Got a TV Licence?

You need one to watch live TV on any channel or device, and BBC programmes on iPlayer. It’s the law.

Find out more
I don’t have a TV Licence.

รายงานสด

ระบุสหราชอาณาจักรโดยตลอด

  1. จบการรายงาน

    บีบีซีไทยขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามการรายงานสดพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 ของ นายโจ ไบเดน เราขอลาไปด้วยวรรคทองในสุนทรพจน์แรกของเขา หลังรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ

    ไบเดน
  2. ไบเดน เรียกร้อง ความสามัคคีของคนในชาติ

    “ประวัติศาสตร์ ความศรัทธา และเหตุผล จะนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันได้"

    ในตอนหนึ่งของสุนทรพจน์แรกจากประธานาธิบดีคนใหม่ นายโจ ไบเดนกล่าวว่าการฟื้นฟูประเทศชาตินั้น ต้องการความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากที่สุด

    “พลังที่แบ่งแยกเรานั้นเป็นของจริงและฝังรากลึก แต่มันไม่ใช่สิ่งใหม่ การต่อสู้นั้นดำรงอยู่ตลอดกาลและชัยชนะก็ไม่ใช่สิ่งที่แน่นอน แต่เทพฝ่ายดีในจิตใจเราจะมีชัยชนะเสมอ”

    “ประวัติศาสตร์ ความศรัทธา และเหตุผล จะนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เราต้องเผชิญกับห้วงเวลานี้ในฐานะสหรัฐอเมริกา”

    “หยุดร้องตะโกนและลดความร้อนแรงลง หากไม่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแล้ว ก็จะไร้ซึ่งสันติสุข”

    นายไบเดนยังกล่าวถึงเหตุวุ่นวายในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการที่ถูกนายโดนัลด์ ทรัมป์กล่าวหาว่าเขาขโมยชัยชนะมาว่า “ความจริงนั้นมีอยู่และก็มีความลวงด้วยเช่นกัน มีการพูดโกหกเพื่ออำนาจและผลประโยชน์”

    “เราต้องยุติสงครามอนารยะ ที่คอยผลักให้แดงปะทะกับน้ำเงินนี้ลงเสียที”

    “ด้วยจุดมุ่งหมายแน่วแน่และความมุ่งมั่น เราจะเดินหน้าเผชิญกับการงานแห่งยุคของเรา”

  3. ดร. จิลล์ ไบเดน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนใหม่ของอเมริกา

    เธอคือภริยา ปธน.สหรัฐฯ คนแรกที่ยังคงประกอบอาชีพต่อไปแม้จะเข้าไปอยู่ในทำเนียบขาวแล้ว และยังเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งคนแรกที่เป็นดุษฎีบัณฑิต

    Video content

    Video caption: จิลล์ ไบเดน: อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้กลายเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอเมริกา
  4. โจ ไบเดน กับเรื่องด่วนที่จะทำ หลังนั่งเก้าอี้ผู้นำสหรัฐฯ

    ทีมงานของนายโจ ไบเดน แถลงก่อนถึงเวลาทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเพียงไม่กี่ชั่วโมงว่า นายไบเดนเตรียมจะออกคำสั่งชุดใหญ่ในช่วง 10 วันแรกของการเข้าดำรงตำแหน่ง เพื่อแก้ไขสิ่งที่ผู้นำสหรัฐฯ คนก่อนได้ทำไว้โดยไม่รอช้า

    ในอันดับแรก นายไบเดนจะออกมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันไปแล้วกว่า 4 แสนคน โดยจะยับยั้งกระบวนการถอนตัวของสหรัฐฯ ออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และรวมศูนย์การบริหารงานระดับชาติ เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างเป็นระบบ

    นอกจากนี้ นายไบเดนจะมีคำสั่งให้ออกมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยกเลิกคำสั่งห้ามพลเมืองจากประเทศที่เป็นมุสลิมเดินทางเข้าสหรัฐฯ, ยุติการสร้างกำแพงกั้นแนวพรมแดนที่ติดกับเม็กซิโก, จัดการกับปัญหาความไม่เท่าเทียมจากเหตุกีดกันแบ่งแยกเชื้อชาติอย่างถอนรากถอนโคน, ปกป้องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) และฟื้นฟูความเชื่อมั่นในหมู่ชาติพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯ

    U.S. President Joe Biden delivers his speech after he was sworn in as the 46th President of the United States
  5. ไบเดน : "ความรุนแรงสั่นคลอนรากฐานของนครหลวง"

    นายไบเดนกล่าวในตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ว่า “เราได้เรียนรู้อีกครั้งว่าประชาธิปไตยนั้นล้ำค่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นเปราะบาง แต่เพื่อนเอ๋ย...ขณะนี้ประชาธิปไตยเป็นฝ่ายชนะ”

    “ณ ที่แห่งนี้เมื่อไม่กี่วันก่อน ความรุนแรงได้พยายามจะสั่นคลอนรากฐานของนครหลวง เรามารวมตัวกันในฐานะของชาติที่เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้พระเจ้าที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ เพื่อดำเนินการถ่ายโอนอำนาจอย่างสันติ อย่างที่เคยเป็นมาตลอดเวลากว่าสองร้อยปี”

    “ผมขอขอบคุณบรรดาอดีตประธานาธิบดีจากทั้งสองพรรคที่มาอยู่ที่นี่ในวันนี้ เราจะเผชิญหน้าและเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง ฟื้นฟูจิตวิญญาณและกอบกู้อนาคตของอเมริกา”

  6. ไบเดน พูดถึงรองประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐฯ

    “อย่าบอกผมว่า เรื่องต่าง ๆ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้”

    ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ได้ใช้เวลาช่วงหนึ่งในการกล่าวถึงการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของนางกมลา แฮร์ริส

    “ที่ที่เรายืนอยู่ตรงนี้เมื่อ 108 ปีก่อน ผู้ประท้วงหลายพันคน พยายามที่จะขัดขวางเหล่าสตรีที่กล้าหาญที่กำลังเดินขบวนเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้ง”

    “วันนี้ เป็นวันที่เราได้เห็นการสาบานตนเป็นรองประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์อเมริกัน กมลา แฮร์ริส”

    “อย่าบอกผมว่า เรื่องต่าง ๆ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้” เขากล่าว

  7. สุนทรพจน์แรกของ ปธน คนที่ 46

    นายไบเดนกล่าวสุนทรพจน์แรกในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่า “นี่คือวันของอเมริกา นี่คือวันของประชาธิปไตย วันแห่งประวัติศาสตร์และความหวัง”

    “แม้ต้องทุกข์ทรมาน แต่อเมริกาผ่านการทดสอบและลุกขึ้นสู้กับความท้าทาย วันนี้เราฉลองชัยชนะ แต่ไม่ใช่ชัยชนะของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่เป็นชัยชนะของประชาธิปไตย”

    U.S. President Joe Biden delivers his speech
    Biden

    Video content

    Video caption: สุนทรพจน์แรกของ ปธน คนที่ 46
  8. เลดี้ กาก้า ร้องเพลงชาติสหรัฐฯ

    เลดี้ กาก้า

    เลดี้ กาก้า แสดงเร็วกว่ากำหนด ได้ขับร้องเพลงชาติสหรัฐฯ อย่างทรงพลัง ด้วยไมโครโฟนสีทอง และเข็มกลัดรูปนกพิราบสีทองติดอยู่ที่หน้าอก

    กาก้า ในชุดสีดำคอสูงและกระโปรงแดง ขับร้องเพลงชาติต่อหน้าธงชาติสหรัฐฯ ที่จัดแสดงอยู่ แทนที่จะหันหน้าสู่ผู้ที่เข้าร่วมพิธีสาบานตนเช่นที่เคยเป็นมา

  9. ไบเดน กล่าวคำสาบานตนเข้ารับตำแหน่งปธน. แล้ว

    โจเซฟ อาร์ ไบเดน จูเนียร์ เป็น ปธน. สหรัฐฯ คนที่ 46 อย่างเป็นทางการแล้ว

    "ข้าพเจ้าโจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดน จูเนียร์ ขอสาบานอย่างหนักแน่นว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและอย่างสุดความสามารถ เพื่อดำรง ปกป้อง และพิทักษ์รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ขอให้พระเจ้าประทานความช่วยเหลือ"

