ผู้ลี้ภัยทางการเมือง : คนเห็นต่าง
หรือ พวกหนักแผ่นดิน

บีบีซีไทยสำรวจชะตากรรมของคนไทยที่กล้าพูดในสิ่งที่พูดไม่ได้

บีบีซีไทยสำรวจชะตากรรมของคนไทยที่กล้าพูดในสิ่งที่พูดไม่ได้

ตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 เป็นต้นมา มีคนไทยไปลี้ภัยในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 100 คน ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีนักเคลื่อนไหวอย่างน้อย 6 คนที่หายตัวปริศนา อีก 2 คนกลายเป็นศพ ถูกคว้านท้องและยัดด้วยเสาปูน

หลายเดือนที่ผ่านมา บีบีซีไทยได้สืบค้นเรื่องราวของผู้ลี้ภัยไทยในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรีที่หนีการขู่สังหารไปยุโรป, แม่ผู้เฝ้ารอวันที่ลูกชายที่หายตัวปริศนาจะกลับบ้าน, นักเคลื่อนไหววัย 20 กว่าปีในเกาหลีใต้ผู้ทิ้งบ้านเกิดเพื่อเสรีภาพในการแสดงออก และนักข่าวในสหรัฐฯ ที่ขับอูเบอร์ไปด้วยเพื่อหาเงินมาผลิตรายการ เป็นต้น

ทางการไทยมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการฆาตกรรม อุ้มหายปริศนา และการคุกคามนักเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หรือไม่

อะไรคือ “ราคาที่ต้องจ่าย” สำหรับคนไทยที่ยืนหยัดจะพูดในสิ่งที่พูดไม่ได้

นักดนตรี

ด้วยสายตาคู่หนึ่ง พวกเขาคือ

“เศษสวะ”

“สัตว์นรก”

“หนักแผ่นดิน”

ด้วยสายตาอีกคู่หนึ่ง พวกเขาคือมนุษย์เหมือนกัน มีเลือดเนื้อและลมหายใจ 

จะมองด้วยสายตาคู่ไหน... นานาจิตตัง

เราอยู่กันที่จัตุรัสรีพับลิกในกรุงปารีส ใต้รูปปั้น “มารีแอน” หญิงที่เป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ ตัวแทนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ตั้งตระหง่าน “ไฟเย็น” วงดนตรีที่เคยลี้ภัยอยู่ในลาวกว่า 5 ปี กำลังร้องรำทำเพลงอย่างคึกคัก

“ออกมาเถอะน้องพี่ ออกมาขับไล่มัน ไอ้พวกชนชั้นเผด็จการ ไล่มัน ไป ไป ไป ...พวกศักดินา สำราญบนหัวคน สามานย์โสมม ปลดมันออกไป” คือเนื้อร้องท่อนหนึ่งระหว่างการแสดงครั้งแรกในเมืองหลวงของฝรั่งเศสหลังลี้ภัยมาได้สำเร็จเมื่อต้นเดือน ส.ค.

“รู้สึกเป็นมนุษย์ครับ” นิธิวัต วรรณศิริ นักร้องนำของวงบอกกับบีบีซีไทย

“ถ้าเราไม่มีเสรีภาพ เราก็ไม่ใช่มนุษย์ เราไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยงในกรงขัง ในเมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่เขารองรับเสรีภาพความเป็นมนุษย์เราได้มากที่สุดในโลก เราก็เลยรู้สึกว่าเราเป็นมนุษย์ที่นี่”

สมาชิกวงไฟเย็นทั้ง 4 คนไม่มีหนังสือเดินทางไทยติดตัว แต่มาด้วยเอกสารอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศเป็นกรณีพิเศษ (laissez-passer ในภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งออกโดยสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศต้นทาง ผ่านการประสานงานโดยโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยนานาชาติ (International Refugee Assistance Project หรือ IRAP)

พวกเขาเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเสียงเพลงหลังการสลายการชุมนุมปี 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อย แล้วลี้ภัยไปลาวหลังรัฐประหารปี 2557 โดยสมาชิกส่วนใหญ่มีหมายจับฐานขัดคำสั่งให้ไปรายงานตัวของคณะรัฐประหารในนาม คสช. และฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

เสรีภาพที่นิธิวัตว่าคงเป็นการได้ร้องเพลงที่โดนหลายฝ่ายในไทยวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงอย่าง “ไม่รักระวังติดคุกนะ”, “รถติดขบวน”, “112 Royal Pizza พิซซ่าเสี่ยงตาย” และอีกมากมาย ที่เสียดสีและตั้งคำถามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านี้ กระแสรณรงค์ #SaveFaiyen หรือ #อย่าฆ่าไฟเย็น  มีน้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการหายตัวลึกลับหรือถูกฆาตกรรมปริศนาของนักเคลื่อนไหวไทยในประเทศเพื่อนบ้านถึง 8 คนในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เรากำลังอยู่ในสังคมแบบไหนกันที่ผู้เห็นต่างอาจถูกอุ้มหายหรือถูกฆาตกรรมได้

ใช้เพลงตอบโต้

 “เหมือนที่ฝั่งอนุรักษ์นิยมใช้เพลงกล่อมเกลาพวกเราทุกเช้าเย็น ...เราก็จะใช้เพลงตอบโต้พวกเขา” ไตรรงค์ สินสืบผล มือคีย์บอร์ดผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าวงเล่า และอธิบายว่า เพลงของพวกเขาพูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้ด้วยการหยุดที่ ”เพดาน” ของกฎหมาย

“...”ไม่รักนะ ไม่รักนะ ไม่รักระวังติดคุกนะ ติดคุกนะ” (ร้องเพลง) ...ไม่รักใคร ติดคุกอะไร สร้างเป็นคีย์เวิร์ด ให้มีคำถาม เราพูดถึงอะไร จะสื่ออะไร”

ด้วยสายตาคู่หนึ่ง พวกเขาคือ

“เศษสวะ”

“สัตว์นรก”

“หนักแผ่นดิน”

ด้วยสายตาอีกคู่หนึ่ง พวกเขาคือมนุษย์เหมือนกัน มีเลือดเนื้อและลมหายใจ 

จะมองด้วยสายตาคู่ไหน... นานาจิตตัง

เราอยู่กันที่จัตุรัสรีพับลิกในกรุงปารีส ใต้รูปปั้น “มารีแอน” หญิงที่เป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ ตัวแทนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ตั้งตระหง่าน “ไฟเย็น” วงดนตรีที่เคยลี้ภัยอยู่ในลาวกว่า 5 ปี กำลังร้องรำทำเพลงอย่างคึกคัก

“ออกมาเถอะน้องพี่ ออกมาขับไล่มัน ไอ้พวกชนชั้นเผด็จการ ไล่มัน ไป ไป ไป ...พวกศักดินา สำราญบนหัวคน สามานย์โสมม ปลดมันออกไป” คือเนื้อร้องท่อนหนึ่งระหว่างการแสดงครั้งแรกในเมืองหลวงของฝรั่งเศสหลังลี้ภัยมาได้สำเร็จเมื่อต้นเดือน ส.ค.

