ถ้ำหลวง: อีลอน มัสก์ ส่งวิศวกรลงพื้นที่-หวังสนับสนุนการช่วยเหลือทีมหมูป่า

อีลอน มัสก์

ที่มาของภาพ, Getty Images

บริษัท สเปซเอ็กซ์ และ บอร์ริง คอมพานี ของนายอีลอน มัสก์ ยืนยันว่ากำลังส่งคนมายังประเทศไทยวันนี้ เพื่อเสนอความช่วยเหลือภาคพื้นดิน

นายมัสก์ นักธุรกิจผู้นำด้านเทคโนโลยีชื่อดัง กล่าวผ่านทวิตเตอร์เมื่อวานนี้ (6 ก.ค.) ว่าเขายินดีสนับสนุนปฏิบัติการช่วยเหลือเด็ก ๆ และโค้ชทีมหมูป่าทั้ง 13 คนในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย

ล่าสุด นายมัสก์ได้ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ว่า วิศวกรจากทั้งสองบริษัทของเขากำลังเดินทางไปประเทศไทย โดยกล่าวผ่านทวิตเตอร์ด้วยว่า "มันคงต้องมีความซับซ้อนมากมายที่ยากจะทราบได้ หากคุณไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตรงนั้น"

ข้าม Twitter โพสต์ , 1
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 1

โฆษกของบริษัท บอร์ริง คอมพานี ยืนยันกับบีบีซีไทยว่า ทางบริษัทกำลังรับฟังคำชี้แนะจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เชียงราย เพื่อคิดหาวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือภารกิจครั้งนี้ และเมื่อสามารถยืนยันได้ว่าอะไรที่จะเป็นประโยชน์ บริษัทก็จะดำเนินการต่อไป

"เรากำลังพูดคุยกับรัฐบาลไทยอยู่ในขณะนี้ เพื่อดูว่าเราจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร" โฆษกของบริษัท บอร์ริง คอมพานี ยืนยันกับบีบีซีไทยผ่านทางอีเมล

"เรากำลังส่งคนจากบริษัท สเปซเอ็กซ์ และ บอร์ริง คอมพานี จากสหรัฐฯ เดินทางไปยังประเทศไทยวันนี้ เพื่อให้การสนับสนุนภาคพื้นดิน"

ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ชื่อ @MabzMagz ถามนายอีลอน มัสก์ ผ่านทวิตเตอร์ ว่าเป็นไปได้ไหมที่เขาจะช่วยเหลือภารกิจครั้งนี้

"ผมคิดว่ารัฐบาลไทยควบคุมสถานการณ์เรื่องนี้ไว้ได้แล้ว แต่ผมยินดีจะช่วยหากมีหนทางที่ผมทำได้" นายมัสก์ทวีตตอบกลับ

ข้าม Twitter โพสต์ , 2
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 2

หลังจากนั้นผู้ใช้งานคนดังกล่าวได้กล่าวขอบคุณ พร้อมกับเสริมว่า อยากให้นายมัสก์ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเผื่อว่าจะมีสถานการณ์ใดที่นายมัสก์สามารถช่วยได้ เพราะ "เราบางคนได้แต่ภาวนา แต่คุณสามารถทำอะไรได้มากกว่า"

นายมัสก์จึงทวีตตอบกลับอีกครั้งว่า บริษัท บอร์ริง คอมพานี ของเขา มีเรดาร์ส่องทะลุผิวดินชั้นสูง และมีความถนัดในด้านการขุดเจาะพื้นดิน

"ไม่รู้ว่าอัตราการสูบน้ำที่จำกัดนี้เป็นเพราะกำลังไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ำมีขนาดเล็กไปหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็สามารถส่งแผงพลังงานที่ชาร์จไฟเต็มที่และเครื่องสูบน้ำไปให้ได้" เขากล่าวผ่านทวีตนั้น

ข้าม Twitter โพสต์ , 3
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 3

เจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ถ้ำหลวงกำลังพิจารณาถึงหนทางที่จะนำนักฟุตบอลและโค้ชทีมหมูป่าทั้ง 13 คนออกมาจากถ้ำอย่างปลอดภัย ทุกคนแสดงความกังวลถึงระดับน้ำที่ยังสูงอยู่ เนื่องจากการออกด้านหน้าถ้ำยังเป็นเส้นทางหลัก และต้องอาศัยการดำน้ำออกไป ขณะที่เด็กหลายคนไม่มีประสบการณ์ดำน้ำมาก่อน

ในขณะเดียวกันก็ได้พิจารณาหนทางอื่นด้วยเช่นกัน อย่างเช่น การเจาะโพรงถ้ำลงไปให้ตรงกับที่เด็ก ๆ อยู่และดึงตัวขึ้นมา

นายอีลอน มัสก์ เป็นผู้ก่อตั้งกิจการขนส่งอวกาศสเปซเอ็กซ์ และผู้บุกเบิกกิจการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยหลายแขนง งรวมทั้ง บริษัท บอร์ริง คอมพานี ที่เป็นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีขุดเจาะอุโมงค์ขนาดใหญ่ และ ไฮเปอร์ลูป โครงการขนส่งสาธารณะใต้ดินความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีสูญญากาศ เพื่อทำความเร็วให้กับแคปซูลโดยสาร

อีลอน มัสก์ ยินดีสนับสนุนการช่วยเหลือทีมหมูป่า

ที่มาของภาพ, Joshua Lott/Getty Images

ย้อนไปเมื่อต้นปี 2017 รัฐบาลออสเตรเลียได้จัดประกวดราคาโครงการสร้างระบบแบตเตอรีนี้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งมีบริษัทด้านเทคโนโลยีอีก 2 แห่งเข้าร่วมแข่งขันกับเทสลาด้วย แต่ในที่สุดเทสลาเป็นฝ่ายชนะการประกวดราคาดังกล่าว

โดยประกาศว่าจะทำโครงการนี้ให้รัฐบาลออสเตรเลียโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หากไม่สามารถสร้างระบบแบตเตอรียักษ์ได้เสร็จภายในกำหนด 100 วัน นับแต่วันที่เริ่มทำสัญญาโครงการกับรัฐบาล

นอกจากนี้ เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา นายมัสก์เพิ่งส่งรถยนต์สีแดงเชอรี พร้อมหุ่นคนขับและวิทยุที่เล่นเพลงของ เดวิด โบวี ขึ้นสู่อวกาศ พร้อมจรวดฟอลคอนเฮฟวี ซึ่งเป็นจรวดขนส่งอวกาศที่ทรงพลังที่สุดของโลก โดยปล่อยเข้าสู่วงโคจร ซึ่งจะพาไปถึงจุดหมายปลายทางที่ดาวอังคาร