    Joe Biden is sworn in as the 46th President of the United States as his wife Jill Biden holds a bible on the West Front of the U.S. Capitol
    Biden
    Joe Biden hugs his wife Jill biden

    Video content

    Video caption: ไบเดน กล่าวคำสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ปธน.
  10. เลดี้ กาก้า ร้องเพลงชาติสหรัฐฯ

    มาร์ก ซาวิจ ผู้สื่อข่าวดนตรี บีบีซี นิวส์

    เลดี้ กาก้า นักร้องเพลงป๊อปชื่อดังขับร้องเพลงชาติสหรัฐฯ ตามรอยที่ บียอนเซ ศิลปินชื่อดังอีกคน และมาเรียน แอนเดอร์สัน นักร้องโอเปร่า เคยทำไว้ โดยแอนเดอร์สัน เคยขับร้องเพลงชาติในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี และประธานาธิบดีดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์

    เลดี้ กาก้า ซึ่งช่วยรณรงค์หาเสียงสนับสนุนนายโจ ไบเดน ในช่วงเลือกตั้ง กล่าวว่า เธอรู้สึก “เป็นเกียรติอย่างยิ่ง” ที่ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่นี้ในพิธี

    เธอได้ฝึกซ้อมการแสดงเมื่อวานนี้ (19 ม.ค.) และได้ถ่ายรูปร่วมกับเจ้าหน้าที่กองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิของสหรัฐฯ ซึ่งถูกเรียกให้มาช่วยคุ้มครองความปลอดภัยของรัฐสภาจากความเสี่ยงต่าง ๆ

    เลดี้ กาก้า
    เลดี้กาก้า
  11. กมลา แฮร์ริส เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการแล้ว

    นางกมลา แฮร์ริส กล่าวคำสาบานตนดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการแล้ว สร้างประวัติศาสตร์เป็นรองประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอเมริกา

    Kamala Harris

    Video content

    Video caption: นางกมลา แฮร์ริส กล่าวคำสาบานตนดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ
  12. แทมมี่ ดักเวิร์ธ ร่วมงานด้วย

    นางแทมมี่ ดักเวิร์ธ นักการเมืองเชื้อสายไทย-อเมริกัน คือหนึ่งในแขกที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 ของนายโจ ไบเดน

    เมื่อเดือน ก.ค. นางดักเวิร์ธ วุฒิสมาชิกรัฐอิลลินอยส์ จากพรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ ถูกจับตามองจากสื่อยักษ์ใหญ่หลายสำนักว่ามีโอกาสได้รับเลือกลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คู่กับนายไบเดน แต่นายไบเดนเลือก กมลา แฮร์ริสแทน

    US Senator Tammy Duckworth during the inauguration of Joe Biden as the 46th President of the United States on the West Front of the U.S. Capitol in Washington, U.S., January 20, 2021
  13. คำสาบานตนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด

    โจชัว ชีทัม บีบีซี นิวส์

    รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ กำหนดให้ประธานาธิบดีทุกคนต้องสาบานตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง

    นายแฟรงกลิน ดี โรสเวลต์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งมากที่สุดถึง 4 ครั้ง หลังจากชนะการเลือกตั้ง 4 ครั้ง แต่เขาครองสถิตินี้ร่วมกับนายบารัก โอบามา ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2 สมัย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

    ย้อนกลับไปในปี 2009 ระหว่างการสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง นายโอบามา อ่านคำสาบานตนผิดพลาดตามนายจอห์น โรเบิร์ตส์ ประธานศาลฎีกา ซึ่งทำหน้าดูแลการสาบานตน ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ นายโอบามา จึงได้สาบานตนใหม่อีกครั้งในวันต่อมา

    ส่วนการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งครั้งที่ 2 ในปี 2013 มีปัญหาน้อยกว่า เนื่องจากวันที่ 20 ม.ค. ในปีนั้นตรงกับวันอาทิตย์ นายโอบามา จึงสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในพิธีที่จัดขึ้นเป็นการส่วนตัวในทำเนียบขาว และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งต่อสาธารณชนในวันต่อมา