“รู้สึกเป็นมนุษย์ครับ” นิธิวัต วรรณศิริ นักร้องนำของวงบอกกับบีบีซีไทย

“ถ้าเราไม่มีเสรีภาพ เราก็ไม่ใช่มนุษย์ เราไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยงในกรงขัง ในเมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่เขารองรับเสรีภาพความเป็นมนุษย์เราได้มากที่สุดในโลก เราก็เลยรู้สึกว่าเราเป็นมนุษย์ที่นี่”

สมาชิกวงไฟเย็นทั้ง 4 คนไม่มีหนังสือเดินทางไทยติดตัว แต่มาด้วยเอกสารอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศเป็นกรณีพิเศษ (laissez-passer ในภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งออกโดยสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศต้นทาง ผ่านการประสานงานโดยโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยนานาชาติ (International Refugee Assistance Project หรือ IRAP)

ไฟเย็นเดินทางไปยังหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีส เพื่อกล่าวคำไว้อาลัยและร้องเพลงเรียกร้องความยุติธรรมให้เพื่อนที่หายไป 

ไฟเย็นเดินทางไปยังหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีส เพื่อกล่าวคำไว้อาลัยและร้องเพลงเรียกร้องความยุติธรรมให้เพื่อนที่หายไป 

พวกเขาเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเสียงเพลงหลังการสลายการชุมนุมปี 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อย แล้วลี้ภัยไปลาวหลังรัฐประหารปี 2557 โดยสมาชิกส่วนใหญ่มีหมายจับฐานขัดคำสั่งให้ไปรายงานตัวของคณะรัฐประหารในนาม คสช. และฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

เสรีภาพที่นิธิวัตว่าคงเป็นการได้ร้องเพลงที่โดนหลายฝ่ายในไทยวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงอย่าง “ไม่รักระวังติดคุกนะ”, “รถติดขบวน”, “112 Royal Pizza พิซซ่าเสี่ยงตาย” และอีกมากมาย ที่เสียดสีและตั้งคำถามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านี้ กระแสรณรงค์ #SaveFaiyen หรือ #อย่าฆ่าไฟเย็น  มีน้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการหายตัวลึกลับหรือถูกฆาตกรรมปริศนาของนักเคลื่อนไหวไทยในประเทศเพื่อนบ้านถึง 8 คนในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เรากำลังอยู่ในสังคมแบบไหนกันที่ผู้เห็นต่างอาจถูกอุ้มหายหรือถูกฆาตกรรมได้

ไฟเย็นเริ่มเคลื่อนไหวด้วยเสียงเพลงหลังการสลายการชุมนุมปี 2553

ไฟเย็นเริ่มเคลื่อนไหวด้วยเสียงเพลงหลังการสลายการชุมนุมปี 2553

ไฟเย็นเริ่มเคลื่อนไหวด้วยเสียงเพลงหลังการสลายการชุมนุมปี 2553

ไฟเย็นเดินทางไปยังหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีส เพื่อกล่าวคำไว้อาลัยและร้องเพลงเรียกร้องความยุติธรรมให้เพื่อนที่หายไป 

ไฟเย็นเริ่มเคลื่อนไหวด้วยเสียงเพลงหลังการสลายการชุมนุมปี 2553

ไฟเย็นเดินทางไปยังหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีส เพื่อกล่าวคำไว้อาลัยและร้องเพลงเรียกร้องความยุติธรรมให้เพื่อนที่หายไป 

ตั้งแต่เริ่มมีเพื่อนนักเคลื่อนไหวหายตัวช่วงกลางปี 2559 ไฟเย็นเริ่มผลัดเวรกันเข้านอนเพราะเชื่อว่าพวกเขาจะเป็นเป้าถูกอุ้มฆ่ารายต่อไป 

ไตรรงค์เล่าว่าที่หนีออกมาหลังรัฐประหารคือ ต้องการหาทางตอบโต้กลับให้หนักกว่าเดิม ต้องการชี้ความผิดปกติ ความไม่เท่าเทียม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคม

“ทำไมถึงยึดอำนาจ ใครอยู่เบื้องหลัง ...ทำไมต้องเข้าเฝ้า...  มันคืออะไร”

ก่อนหน้านี้ ไตรรงค์มีอาชีพเป็นโปรดิวเซอร์รับทำเพลงไม่จำกัดแนว ตั้งแต่รัก ๆ ใคร่ ๆ ไปจนถึง “เพลงอวยเจ้า” เขาเล่าว่ามีรายได้ดี จนกระทั่งเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเขาบอกว่ามีทหารไปติดตามที่บ้านและทำให้ตัดสินใจตัดสายสัมพันธ์ครอบครัวตั้งแต่ยังไม่ไปลี้ภัยที่ลาว บอกกับภรรยาและลูก ๆ ว่า “พวกมึงไปเปลี่ยนนามสกุลให้หมด”

ไตรรงค์บอกว่า “ต้องเสียสละ ต้องยอม เรารู้อยู่แล้วว่าต้องเป็นอย่างนี้” ตอนนี้ เขาติดต่อกับลูกเพียงนาน ๆ ครั้งเพื่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบและส่งเงินไปช่วยเหลือเมื่อทำได้ 

ในขณะที่ นิธิวัต นักร้องนำของวงยังเรียนไม่จบคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากถูกแจ้งข้อหามาตรา 112 วรวุฒิ เทือกชัยภูมิ สมาชิกอีกคนหนึ่งของวง เพิ่งเรียนจบวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่ต้องหยุดความฝันที่จะทำงานองค์กรไม่หวังผลกำไรเพื่อสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารจนโดนหมายจับฐานขัดคำสั่งให้ไปรายงานตัวของ คสช. และข้อหามาตรา 112

“เขาไม่คิดว่าสิ่งที่เราทำเป็นเรื่องผิด” วรวุฒิพูดถึงครอบครัวซึ่งเขาบอกว่ายังติดต่อกันอยู่เป็นประจำ และหายห่วงแล้วเมื่อเขาเดินทางไปฝรั่งเศสได้สำเร็จ 

รายได้ส่วนหนึ่งของไฟเย็นมาจากการจัดรายการพูดคุยทางยูทิวบ์ซึ่งเนื้อหาต่างจากเพลงตรงที่เลย “เพดาน” กฎหมายไปไม่น้อย ที่คนไทยฝ่ายหนึ่งมองว่า “หนักแผ่นดิน” เป็นเพราะพวกเขาไม่เพียงต้องการให้ยกเลิกกฎหมาย มาตรา 112 แต่อยากให้ประเทศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองด้วย

รมย์ชลีญ์ เป็นสมาชิกหญิงคนเดียวของวง

รมย์ชลีญ์ เป็นสมาชิกหญิงคนเดียวของวง

“เรามองเห็นศัตรูของเราหรือเปล่า ถ้าคุณมองไม่เห็น ขอร้องไปก็ป่วยการ” ไตรรงค์ ว่า “อยากจะให้มีจิตสำนึกในความถูกต้อง อะไรที่มันผิดบิดเบี้ยว เราก็ต้องตบให้มันเข้าที่เข้าทาง ขนาดคนไปวัดไปวาแต่งตัวไม่สุภาพคุณยังทักเลย ‘โอ๊ยมึง อย่าใส่กางเกงขาสั้นไปวัดนะ' ทีแบบนี้คุณยังทักกัน ‘เฮ้ยมึงอย่าไปยึดอำนาจนะ มันผิด’ ทำไมคุณไม่ช่วยกันทำ” 

"ต้องมาทำความรู้ความเข้าใจกันเรื่องการเมืองใหม่ ...สร้างจิตสำนึกใหม่ให้คนไทย ให้รับรู้ร่วมกันว่า อำนาจเป็นของประชาชนจริง ๆ ถ้าคุณไม่คิดว่าอำนาจไม่ใช่ของกษัตริย์แล้ว อำนาจก็ไม่ใช่ของกองทัพ อำนาจคือพวกเรา"

เอกสาร “ขอตัว” และชายปริศนา

ไตรรงค์ในวัย 55 ปี เล่าว่ากระบวนการขอลี้ภัยล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้บอกว่าไม่กลัว แต่สมาชิกวงก็แทบไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็นจริง ๆ ไตรรงค์เชื่ออย่างปักใจว่าทางการไทยอยู่เบื้องหลังการหายตัวไปของนักเคลื่อนไหวทั้ง 8 คน

