะมีการหยุดงาน เนื่องจากอาจแพร่เชื้อสู่คนในต่างจังหวัดได้ ขณะที่คนในต่างจังหวัดก็ไม่ควรเดินทางข้ามจังหวัด เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ 188 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม 1 ผู้ที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้า 65 ราย

  • สนามมวย 21 ราย ประกอบด้วย นักมวย เซียนมวย ผู้ปล่อยแถวนักมวย และผู้ชมซึ่งมาจากกรุงเทพฯ เลย หนองบัวลำภู ปทุมธานี อุดรธานี ชลบุรี นนทบุรี พัทลุง แพร่และสมุทรปราการ
  • สถานบันเทิงย่านเอกมัย 5 ราย
  • เข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่ประเทศมาเลเซีย 2 ราย ที่ จ.นราธิวาสและยะลา
  • สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 37 ราย กระจายตัวอยู่ในหลายจังหวัด

กลุ่ม 2 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 15 ราย

  • ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ 8 ราย เป็นคนไทย 6 ราย ได้แก่ พนักงานที่ทำงานในผับบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา นักศึกษาที่เดินทางกลับจากอิหร่าน ส่วนชาวต่างชาติ 2 ราย เป็นชาวสวิสและอเมริกัน
  • ผู้ที่อยู่ในย่านชุมชนที่มีคนหนาแน่นหรือทำงานใกล้ชิดนักท่องเที่ยว 7 ราย

กลุ่ม 3 ยืนยันการพบเชื้อแล้ว แต่รอสอบสวนโรค 108 ราย

ในจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด มีผู้ที่อาการหนัก 7 ราย ทุกรายใส่เครื่องช่วยหายใจและต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด

โฆษก สธ. ยอมรับว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้หน่วยงานรัฐต้องยกระดับการควบคุมโรคระบาด โดยสิ่งที่ให้ความสำคัญในขณะนี้คือพยายามจำกัดวงการติดเชื้อให้ไม่แพร่ไปยังประชาชนในต่างจังหวัด เนื่องจากขณะนี้มีข้อบ่งชี้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่พบในต่างจังหวัดกำลังเพิ่มขึ้น คือ จาก 59 คน เมื่อวันที่ 19 มี.ค. เป็น 122 คน ในวันที่ 21 มี.ค.

สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพฯ 284 ราย สมุทรปราการ 28 ราย ภูเก็ต 13 ราย ปัตตานี 11 ราย และนนทบุรี 9 ราย

หวั่นประกาศปิดสถานที่ของ กทม. ทำให้คนแห่กลับภูมิลำเนา

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ประกาศ กทม.เรื่องการปิดสถานประกอบการหลายแห่งซึ่งมีผลตั้งแต่วันนี้ (22 มี.ค.) ถึงวันที่ 12 เม.ย. อาจส่งผลให้คนต่างจังหวัดจำนวนมากที่ทำงานในกรุงเทพฯ เดินทางกลับภูมิลำเนาซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายโรคไปด้วย

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ทำแผนปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวังและป้องกันโรคในระดับอำเภอและหมู่บ้าน รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลของผู้ที่เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และกำชับให้คนกลุ่มนี้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

พนักงานทำความสะอาดรถประจำทาง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ, พนักงานทำความสะอาดกระจกบริเวณสกายวอล์คสี่แยกปทุมวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

หยุดอยู่บ้านและอย่ากลับภูมิลำเนา

นพ.ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตอธิบายว่า ที่ผ่านมา สธ.ได้ย้ำให้ใช้มาตรการรักษาระยะห่างในสังคม คือ แต่ละคนอยู่ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร แต่มาตรการนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อใช้ร่วมกับมาตรการจำกัดการเดินทาง

"ตอนนี้ต้องถือว่าสถานการณ์ในกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากสถานการณ์ในญี่ปุ่นเมื่อเดือน ก.พ. ดังนั้นตอนนี้เราจำเป็นต้องใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ควรออกไปจากต่างจังหวัด ผู้ที่อยู่ในต่างจังหวัดก็ไม่ควรเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หากไม่มีความจำเป็นอย่างที่สุด" นพ.ชิโนรส กล่าว