    เขาไม่ใช่ประธานาธิบดีคนแรกที่อ่านสลับคำสำคัญในการสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง มีประธานาธิบดีอีก 5 คนที่เคยมีประสบการณ์เช่นเดียวกัน แต่เขาเป็นเพียงคนเดียวที่ขอสาบานตนเข้ารับตำแหน่งใหม่ด้วยข้อความที่ถูกต้อง

    ในปี 1929 เฮเลน เทอร์วิลลิเกอร์ เด็กหญิงวัย 13 ปี ซึ่งจดจำถ้อยคำสาบานตนได้และกำลังรับฟังพิธีสาบานตนทางวิทยุ ได้พบจุดผิดพลาดในการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของนายเออร์เบิร์ต ฮูเวอร์

    ต่อมา เธอได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่งถึงนายวิลเลียม แทฟต์ ประธานศาลฎีกา ซึ่งเขาก็ยอมรับถึงข้อผิดพลาดของเขา แต่ยืนกรานที่จะไม่ทำให้การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนายฮูเวอร์เป็นโมฆะ

    บารัก โอบามา และมิเชล โอบามาา
  14. กลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนทรัมป์ไม่ปรากฏตัวที่กรุงวอชิงตัน

    ผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานว่า บริเวณโดยรอบสถานที่จัดพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายไบเดน รวมทั้งภายในกรุงวอชิงตัน แทบไม่ปรากฏบรรดาผู้สนับสนุนนายโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มติดอาวุธที่ได้นัดแนะกันรวมตัวเพื่อประท้วงพิธีสาบานตนก่อนหน้านี้

    เว็บไซต์ของกลุ่ม Public Advocate ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เตรียมจัดการเดินขบวนประท้วง ประกาศยกเลิกจัดกิจกรรม เนื่องจากการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา ด้วยทหารราว 25,000 นายของกองกำลังพิทักษ์ชาติ

    ส่วนที่เมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นเมืองแลนซิงของรัฐมิชิแกน ซึ่งเป็นฐานสำคัญของกลุ่มผู้สนับสนุนทรัมป์ บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงาในบริเวณอาคารที่ทำการรัฐ ซึ่งมีการวางกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดเช่นกัน ทำให้มีผู้ชุมนุมที่พกพาอาวุธปืนปรากฎตัวเพียงไม่กี่รายเท่านั้น

    National Guard troops patrol the Michigan statehouse
  15. กำหนดการพิธี

    กำหนดการ ตามเวลาในประเทศไทย

    เวลาประมาณ 23:30 น. – คุณพ่อลีโอ โอโดโนแวน บาทหลวงคณะเยสุอิต จะนำการสวดภาวนา จากนั้น เลดี้ กาก้า จะขับร้องเพลงชาติสหรัฐฯ

    เวลาประมาณ 23:35 น. - นางกมลา แฮร์ริส จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งรองประธานาธิบดี

    เวลาประมาณ 23:45 นายโจ ไบเดน จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และจะกล่าวสุนทรพจน์รับตำแหน่งเป็นเวลาประมาณ 20 นาที

  16. แขกทยอยเดินทางมาถึง

    แขกเริ่มเดินทางมาถึงก่อนหน้าที่พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งจะเริ่มขึ้นที่รัฐสภาสหรัฐฯ

    ผู้คนบางตาลงในปีนี้ เพราะว่าบัญชีรายชื่อแขกถูกจำกัดเนื่องจากสถานการณ์โควิด

    แขกที่พบเห็นอยู่ในงานแล้วคือ อดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา และอดีตสตรีหมายเลขหนึ่งมิเชล โอบามา และว่าที่วุฒิสมาชิกรัฐจอร์เจีย จอน ออสซอฟ ซึ่งคาดว่าจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันนี้เช่นกัน