บีบีซีไทยได้เห็นเอกสารที่ไฟเย็นอ้างว่าเป็นเอกสารการขอตัวผู้ลี้ภัยที่ทางการไทยส่งมายังทางการของประเทศเพื่อนบ้าน ที่หัวกระดาษระบุว่า “ลับมาก” และปรากฏรายชื่อสมาชิกวงไฟเย็น รวมถึงบุคคลที่หายตัวไปอย่าง สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ และสยาม ธีรวุฒิ ด้วย

อีกหน้าหนึ่งปรากฏรายชื่อสมาชิกวง พร้อมรูปถ่ายบัตรประชาชน รายละเอียดหมายจับ รวมถึงระบุตำแหน่งบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมพร้อมพิกัดละติจูดและลองจิจูด

นอกจากนี้ บีบีซีไทยยังได้ฟังคลิปเสียงที่ รมย์ชลีญ์ สมบูรณ์รัตนกูล นักร้องหญิงของวง คุยกับชายปริศนาพูดไทยคล่องที่โทรมาไม่กี่วันหลังจากมีข่าวนายสุรชัยและพวกหายตัวไป ชายคนดังกล่าวย้ำว่านายสุรชัยเสียชีวิตแล้วทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีข่าวการพบศพ นอกจากนี้ เขายังสามารถระบุที่อยู่บ้านพวกเขาได้อย่างถูกต้องอีกด้วย นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องย้ายบ้านไม่ต่ำกว่า 7 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

บีบีซีไทยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเอกสารและคลิปเสียงที่ไฟเย็นอ้างเป็นของจริงหรือไม่

 “ตอนแรกกลัวนะ หนี หนี หนี แต่ว่าพอหลังจากนี้เนี่ย หนีไม่ไหวละ อะไรจะเกิดก็เกิด” รมย์ชลีญ์ เล่า

เธอบอกว่าบทสนทนาทางโทรศัพท์ครั้งนั้นทำให้เธอเข้าใจว่านักเคลื่อนไหวที่หายตัวไปล้วนถูกฆาตกรรมแล้วทั้งสิ้น และเป็นฝีมือของคนกลุ่มเดียวกัน

“หลายคนอาจจะไม่เกลียด อาจจะรับรู้แบบคุณเป็นนักข่าว แต่คุณไม่ได้ซึมซับโดยตรง คุณเลยไม่ได้เกลียดแบบที่เราเกลียด เราเกลียด เพื่อนเราตายนะเว้ย เราเห็นศพแล้วนะ”

ใช้เพลงตอบโต้

 “เหมือนที่ฝั่งอนุรักษ์นิยมใช้เพลงกล่อมเกลาพวกเราทุกเช้าเย็น ...เราก็จะใช้เพลงตอบโต้พวกเขา” ไตรรงค์ สินสืบผล มือคีย์บอร์ดผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าวงเล่า และอธิบายว่า เพลงของพวกเขาพูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้ด้วยการหยุดที่ ”เพดาน” ของกฎหมาย

“ ...”ไม่รักนะ ไม่รักนะ ไม่รักระวังติดคุกนะ ติดคุกนะ” (ร้องเพลง) ...ไม่รักใคร ติดคุกอะไร สร้างเป็นคีย์เวิร์ด ให้มีคำถาม เราพูดถึงอะไร จะสื่ออะไร”

ตั้งแต่เริ่มมีเพื่อนนักเคลื่อนไหวหายตัวช่วงกลางปี 2559 ไฟเย็นเริ่มผลัดเวรกันเข้านอนเพราะเชื่อว่าพวกเขาจะเป็นเป้าถูกอุ้มฆ่ารายต่อไป 

ไตรรงค์เล่าว่าที่หนีออกมาหลังรัฐประหารคือ ต้องการหาทางตอบโต้กลับให้หนักกว่าเดิม ต้องการชี้ความผิดปกติ ความไม่เท่าเทียม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคม

“ทำไมถึงยึดอำนาจ ใครอยู่เบื้องหลัง ...ทำไมต้องเข้าเฝ้า...  มันคืออะไร”

ก่อนหน้านี้ ไตรรงค์มีอาชีพเป็นโปรดิวเซอร์รับทำเพลงไม่จำกัดแนว ตั้งแต่รัก ๆ ใคร่ ๆ ไปจนถึง “เพลงอวยเจ้า” เขาเล่าว่ามีรายได้ดี จนกระทั่งเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเขาบอกว่ามีทหารไปติดตามที่บ้านและทำให้ตัดสินใจตัดสายสัมพันธ์ครอบครัวตั้งแต่ยังไม่ไปลี้ภัยที่ลาว บอกกับภรรยาและลูก ๆ ว่า “พวกมึงไปเปลี่ยนนามสกุลให้หมด”

ไตรรงค์บอกว่า “ต้องเสียสละ ต้องยอม เรารู้อยู่แล้วว่าต้องเป็นอย่างนี้” ตอนนี้ เขาติดต่อกับลูกเพียงนาน ๆ ครั้งเพื่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบและส่งเงินไปช่วยเหลือเมื่อทำได้ 

ในขณะที่ นิธิวัต นักร้องนำของวงยังเรียนไม่จบคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากถูกแจ้งข้อหามาตรา 112 วรวุฒิ เทือกชัยภูมิ สมาชิกอีกคนหนึ่งของวง เพิ่งเรียนจบวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่ต้องหยุดความฝันที่จะทำงานองค์กรไม่หวังผลกำไรเพื่อสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารจนโดนหมายจับฐานขัดคำสั่งให้ไปรายงานตัวของ คสช. และข้อหามาตรา 112

“เขาไม่คิดว่าสิ่งที่เราทำเป็นเรื่องผิด” วรวุฒิพูดถึงครอบครัวซึ่งเขาบอกว่ายังติดต่อกันอยู่เป็นประจำ และหายห่วงแล้วเมื่อเขาเดินทางไปฝรั่งเศสได้สำเร็จ 

รายได้ส่วนหนึ่งของไฟเย็นมาจากการจัดรายการพูดคุยทางยูทิวบ์ซึ่งเนื้อหาต่างจากเพลงตรงที่เลย “เพดาน” กฎหมายไปไม่น้อย ที่คนไทยฝ่ายหนึ่งมองว่า “หนักแผ่นดิน” เป็นเพราะพวกเขาไม่เพียงต้องการให้ยกเลิกกฎหมาย มาตรา 112 แต่อยากให้ประเทศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองด้วย

สมาชิกวงเริ่มผลัดเวรกันเข้านอนตั้งแต่เริ่มมีเพื่อนนักเคลื่อนไหวหายตัวไป

สมาชิกวงเริ่มผลัดเวรกันเข้านอนตั้งแต่เริ่มมีเพื่อนนักเคลื่อนไหวหายตัวไป

“เรามองเห็นศัตรูของเราหรือเปล่า ถ้าคุณมองไม่เห็น ขอร้องไปก็ป่วยการ” ไตรรงค์ ว่า “อยากจะให้มีจิตสำนึกในความถูกต้อง อะไรที่มันผิดบิดเบี้ยว เราก็ต้องตบให้มันเข้าที่เข้าทาง ขนาดคนไปวัดไปวาแต่งตัวไม่สุภาพคุณยังทักเลย ‘โอ๊ยมึง อย่าใส่กางเกงขาสั้นไปวัดนะ' ทีแบบนี้คุณยังทักกัน ‘เฮ้ยมึงอย่าไปยึดอำนาจนะ มันผิด’ ทำไมคุณไม่ช่วยกันทำ” 

"ต้องมาทำความรู้ความเข้าใจกันเรื่องการเมืองใหม่ ...สร้างจิตสำนึกใหม่ให้คนไทย ให้รับรู้ร่วมกันว่า อำนาจเป็นของประชาชนจริง ๆ ถ้าคุณไม่คิดว่าอำนาจไม่ใช่ของกษัตริย์แล้ว อำนาจก็ไม่ใช่ของกองทัพ อำนาจคือพวกเรา"