คนถือของ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตอธิบายเพิ่มเติมว่า การเดินทางทำให้คนที่ไม่ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อระหว่างการเดินทาง หรือหากเป็นผู้ที่ติดเชื้อโดยยังไม่รู้ตัว ก็อาจจะนำเชื้อนั้นไปแพร่ให้บุคคลที่รักในครอบครัว

นอกจากนี้ โรงพยาบาลต่างจังหวัดยังไม่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลที่มีความพร้อมที่สุดยังอยู่ในกรุงเทพฯ

"ดังนั้นการออกไปต่างจังหวัดจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ อยู่ในกรุงเทพฯ ดีที่สุดแล้ว" นพ.ชิโนรสระบุ

นอกจากนี้ ยังทำหนังสือถึงอธิบดีกรมการขนส่งทางบกและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือในการคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยขอให้บริษัทขนส่งและผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะทำความสะอาดพาหนะก่อนและหลังการเดินทาง โดยเน้นพื้นที่สัมผัสร่วม , เก็บบันทึกข้อมูลชื่อ-นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ของผู้โดยสาร และคัดกรองผู้โดยสาร หากพบว่ามีไข้หรือไอ ขอให้งดการเดินทาง และขอให้จัดที่นั่งโดยเว้นระยะห่าง

"ถ้ารักพ่อแม่ อย่ากลับบ้าน"

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แสดงความกังวลถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในต่างจังหวัด เนื่องจากพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่ในต่างจังหวัดกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

"การที่รัฐบาลและ กทม.ประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ นั้นวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อให้อยู่บ้าน เพื่อที่คนที่มีเชื้อแล้วจะได้ไม่ไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่น แต่ถ้าใครที่ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ คือ ยังคงเดินทาง ไปอยู่กับคนจำนวนมาก จะเป็นการเพิ่มเชื้อ"

กราฟ

ที่มาของภาพ, กระทรวงสาธารณสุข

คำบรรยายภาพ, จำนวนผู้ติดเชื้อที่พบในต่างจังหวัดกำลังเพิ่มขึ้นจาก 59 คน เมื่อวันที่ 19 มี.ค. เป็น 122 คน ในวันที่ 21 มี.ค.

นพ.โสภณย้ำว่าคนต่างจังหวัดที่อยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ควรเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงนี้ เพราะแม้ว่าขณะนี้จะไม่มีอาการป่วย แต่หากติดเชื้อโควิด-19 แล้วก็อาจจะไปแพร่เชื้อให้คนที่บ้านในต่างจังหวัดได้ ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงมากขึ้นกว่าที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ในช่วงที่ผ่านมาด้วยซ้ำ

"ถ้ารักพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ อย่าเพิ่งเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด ให้กักตัวเองอยู่ที่นี่ให้ครบ 14 วันเป็นอย่างน้อย เพราะช่วงที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ มีเพิ่มขึ้น บางคนอาจได้รับเชื้อไปแล้วและอยู่ระยะฟักตัว...ขอให้เข้าใจว่าช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงวันหยุดพิเศษที่จะให้เดินทางกลับต่างจังหวัด เพราะระหว่างเดินทาง เรามีทั้งโอกาสได้รับเชื้อจากคนอื่น และแพร่เชื้อให้คนอื่นได้"

"อยากสื่อสารกับครอบครัวของแรงงานที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ว่า ถึงแม้ว่าลูกหลานจะได้หยุดงานในช่วงนี้ แต่การที่พวกเขาไม่กลับไปหาท่านเท่ากับเป็นการดูแลอีกแบบหนึ่ง ถ้ารักพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ก็อย่าเพิ่งกลับบ้าน เพราะว่ามันจะทำให้เกิดการติดเชื้อในต่างจังหวัด และหากป่วยขึ้นมาจริง จะยิ่งไม่คุ้ม ค่ารักษาพยาบาลที่ต้องดูแลกันต่อก็อาจจะมากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากอยู่ในกรุงเทพฯ" นพ.โสภณกล่าว

นพ.โสภณกล่าวว่า สธ.ตระหนักดีว่าการปิดสถานประกอบการจะส่งผลกระทบต่อลูกจ้างที่จะขาดรายได้ ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากนายจ้างให้ดูแลลูกจ้างด้วย เหมือนในต่างประเทศที่แม้จะหยุดกิจการชั่วคราว แต่นายจ้างยังช่วยดูแลลูกจ้างอย่างต่อเนื่อง

"ขณะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเรา ถ้าลูกจ้างเราแข็งแรงและทุกคนหยุดงาน การแพร่ระบาดก็จะลดลง และสถานการณ์ก็จะกลับมาเป็นปกติในเวลาไม่นานมาก เศรษฐกิจก็จะฟื้นได้เร็ว แต่ถ้าปล่อยให้ระบาดหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน สถานการณ์จะแย่กว่านี้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคนที่มีฐานะดีกว่าเช่นผู้ประกอบการก็ต้องช่วยดูแลในส่วนนี้"

แผนที่การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลก 22 เมษายน 2563

แผนที่นี้ใช้ข้อมูลที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์บันทึกไว้เป็นระยะ และอาจจะไม่สะท้อนข้อมูลล่าสุดของแต่ละประเทศ

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วทั้งหมด จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
2,524,433 177,503
จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต
สหรัฐอเมริกา 824,065 44,996
สเปน 204,178 21,282
อิตาลี 183,957 24,648
เยอรมนี 148,453 5,086
สหราชอาณาจักร 129,044 17,337
ฝรั่งเศส 117,324 20,796
ตุรกี 95,591 2,259
อิหร่าน 84,802 5,297
จีน 83,864 4,636
รัสเซีย 52,763 456
บราซิล 43,368 2,761
เบลเยียม 40,956 5,998
แคนาดา 39,405 1,915
เนเธอร์แลนด์ 34,139 3,916
สวิตเซอร์แลนด์ 28,063 1,478
โปรตุเกส 21,379 762
อินเดีย 20,111 645
เปรู 17,837 484
ไอร์แลนด์ 16,040 730
สวีเดน 15,322 1,765
ออสเตรีย 14,873 491
อิสราเอล 13,942 184
ซาอุดีอาระเบีย 11,631 109
ญี่ปุ่น 11,512 281
ชิลี 10,832 147
เกาหลีใต้ 10,694 238
เอกวาดอร์ 10,398 520
โปแลนด์ 9,856 401
ปากีสถาน 9,749 209
เม็กซิโก 9,501 857
โรมาเนีย 9,242 498
สิงคโปร์ 9,125 11
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 7,755 46
เดนมาร์ก 7,695 370
นอร์เวย์ 7,241 182
อินโดนีเซีย 7,135 616
สาธารณรัฐเช็ก 7,033 201
เบลารุส 6,723 55
ออสเตรเลีย 6,647 74
เซอร์เบีย 6,630 125
ฟิลิปปินส์ 6,599 437
กาตาร์ 6,533 9
ยููเครน 6,125 161
มาเลเซีย 5,482 92
สาธารณรัฐโดมินิกัน 5,044 245
ปานามา 4,821 141
โคลอมเบีย 4,149 196
ฟินแลนด์ 4,014 141
ลักเซมเบิร์ก 3,618 78
อียิปต์ 3,490 264
แอฟริกาใต้ 3,465 58
บังกลาเทศ 3,382 110
โมร็อกโก 3,209 145
อาร์เจนตินา 3,144 151
ไทย 2,826 49
แอลจีเรีย 2,811 392
มอลโดวา 2,614 72
กรีซ 2,401 121
ฮังการี 2,168 225
คูเวต 2,080 11
คาซัคสถาน 2,025 19
บาห์เรน 1,973 7
โครเอเชีย 1,908 48
ไอซ์แลนด์ 1,778 10
อุซเบกิสถาน 1,692 6
อิรัก 1,602 83
เอสโตเนีย 1,552 43
โอมาน 1,508 8
อาเซอร์ไบจาน 1,480 20
นิวซีแลนด์ 1,451 14
อาร์เมเนีย 1,401 24
ลิทัวเนีย 1,370 38
สโลวีเนีย 1,344 77
บอสเนีย และเฮอร์เซโกวินา 1,342 51
มาซิโดเนียเหนือ 1,231 55
สโลวาเกีย 1,199 14
แคเมอรูน 1,163 43
คิวบา 1,137 38
อัฟกานิสถาน 1,092 36
กานา 1,042 9
บัลแกเรีย 1,015 47
จิบูตี 945 2
โกตดิวัวร์ 916 13