    คนในงาน
    บารัก กับ มิเชล โอบามา
    Image caption: อดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ และอดีตสตรีหมายเลขหนึ่งมิเชล โอบามา เดินทางมาร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของนายโจ ไบเดน
    ผู้หญิงใส่หน้ากาก
    Image caption: วุฒิสมาชิกมาซี ฮิโรโน ของรัฐฮาวาย เดินทางมาถึงบริเวณรัฐสภา
    วุฒิสมาชิกเท็ด ครูซ
    Image caption: วุฒิสมาชิกเท็ด ครูซ จากรัฐเทกซัส สวมหน้ากากที่มีข้อความว่า "เข้ามาแล้วรับมันไป" ขณะเดินทางมาถึงรัฐสภา
    กลุ่มคนใส่หน้ากาก
    Image caption: ว่าที่วุฒิสมาชิกจอน ออสซอฟ จากจอร์เจีย
  17. โอบามา และคลินตัน เดินทางมาถึง

    อดีตประธานาธิบดีและสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ หลายคนเดินทางมาถึงรัฐสภาสหรัฐฯ ก่อนหน้าที่พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งจะเริ่มขึ้น

    ทั้งนายบิล และนางฮิลลารี คลินตัน นายบารัก และนางมิเชล โอบามา ขณะที่นายจอร์จ และนางลอรา บุช กำลังจะเดินทางมาถึง

    อดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ทวีตข้อความสนับสนุนนายโจ ไบเดน พร้อมกับแท็กบัญชีทวิตเตอร์ของนายไบเดน ว่า “ยินดีกับเพื่อนของผม ประธานาธิบดี @JoeBiden! นี่คือเวลาของคุณ”

    นายไบเดน เคยเป็นรองประธานาธิบดีในสมัยที่นายโอบามา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นที่ทราบกันว่า ทั้งคู่มีความสนิทสนมกัน

    View more on twitter
  18. ไบเดน มาถึงที่จัดพิธีแล้ว

    นายโจ ไบเดน และนางจิลล์ ภริยา เดินทางถึงอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ สถานที่จัดพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว

    Joe Biden arrives at Capitol

    Video content

    Video caption: ไบเดน มาถึงที่จัดพิธีแล้ว
  19. โควิด-19 เปลี่ยนโฉมพิธีในปีนี้อย่างไร

    ในยามปกติ กรุงวอชิงตัน ดีซี จะเนืองแน่นไปด้วยประชาชนหลายแสนคนหรือเป็นล้านคนที่ไปร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีสำคัญเช่นนี้

    แต่ในปีนี้ คณะทำงานของนายไบเดนระบุว่า การเฉลิมฉลองจะเป็นไปอย่าง "จำกัดมาก" พร้อมเรียกร้องให้ชาวอเมริกันงดเดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งสอดคล้องกับคำเรียกร้องของทางการเมืองหลวงแห่งนี้ หลังจากเกิดเหตุกลุ่มผู้สนับสนุนนายทรัมป์บุกอาคารรัฐสภา นอกจากนี้ ยังมีการถอดอัฒจันทร์ที่ติดตั้งให้ประชาชนนั่งชมตามเส้นทางขบวนพาเหรดฉลองการรับตำแหน่งออกไปด้วย

    หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานว่า งานในปีนี้จะมีการจัดให้ผู้เข้าร่วมงานราว 200 คน นั่งชมพิธีบนเวทีใหญ่โดยใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัยและผ่านการตรวจยืนยันว่าไม่ติดโรคโควิด-19 ในเวลา 2-3 วันก่อนถึงวันงาน

    นายไบเดนเคยระบุเมื่อเดือน มิ.ย.ปีที่แล้วว่า เขาจะไม่สวมหน้ากากอนามัยในตอนที่ต้องกล่าวคำสาบานตน

    พิธีในปี 2017 กับ 2021
  20. โจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คือใคร

    โจ ไบเดน ผ่านพ้นเรื่องโศกเศร้าในชีวิตมามากมาย และเคยล้มเหลวทางการเมืองมาหลายครั้ง ก่อนที่จะได้กลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากทำงานการเมืองมานานกว่า 40 ปี

    โจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้งและจะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป นี่คือเรื่องราวของผู้ชายที่คว้าชัยสู่ทำเนียบขาวในความพยายามครั้งที่ 3 ของเขา

    Video content

    Video caption: เลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 : โจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คือใคร