เอกสาร “ขอตัว” และชายปริศนา

ไตรรงค์ในวัย 55 ปี เล่าว่ากระบวนการขอลี้ภัยล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้บอกว่าไม่กลัว แต่สมาชิกวงก็แทบไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็นจริง ๆ ไตรรงค์เชื่ออย่างปักใจว่าทางการไทยอยู่เบื้องหลังการหายตัวไปของนักเคลื่อนไหวทั้ง 8 คน

บีบีซีไทยได้เห็นเอกสารที่ไฟเย็นอ้างว่าเป็นเอกสารการขอตัวผู้ลี้ภัยที่ทางการไทยส่งมายังทางการของประเทศเพื่อนบ้าน ที่หัวกระดาษระบุว่า “ลับมาก” และปรากฏรายชื่อสมาชิกวงไฟเย็น รวมถึงบุคคลที่หายตัวไปอย่าง สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ และสยาม ธีรวุฒิ ด้วย

อีกหน้าหนึ่งปรากฏรายชื่อสมาชิกวง พร้อมรูปถ่ายบัตรประชาชน รายละเอียดหมายจับ รวมถึงระบุตำแหน่งบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมพร้อมพิกัดละติจูดและลองจิจูด

รมย์ชลีญ์ เป็นสมาชิกหญิงคนเดียวของวง

รมย์ชลีญ์ เป็นสมาชิกหญิงคนเดียวของวง

นอกจากนี้ บีบีซีไทยยังได้ฟังคลิปเสียงที่ รมย์ชลีญ์ สมบูรณ์รัตนกูล นักร้องหญิงของวง คุยกับชายปริศนาพูดไทยคล่องที่โทรมาไม่กี่วันหลังจากมีข่าวนายสุรชัยและพวกหายตัวไป ชายคนดังกล่าวย้ำว่านายสุรชัยเสียชีวิตแล้วทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีข่าวการพบศพ นอกจากนี้ เขายังสามารถระบุที่อยู่บ้านพวกเขาได้อย่างถูกต้องอีกด้วย นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องย้ายบ้านไม่ต่ำกว่า 7 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

บีบีซีไทยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเอกสารและคลิปเสียงที่ไฟเย็นอ้างเป็นของจริงหรือไม่

 “ตอนแรกกลัวนะ หนี หนี หนี แต่ว่าพอหลังจากนี้เนี่ย หนีไม่ไหวละ อะไรจะเกิดก็เกิด” รมย์ชลีญ์ เล่า

เธอบอกว่าบทสนทนาทางโทรศัพท์ครั้งนั้นทำให้เธอเข้าใจว่านักเคลื่อนไหวที่หายตัวไปล้วนถูกฆาตกรรมแล้วทั้งสิ้น และเป็นฝีมือของคนกลุ่มเดียวกัน

“หลายคนอาจจะไม่เกลียด อาจจะรับรู้แบบคุณเป็นนักข่าว แต่คุณไม่ได้ซึมซับโดยตรง คุณเลยไม่ได้เกลียดแบบที่เราเกลียด เราเกลียด เพื่อนเราตายนะเว้ย เราเห็นศพแล้วนะ”

ยกภูเขาออกจากอก

ไม่ถึงเดือนผ่านไป รมย์ชลีญ์ บอกกับบีบีซีไทยว่าการมาฝรั่งเศสน่าจะเป็นการเดินทางย้ายบ้านครั้งสุดท้าย สมาชิกวงหอบกีต้าร์ ลำโพง ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินเดินทางไปยังหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีส กล่าวคำไว้อาลัยและร้องเพลงเรียกร้องความยุติธรรมให้เพื่อนที่หายไป

“มันเป็นการขึ้นเครื่องบินครั้งแรก ครั้งแรกจริง ๆ นะ ก็ตื่นเต้น แค่หลับแค่วูบเดียวตื่นมานี่ฉันจะอยู่อีกทวีปแล้ว” รมย์ชลีญ์เล่า

“รู้สึกโล่งอกอะ เหมือนยกภูเขา ยกอะไรที่มันทับถม ๆ รวมกันมาในอดีต พอวันที่ย่างก้าวลงสู่สนามบินปารีส รู้สึกว่ามันยกออกไปหมดเลย” 

เมื่อถามไตรรงค์ว่าดีใจและตื่นเต้นแค่ไหนที่มายังฝรั่งเศสสำเร็จ เขาบอกบีบีซีไทยว่า “ผมไม่อยากอธิบาย สำหรับผม เฉย ๆ ออกจากบ้านมา อาลัยอาวรณ์ บ๊ายบาย ดราม่า ไม่มี”

“สิ่งที่เราทิ้งไว้ข้างหลังสำหรับการต่อสู้เนี่ยมันมีมากกว่านั้น เราต้องจากบ้านจากครอบครัวมา ครอบครัวแตกแยก ความรู้สึกว่าจะได้ไปแล้ว จะได้ดีใจแล้ว ไม่มีอะ จากคนที่อยู่ข้างหลังเรามันมีความหมายกว่าเยอะ เพราะฉะนั้นตรงนี้เหมือนด้านชาไปแล้ว ก็แค่ดีใจเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่นั้นเอง เหมือนได้ดูหนังเรื่องหนึ่งที่เราชอบ” ไตรรงค์เล่า

ที่บ้านพักชั่วคราวในกรุงปารีส ไฟเย็นเล่าให้บีบีซีไทยฟังว่า เอกสารใช้เข้าประเทศ เป็นการอนุญาตเข้าประเทศเท่านั้นและจากนี้ต้องเริ่มกระบวนการขอลี้ภัยในฝรั่งเศสตามขั้นตอนอีกที ขณะนี้พวกเขาต้องหาที่อยู่ เริ่มเรียนภาษาและหางานเพื่อปรับตัวเริ่มชีวิตในสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้งผ่านเพลงและการจัดรายการต่อ

เขาก็คน คุณก็คน

รมย์ชลีญ์ในวัย 32 ปี เล่าย้อนไปว่าเพิ่งเริ่มตื่นตัวทางการเมืองหลังรัฐประหารครั้งล่าสุด เธอหันมาเคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก ลงพื้นที่ในละแวกที่เธออาศัยอยู่ บอกเล่าถึงชาวสวนยางในชุมชนใน จ.ตราด ที่รมย์ชลีญ์บอกว่ากำลังเผชิญกับความเดือดร้อน จนถูกส่งข้อความมาข่มขู่พร้อมรูปบัตรประชาชน การเริ่มศึกษาอดีตทำให้เธอเริ่มตั้งคำถามถึงการมีบทบาทและการไม่เข้าไปมีบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในวิกฤตครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย อาทิ เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ

“ประสาทแดกไหม แค่โพสต์เรื่องขัน เผด็จการกล่าวหาว่าไม่มั่นคง” คือท่อนหนึ่งของเพลงขันแดงแสลงใจ ที่รมย์ชลีญ์ร้องนำ เธอร่วมงานกับวงไฟเย็นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2559 ปีเดียวกับที่ คสช.ตั้งข้อหาคดีความมั่นคงกับบุคคลที่โพสต์รูปขันแดงลงในโลกโซเชียล หรือแจกจ่ายขันแดง

เธอบอกบีบีซีไทยว่าตัดสินใจไม่กลับไทยอีกเลยหลังเพลงดังกล่าวทำให้ คสช. “ไม่สบายใจ” และมีข่าวว่าจะถูกเรียกตัวมาสอบสวน

รมย์ชลีญ์เล่าว่า ครอบครัวของเธอมีความคิดอนุรักษ์นิยม รักสถาบันพระมหากษัตริย์ เธอบอกว่าออกจากบ้านมาใช้ชีวิตของตัวเองตั้งแต่อายุ 18 ปี เพราะทนกฎระเบียบจารีตประเพณีในครอบครัวไม่ไหว เธอทำอาชีพหลากหลายตั้งแต่พนักงานโรงงาน การประมง และพนักงานขายมือถือ ทำได้ดีจนพ่อแม่มีแผนจะลงทุนเปิดร้านขายมือถือให้