เปอร์โตริโก 915 64
ตูนิเซีย 901 38
ไซปรัส 784 12
ไนจีเรีย 782 25
ลัตเวีย 748 9
อันดอร์รา 717 37
เรือสำราญ ไดมอนด์ พรินเซส 712 13
กินี 688 6
เลบานอน 677 21
คอสตาริกา 669 6
ไนเจอร์ 657 20
คีร์กิซสถาน 612 7
แอลเบเนีย 609 26
โบลิเวีย 609 37
บูร์กินาฟาโซ 600 38
อุรุกวัย 543 12
คอซอวอ 510 12
ฮอนดูรัส 510 46
ซานมาริโน 476 40
ดินแดนปาเลสไตน์ 466 4
มอลตา 443 3
จอร์แดน 428 7
ไต้หวัน 425 6
เซเนกัล 412 5
เรอูนียง 410
จอร์เจีย 408 4
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 350 25
มอริเชียส 328 9
กัวเตมาลา 316 8
มอนเตเนโกร 313 5
มายอต 311 4
ศรีลังกา 310 7
ไอล์ ออฟ แมน 307 9
เคนยา 296 14
เวเนซุเอลา 288 10
โซมาเลีย 286 8
เวียดนาม 268
มาลี 258 14
เจอร์ซีย์ 255 14
แทนซาเนีย 254 10
เกิร์นซีย์ 241 10
จาเมกา 233 6
เอลซัลวาดอร์ 225 7
ปารากวัย 213 9
หมู่เกาะแฟโร 185
คองโก 165 6
มาร์ตีนิก 164 14
กาบอง 156 1
รวันดา 150
กัวเดอลุป 148 12
ซูดาน 140 13
บรูไน (ดารุสซาลาม) 138 1
กวม 136 5
ยิบรอลตาร์ 132
กัมพูชา 122
เมียนมา 121 5
มาดากัสการ์ 121
ตรินิแดดและโตเบโก 115 8
เอธิโอเปีย 114 3
ไลบีเรีย 101 8
เบอร์มิวดา 98 5
เฟรนช์เกียนา 97 1
อารูบา 97 2
โมนาโก 94 3
มัลดีฟส์ 86
โตโก 86 6
อิเควทอเรลกินี 83
ลิกเตนสไตน์ 81 1
บาร์เบโดส 75 5
แซมเบีย 70 3
กาบูเวร์ดี 68 1
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส 68 10
หมู่เกาะเคย์แมน 66 1
กายอานา 66 7
บาฮามาส 65 9
ยูกันดา 61
ลิเบีย 59 1
เฮติ 58 4
เฟรนช์พอลินีเซีย 57
เบนิน 54 1
หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา 53 3
เซียร์ราลีโอน 50
กินีบิสเซา 50
เนปาล 42
ซีเรีย 42 3
โมซัมบิก 39
เอริเทรีย 39
เซนต์มาร์ติน (ส่วนของฝรั่งเศส) 38 2
มองโกเลีย 35
ชาด 33
เอสวาตีนี 31 1
ซิมบับเว 28 3
แอนติกา และบาร์บูดา 24 3
แองโกลา 24 2
ติมอร์-เลสเต 23
บอตสวานา 20 1
สปป.ลาว 19
มาลาวี 18 2
นิวแคลิโดเนีย 18
เบลีซ 18 2
ฟิจิ 18
นามิเบีย 16
โดมินิกา 16
เซนต์ลูเซีย 15
เซนต์คิตส์และเนวิส 15
คูราเซา 14 1
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา 14 2
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 14
เกรนาดา 14
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 13
มอนต์เซอร์รัต 11
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 11
หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส 11 1
กรีนแลนด์ 11
บุรุนดี 11 1
เซเชลส์ 11
สุรินัม 10 1
แกมเบีย 10 1
นิการากัว 10 2
วาติกัน 9
MS Zaandam 9 2
ปาปัวนิวกินี 7
มอริเตเนีย 7 1
ภูฏาน 6
แซ็ง-บาร์เตเลมี 6
ซาฮาราตะวันตก 6
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 5 1
ซูดานใต้ 4
เซาตูเมและปรินซิปี 4
แองกวิลลา 3
เยเมน 1
แซงปีแยร์และมีเกอลง 1

ที่มา: มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์, หน่วยงานท้องถิ่น

ข้อมูล 22 เมษายน 2563 13:00 GMT+7 ล่าสุด