แต่แล้วเธอก็เริ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง เดินทางไปลาว และเริ่มจัดรายการทางยูทิวบ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เธอเล่าว่ามีทหารมากดดันกับครอบครัวให้เธอหยุดเคลื่อนไหวแต่เธอก็ยังยืนยันทำรายการต่อ นี่ทำให้เธอโดนตัดขาด “ถีบ” ออกจากกลุ่มไลน์ครอบครัว และไม่ได้ติดต่อกันเลยมาจนถึงทุกวันนี้  

แต่รมย์ชลีญ์บอกว่าเธอไม่ได้เสียใจหรือรู้สึกว่าคิดผิดที่เลือกทางนี้ เพียงแต่ “รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่าสิทธิมนุษยชนของคนมันไม่เท่ากัน”

“ตราบใดที่สิทธิมนุษยชนในบ้านเรายังเกรงกลัวต่อกฎหมายบางข้ออยู่ ประชาชนพลเมืองก็จะถูกละเมิดสิทธิ ถูกลิดรอนสิทธิอย่างนี้ต่อไป ...คนเหล่านี้ที่หายไป เขามีคดีมาตรา 112 มีติดป้ายโลโก้ว่าไอ้พวกล้มเจ้า เวลาเขาตายไปคุณถึงไม่กล้าเรียกร้องหาเขา คนที่เขามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบ เขาก็คน คุณก็คน”

เมื่อถามว่ารู้หรือไม่ว่าสิ่งที่วงกำลังแสดงออกและเรียกร้องขัดต่อกฎหมายประเทศไทย รมย์ชลีญ์ตอบทันทีว่า “แล้วถ้ากฎหมายมันไม่ยุติธรรมอะ เราไม่ต้องแก้เหรอ”

“[จะ]อยู่กับกฎหมายที่มันเฮงกระบ๊วย เฮงซวยอย่างนี้ไปเหรอ คุณก็เห็นอยู่แล้วว่ามาตรา 112 มันถูกใช้เป็นเครื่องมือมากกว่าคนที่กระทำความผิดจริง ๆ ใช่ไหม แล้วเราจะอยู่กับกฎหมายที่มันไม่ยุติธรรมเหรอ”

แต่สิทธิมนุษยชนมีค่าแค่ไหนกัน เธอคิดอย่างไรกับฝ่ายที่บอกว่า “สมควรแล้ว ก็คุณทำตัวเอง” 

“อนาคตอาจจะเป็นลูกหลานคุณก็ได้ที่ออกมาลุกขึ้นสู้เรื่องสิทธิ ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยแล้วจะโดนยิงเหมือนพี่น้องเสื้อแดง ถูกกระทำเหมือนนักศึกษาในยุค 6 ตุลาฯ อีกครั้งก็ได้ คุณจะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปตลอด จะอ้างว่านี่มันประเทศไทยแล้วไม่แก้กัน จะอยู่กันไปแบบเนี้ยเหรอ”

รมย์ชลีญ์ ย้ำว่าสิ่งที่เธอได้ทำลงไปถือว่าคุ้มแล้ว ไม่เคยเอาการต่อสู้มาวัดมูลค่า “อยู่ที่ว่าเราทำแล้วหรือยัง”

ยกภูเขาออกจากอก

ไม่ถึงเดือนผ่านไป รมย์ชลีญ์ บอกกับบีบีซีไทยว่าการมาฝรั่งเศสน่าจะเป็นการเดินทางย้ายบ้านครั้งสุดท้าย สมาชิกวงหอบกีต้าร์ ลำโพง ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินเดินทางไปยังหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีส กล่าวคำไว้อาลัยและร้องเพลงเรียกร้องความยุติธรรมให้เพื่อนที่หายไป

“มันเป็นการขึ้นเครื่องบินครั้งแรก ครั้งแรกจริง ๆ นะ ก็ตื่นเต้น แค่หลับแค่วูบเดียวตื่นมานี่ฉันจะอยู่อีกทวีปแล้ว” รมย์ชลีญ์เล่า

“รู้สึกโล่งอกอะ เหมือนยกภูเขา ยกอะไรที่มันทับถม ๆ รวมกันมาในอดีต พอวันที่ย่างก้าวลงสู่สนามบินปารีส รู้สึกว่ามันยกออกไปหมดเลย” 

เมื่อถามไตรรงค์ว่าดีใจและตื่นเต้นแค่ไหนที่มายังฝรั่งเศสสำเร็จ เขาบอกบีบีซีไทยว่า “ผมไม่อยากอธิบาย สำหรับผม เฉย ๆ ออกจากบ้านมา อาลัยอาวรณ์ บ๊ายบาย ดราม่า ไม่มี”

“สิ่งที่เราทิ้งไว้ข้างหลังสำหรับการต่อสู้เนี่ยมันมีมากกว่านั้น เราต้องจากบ้านจากครอบครัวมา ครอบครัวแตกแยก ความรู้สึกว่าจะได้ไปแล้ว จะได้ดีใจแล้ว ไม่มีอะ จากคนที่อยู่ข้างหลังเรามันมีความหมายกว่าเยอะ เพราะฉะนั้นตรงนี้เหมือนด้านชาไปแล้ว ก็แค่ดีใจเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่นั้นเอง เหมือนได้ดูหนังเรื่องหนึ่งที่เราชอบ” ไตรรงค์เล่า

ที่บ้านพักชั่วคราวในกรุงปารีส ไฟเย็นเล่าให้บีบีซีไทยฟังว่า เอกสารใช้เข้าประเทศ เป็นการอนุญาตเข้าประเทศเท่านั้นและจากนี้ต้องเริ่มกระบวนการขอลี้ภัยในฝรั่งเศสตามขั้นตอนอีกที ขณะนี้พวกเขาต้องหาที่อยู่ เริ่มเรียนภาษาและหางานเพื่อปรับตัวเริ่มชีวิตในสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้งผ่านเพลงและการจัดรายการต่อ

เขาก็คน คุณก็คน

รมย์ชลีญ์ในวัย 32 ปี เล่าย้อนไปว่าเพิ่งเริ่มตื่นตัวทางการเมืองหลังรัฐประหารครั้งล่าสุด เธอหันมาเคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก ลงพื้นที่ในละแวกที่เธออาศัยอยู่ บอกเล่าถึงชาวสวนยางในชุมชนใน จ.ตราด ที่รมย์ชลีญ์บอกว่ากำลังเผชิญกับความเดือดร้อน จนถูกส่งข้อความมาข่มขู่พร้อมรูปบัตรประชาชน การเริ่มศึกษาอดีตทำให้เธอเริ่มตั้งคำถามถึงการมีบทบาทและการไม่เข้าไปมีบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในวิกฤตครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย อาทิ เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ

“ประสาทแดกไหม แค่โพสต์เรื่องขัน เผด็จการกล่าวหาว่าไม่มั่นคง” คือท่อนหนึ่งของเพลงขันแดงแสลงใจ ที่รมย์ชลีญ์ร้องนำ เธอร่วมงานกับวงไฟเย็นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2559 ปีเดียวกับที่ คสช.ตั้งข้อหาคดีความมั่นคงกับบุคคลที่โพสต์รูปขันแดงลงในโลกโซเชียล หรือแจกจ่ายขันแดง

เธอบอกบีบีซีไทยว่าตัดสินใจไม่กลับไทยอีกเลยหลังเพลงดังกล่าวทำให้ คสช. “ไม่สบายใจ” และมีข่าวว่าจะถูกเรียกตัวมาสอบสวน

รมย์ชลีญ์เล่าว่า ครอบครัวของเธอมีความคิดอนุรักษ์นิยม รักสถาบันพระมหากษัตริย์ เธอบอกว่าออกจากบ้านมาใช้ชีวิตของตัวเองตั้งแต่อายุ 18 ปี เพราะทนกฎระเบียบจารีตประเพณีในครอบครัวไม่ไหว เธอทำอาชีพหลากหลายตั้งแต่พนักงานโรงงาน การประมง และพนักงานขายมือถือ ทำได้ดีจนพ่อแม่มีแผนจะลงทุนเปิดร้านขายมือถือให้

แต่แล้วเธอก็เริ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง เดินทางไปลาว และเริ่มจัดรายการทางยูทิวบ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เธอเล่าว่ามีทหารมากดดันกับครอบครัวให้เธอหยุดเคลื่อนไหวแต่เธอก็ยังยืนยันทำรายการต่อ นี่ทำให้เธอโดนตัดขาด “ถีบ” ออกจากกลุ่มไลน์ครอบครัว และไม่ได้ติดต่อกันเลยมาจนถึงทุกวันนี้  

แต่รมย์ชลีญ์บอกว่าเธอไม่ได้เสียใจหรือรู้สึกว่าคิดผิดที่เลือกทางนี้ เพียงแต่ “รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่าสิทธิมนุษยชนของคนมันไม่เท่ากัน”

“ตราบใดที่สิทธิมนุษยชนในบ้านเรายังเกรงกลัวต่อกฎหมายบางข้ออยู่ ประชาชนพลเมืองก็จะถูกละเมิดสิทธิ ถูกลิดรอนสิทธิอย่างนี้ต่อไป ...คนเหล่านี้ที่หายไป เขามีคดีมาตรา 112 มีติดป้ายโลโก้ว่าไอ้พวกล้มเจ้า เวลาเขาตายไปคุณถึงไม่กล้าเรียกร้องหาเขา คนที่เขามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบ เขาก็คน คุณก็คน”

เมื่อถามว่ารู้หรือไม่ว่าสิ่งที่วงกำลังแสดงออกและเรียกร้องขัดต่อกฎหมายประเทศไทย รมย์ชลีญ์ตอบทันทีว่า “แล้วถ้ากฎหมายมันไม่ยุติธรรมอะ เราไม่ต้องแก้เหรอ”

“[จะ]อยู่กับกฎหมายที่มันเฮงกระบ๊วย เฮงซวยอย่างนี้ไปเหรอ คุณก็เห็นอยู่แล้วว่ามาตรา 112 มันถูกใช้เป็นเครื่องมือมากกว่าคนที่กระทำความผิดจริง ๆ ใช่ไหม แล้วเราจะอยู่กับกฎหมายที่มันไม่ยุติธรรมเหรอ”

แต่สิทธิมนุษยชนมีค่าแค่ไหนกัน เธอคิดอย่างไรกับฝ่ายที่บอกว่า “สมควรแล้ว ก็คุณทำตัวเอง” 

“อนาคตอาจจะเป็นลูกหลานคุณก็ได้ที่ออกมาลุกขึ้นสู้เรื่องสิทธิ ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยแล้วจะโดนยิงเหมือนพี่น้องเสื้อแดง ถูกกระทำเหมือนนักศึกษาในยุค 6 ตุลาฯ อีกครั้งก็ได้ คุณจะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปตลอด จะอ้างว่านี่มันประเทศไทยแล้วไม่แก้กัน จะอยู่กันไปแบบเนี้ยเหรอ”

รมย์ชลีญ์ ย้ำว่าสิ่งที่เธอได้ทำลงไปถือว่าคุ้มแล้ว ไม่เคยเอาการต่อสู้มาวัดมูลค่า “อยู่ที่ว่าเราทำแล้วหรือยัง”

แม่ผู้เฝ้ารอ




“แม่รักและห่วงสยามนะ หนูอยู่ไหน ปลอดภัยดีรึเปล่าลูก” นี่คือคำถามจาก กัญญา ธีรวุฒิ หญิงวัย 63 ปี ไม่กี่เดือนหลังมีรายงานข่าวว่าลูกชายเธอ พร้อม ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ และ กฤษณะ ทัพไทย ถูกจับกุมที่เวียดนามและส่งตัวกลับไทยเมื่อต้นเดือน พ.ค. แต่ไม่มีใครพบตัวอีกเลย

ในขณะที่ไฟเย็นเดินทางเข้าประเทศที่รับรองเสรีภาพพลเมืองมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่งได้สำเร็จ การหายตัวปริศนาของนักเคลื่อนไหว 3 คนนี้ ซึ่งวงรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีสมัยอยู่ลาวด้วยกัน คือชะตากรรมผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีการให้สถานะคุ้มครองให้อย่างเป็นทางการ

หลายเดือนผ่านไป ไม่มีทีท่าว่ากัญญาจะได้รับคำตอบ

บ้านห้องแถวของเธอคงจะดูเรียบง่ายปกติหากไม่มีกล้องวงจรปิด 3 ตัว จับภาพหน้าบ้านและซอยเข้าบ้านตามคำแนะนำของทนาย หลังจาก “สันติบาล” เป็นแขกที่มาเยี่ยมเยียนนับครั้งไม่ถ้วนในช่วงหลายปี บางครั้งก็โผล่ถึงครัว และถามเธอว่า “แกงอะไรครับวันนี้”

เธอเล่าว่า ตำรวจนอกเครื่องแบบไม่ได้เพิ่งเริ่มขับรถตาม-เฝ้าที่บ้านที่ทำงาน หลังเธอเดินสายยื่นหนังสือเรื่องลูกชายตามหน่วยงานต่าง ๆ แต่เป็นเช่นนี้มาหลายปีตั้งแต่ลูกมีหมายจับความผิดมาตรา 112 จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่อง “เจ้าสาวหมาป่า” และลี้ภัยไปอยู่ลาว

น้องสาวของสยามบอกกับบีบีซีไทยว่า ได้รับรูปจากสยามที่แสดงว่าเขาอยู่เวียดนามจริงเมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนขาดการติดต่อไปเมื่อปลายเดือน ม.ค. หลักฐานเดียวที่ครอบครัวมีคือรูปสยามบนพาสปอร์ตปลอมที่เผยแพร่ผ่านทางยูทิวบ์โดย ดร.เพียงดิน รักไทย ประธานภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งอ้างแหล่งข่าวว่านักเคลื่อนไหวทั้ง 3 คนถูกทางการเวียดนามส่งตัวกลับไทยเมื่อวันที่ 8 พ.ค.

อย่างไรก็ตาม ตำรวจไทยปฏิเสธข่าวดังกล่าว ย้ำว่าไม่มีข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแต่อย่างใด และกระทรวงต่างประเทศเวียดนามก็บอกบีบีซีไทยว่า “เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้”

กระนั้นก็ตาม กัญญา “ปักธงเลยนะ” ว่าเป็นฝีมือรัฐ

“ถ้าไม่ใช่ ทำไมตำรวจสันติบาลไม่มาตามหากับแม่อีกล่ะ เงียบไปเหมือนตัวเองทำผิดอะ แม่ถึงปักใจเชื่อว่าเขาต้องรู้ ...ตั้งแต่ 61 กลางปี เลิกตาม เขาคงจะรู้ชัดแล้วว่า คุณสยามอยู่ที่ไหน”

"ไม่จำเป็นต้องตอบ"

บีบีซีไทยสอบถามไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าจริงหรือไม่ที่ตำรวจทราบว่าสยามอยู่ที่ไหน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า “ผมคงไม่ไปตอบว่ารู้หรือไม่รู้ เพราะว่ามันไม่จำเป็นต้องตอบ เพราะหลายคดีมันไม่ต้องตอบว่ารู้หรือไม่รู้ มันเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่เขา”

ส่วนเรื่องที่กัญญาบอกว่าตำรวจหยุดติดตามเพราะรู้ว่าลูกชายเธออยู่ไหนแล้ว พ.ต.อ.กฤษณะ บอกว่า “ผมก็ตอบไม่ได้นะครับว่าจะตามหรือไม่ตาม ...มันเป็นเรื่องการสืบสวนอะนะครับ ...เราคงไม่ไปตอบทุกขั้นตอน”

ก่อนหน้านี้ กัญญาเคยขอร้องให้สยาม ซึ่งเป็นนักกิจกรรมกลุ่มประกายไฟที่เคลื่อนไหวทั้งประเด็นการเมืองและสังคม เข้ามอบตัว แต่ถ้าย้อนเวลาไปได้ก็ไม่คิดจะเปลี่ยนความคิดหรือเส้นทางชีวิตลูก

“สิทธิส่วนบุคคลนี่มันยิ่งใหญ่เหมือนกันนะ ไม่ใช่ไม่ยิ่งใหญ่นะลูก ...ความคิดที่เขาเรียนมา เราก็ไม่รู้ถึง แม่ [จบแค่] ป.4” กัญญาบอกกับบีบีซีไทยพร้อมกับเปิดหารูปคู่จากอัลบั้มวันรับปริญญาลูกที่เธอชอบที่สุด

“[แต่]ตอนเขาหายไป อันนี้แล้วแต่เขาไม่ได้ละ นายคนนี้ลูกแม่ สาเหตุที่เล่นละครแล้วโดนจับแบบนี้ ถึงกับอุ้มฆ่า อันนี้ไม่ถูกต้อง”

ก่อนหน้านี้ กัญญาได้ตระเวนยื่นหนังสือตามหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กองบังคับการปราบปราม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สถานทูตเวียดนาม กระทรวงการต่างประเทศ และสหประชาชาติ แต่ก็ยังไม่เป็นผล ล่าสุดเธอก็ได้ยื่นเรื่องกับคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กรณีถูกกระทำทรมานและการบังคับให้สูญหาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า คณะกรรมการอุ้มหาย แต่ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า

ดูเหมือนความหวังที่จะได้เจอลูกชายอีกครั้งดูริบหรี่ลงเรื่อย ๆ อะไรทำให้เธอยังเข้มแข็งอยู่

“ถ้าหากว่าแม่ไม่เข้มแข็งแล้วใครจะมาเดินเรื่องให้ ...แม่บอกกับตัวเองไว้ว่า เราจะไม่สติแตก เรารักลูกเราก็จริงอยู่ เราจะไม่เสียสติในงานนี้เป็นเด็ดขาด เพราะว่าเราจะต้อง หาข้อมูลไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เจอจุดว่า มันคืออะไร แล้วเขาไปไหน”

“แม่ไปดูพระอะนะ (หัวเราะ) เล่นไสยศาสตร์ ว่าลูกแม่เป็นไงบ้าง ไม่ตายนะ ไม่ติดคุกนะ ยังอยู่นะ แม่ก็มีความหวังร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าจริงอย่างที่เขาทำนาย ไปดูกี่ที่ ๆ ก็เหมือนกัน”

สุรชัยอยู่ไหน

สุรชัยอยู่ไหน หรือถ้าจะพูดให้ตรงกับที่หลายคนปักใจเชื่อคือ ศพของสุรชัยอยู่ไหน

วันที่ 12 ธ.ค. 2561 สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ สุรชัย แซ่ด่าน พร้อมพรรคพวก 2 คน ได้แก่ ไกรเดช ลือเลิศ และชัชชาญ บุปผาวัลย์ หายตัวไปจากบ้านพักในลาว

ผ่านไปครึ่งเดือน เป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรจากบ้านพัก สองคนหลังกลายเป็นศพโผล่ขึ้นริมแม่น้ำโขงฝั่ง จ.นครพนม วันที่ 27 ธ.ค. ที่ ต.ธาตุพนม และวันที่ 29 ธ.ค. ที่ ต.อาจสามารถ และมีการพิสูจน์ดีเอ็นเอแล้วว่าเป็น ชัชชาญ และ ไกรเดช

กลุ่มแดงสยาม ซึ่งนำโดยสุรชัย มีความคิดปฏิวัติประชาธิปไตยทุนนิยมเสรี ต้องการเปลี่ยนให้ไทยเป็นสาธารณรัฐในที่สุด ลักษณะศพผู้ตายทั้ง 2 รายที่มีการใส่กุญแจมือ คอถูกรัด ท้องถูกคว้านแล้วยัดด้วยเสาปูนยาวหนึ่งเมตร ดูเหมือนจะเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนและน่าขนลุกที่สุดของ “ราคาที่ต้องจ่าย” ของนักเคลื่อนไหวที่นำเสนอแนวคิดต้องห้าม 

ล่าสุด ตำรวจในพื้นที่ระบุว่า หลังจากสอบปากคำญาติผู้ตายแล้วเชื่อว่าทั้งสองน่าจะถูกฆ่าในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าจะพิจารณารับสอบสวนต่อหรือไม่

ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่ามีการพบศพที่สามในวันที่ 26 ธ.ค. ที่ ต.ท่าจำปา ซึ่งภรรยาของสุรชัยเชื่อว่าน่าจะเป็นศพของสามี อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา นายกฤษดา บุญระมี ผู้ใหญ่บ้านท่าจำปา หมู่ 1 และตำรวจ ปฏิเสธข่าวดังกล่าว

เขาระบุว่า ที่จริงแล้ว ชาวบ้านพบศพดังกล่าวช่วงเย็นวันที่ 28 ธ.ค. และหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงได้นำเรือไปลากศพเข้าฝั่งมาไว้ที่ทางขึ้นตลิ่งท้ายหมู่บ้าน ต่อมาศพดังกล่าวได้หลุดลอยออกไปนอกชายฝั่ง กินเนื้อที่เข้าไปในเขตของประเทศเพื่อนบ้าน จึงไม่สามารถจะนำกลับมาฝั่งไทยได้ และศพได้ไปเกยตื้นอยู่ที่ ต.อาจสามารถ ในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 29 ธ.ค. ซึ่งคือศพเดียวกับศพที่สองที่ปรากฏตามข่าว

อย่างไรก็ดี ระยะทางจาก ต.ท่าจำปา ที่ห่างจาก ต.อาจสามารถ ถึงราว 30 กม. ก็ทำให้หลายฝ่ายแคลงใจในคำให้การของผู้ใหญ่บ้าน โดยตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงนั้นเป็นช่วงที่น้ำลงมาก ประกอบกับเส้นทางน้ำซึ่งมีหาดทรายกลางน้ำและแก่งหิน ไม่น่าเชื่อว่าศพจะลอยไปถึง ต.อาจสามารถโดยใช้เวลาเพียงคืนเดียว และไม่น่าจะใช่ศพเดียวกันอย่างที่ผู้ใหญ่บ้านอ้าง 

แหล่งข่าวในพื้นที่ยังได้บอกบีบีซีไทยอีกด้วยว่า ในวันที่พบศพที่ ต.ท่าจำปา ตำรวจตระเวนชายแดนและทหารพรานเข้าปิดล้อมพื้นที่ทั้งคืนโดยไม่ให้ใครเข้าไปใกล้บริเวณนั้น  

นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยานายสุรชัย ได้เดินสายยื่นเรื่องกับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่สามีหายตัวไป ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ, ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และ คณะกรรมการอุ้มหาย แต่ก็ยังไม่คืบหน้า

"เราเป็นเหยื่อ"

ย้อนไปเมื่อต้นเดือน ก.ค. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชื่อดัง อ้างว่าโดนคนร้ายในชุดดำบุกทำร้ายในที่พักในนครเกียวโต โดนสเปรย์เจ็บแสบตามผิวหนังก่อนผู้ก่อเหตุจะหนีไปได้ สร้างความวิตกกังวลให้ผู้ลี้ภัยในหลายประเทศเนื่องจากมองกันว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

แม้ว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกมาปฏิเสธ แต่นักวิชาการปากกล้าผู้นี้เชื่อว่าทางการไทยอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ เมื่อถามถึงหลักฐาน เขาบอกว่าไม่มีทางที่จะมีอะไรมัดตัวรัฐไทยได้ และตอบย้อนกลับมาว่าเป็นนักข่าวเองที่ควรจะทำหน้าที่ให้ดีกว่านี้ ไม่ใช่รอให้คนที่เป็นเหยื่อจัดหามาให้

“นี่ผมไม่ได้ว่าคุณนะ แค่จะบอกว่าเราเป็นเหยื่อ เราถูกเหยียบจนพอแล้วนะ แล้วถูกท้าทายว่าไม่มีหลักฐาน ทำไมนักข่าวไม่ทำงานหนักกว่านี้ พูดกันอยู่ได้ เอาหลักฐานจากไหน”

ปวินยกตัวอย่างเปรียบเทียบการสังหารนายจามาล คาชูจกิ นักข่าวชื่อดังผู้วิจารณ์รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ที่เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย ก็ไม่ยอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง  “ก็ไม่รับ ทำไงอะ ก็ทำอะไรไม่ได้”

“โอกาสมันเป็นไปได้มากที่จะเป็นฝีมือของคนพวกนี้เพราะเราดูแนวโน้มที่มีมาตลอด ตั้งแต่ดีเจซุนโฮ โกตี๋ สามคน [ที่หายไปจากลาว] สามคนที่เวียดนาม จะเอาหลักฐานอะไรเพิ่มอีก แค่นี้ยังไม่พออีกเหรอ” ปวินกล่าว

“ถ้าผมเป็นกรณีเดี่ยว ๆ ถูกกระทืบเมื่อวาน แล้วผมกรี๊ด ๆ ผมเชื่อว่าคนก็คงว่าทหารทำ แต่มันคงอ้างลำบาก เพราะมันเป็นกรณีแรก แต่นี่มันเกิดขึ้นมาไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่อะ”

สยามมีหมายจับความผิดมาตรา 112 จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า

สยามมีหมายจับความผิดมาตรา 112 จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า

สุรชัย หายตัวไปจากบ้านพักที่ลาวเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. พร้อม ไกรเดช และ ชัชชาญ

สุรชัย หายตัวไปจากบ้านพักที่ลาวเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. พร้อม ไกรเดช และ ชัชชาญ

ทางการอ้างว่าศพที่พบที่ ต.ท่าจำปา (ในรูป) คือศพเดียวกับไปเกยฝั่งที่ ต.อาจสามารถ

ทางการอ้างว่าศพที่พบที่ ต.ท่าจำปา (ในรูป) คือศพเดียวกับไปเกยฝั่งที่ ต.อาจสามารถ

“แม่รักและห่วงสยามนะ หนูอยู่ไหน ปลอดภัยดีรึเปล่าลูก” นี่คือคำถามจาก กัญญา ธีรวุฒิ หญิงวัย 63 ปี ไม่กี่เดือนหลังมีรายงานข่าวว่าลูกชายเธอ พร้อม ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ และ กฤษณะ ทัพไทย ถูกจับกุมที่เวียดนามและส่งตัวกลับไทยเมื่อต้นเดือน พ.ค. แต่ไม่มีใครพบตัวอีกเลย

ในขณะที่ไฟเย็นเดินทางเข้าประเทศที่รับรองเสรีภาพพลเมืองมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่งได้สำเร็จ การหายตัวปริศนาของนักเคลื่อนไหว 3 คนนี้ ซึ่งวงรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีสมัยอยู่ลาวด้วยกัน คือชะตากรรมผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีการให้สถานะคุ้มครองให้อย่างเป็นทางการ

หลายเดือนผ่านไป ไม่มีทีท่าว่ากัญญาจะได้รับคำตอบ

บ้านห้องแถวของเธอคงจะดูเรียบง่ายปกติหากไม่มีกล้องวงจรปิด 3 ตัว จับภาพหน้าบ้านและซอยเข้าบ้านตามคำแนะนำของทนาย หลังจาก “สันติบาล” เป็นแขกที่มาเยี่ยมเยียนนับครั้งไม่ถ้วนในช่วงหลายปี บางครั้งก็โผล่ถึงครัว และถามเธอว่า “แกงอะไรครับวันนี้”

เธอเล่าว่า ตำรวจนอกเครื่องแบบไม่ได้เพิ่งเริ่มขับรถตาม-เฝ้าที่บ้านที่ทำงาน หลังเธอเดินสายยื่นหนังสือเรื่องลูกชายตามหน่วยงานต่าง ๆ แต่เป็นเช่นนี้มาหลายปีตั้งแต่ลูกมีหมายจับความผิดมาตรา 112 จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่อง “เจ้าสาวหมาป่า” และลี้ภัยไปอยู่ลาว

น้องสาวของสยามบอกกับบีบีซีไทยว่า ได้รับรูปจากสยามที่แสดงว่าเขาอยู่เวียดนามจริงเมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนขาดการติดต่อไปเมื่อปลายเดือน ม.ค. หลักฐานเดียวที่ครอบครัวมีคือรูปสยามบนพาสปอร์ตปลอมที่เผยแพร่ผ่านทางยูทิวบ์โดย ดร.เพียงดิน รักไทย ประธานภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งอ้างแหล่งข่าวว่านักเคลื่อนไหวทั้ง 3 คนถูกทางการเวียดนามส่งตัวกลับไทยเมื่อวันที่ 8 พ.ค.

อย่างไรก็ตาม ตำรวจไทยปฏิเสธข่าวดังกล่าว ย้ำว่าไม่มีข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแต่อย่างใด และกระทรวงต่างประเทศเวียดนามก็บอกบีบีซีไทยว่า “เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้”

กระนั้นก็ตาม กัญญา “ปักธงเลยนะ” ว่าเป็นฝีมือรัฐ

“ถ้าไม่ใช่ ทำไมตำรวจสันติบาลไม่มาตามหากับแม่อีกล่ะ เงียบไปเหมือนตัวเองทำผิดอะ แม่ถึงปักใจเชื่อว่าเขาต้องรู้ ...ตั้งแต่ 61 กลางปี เลิกตาม เขาคงจะรู้ชัดแล้วว่า คุณสยามอยู่ที่ไหน”

"ไม่จำเป็นต้องตอบ"

บีบีซีไทยสอบถามไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าจริงหรือไม่ที่ตำรวจทราบว่าสยามอยู่ที่ไหน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า “ผมคงไม่ไปตอบว่ารู้หรือไม่รู้ เพราะว่ามันไม่จำเป็นต้องตอบ เพราะหลายคดีมันไม่ต้องตอบว่ารู้หรือไม่รู้ มันเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่เขา”

ส่วนเรื่องที่กัญญาบอกว่าตำรวจหยุดติดตามเพราะรู้ว่าลูกชายเธออยู่ไหนแล้ว พ.ต.อ.กฤษณะ บอกว่า “ผมก็ตอบไม่ได้นะครับว่าจะตามหรือไม่ตาม ...มันเป็นเรื่องการสืบสวนอะนะครับ ...เราคงไม่ไปตอบทุกขั้นตอน”

ก่อนหน้านี้ กัญญาเคยขอร้องให้สยาม ซึ่งเป็นนักกิจกรรมกลุ่มประกายไฟที่เคลื่อนไหวทั้งประเด็นการเมืองและสังคม เข้ามอบตัว แต่ถ้าย้อนเวลาไปได้ก็ไม่คิดจะเปลี่ยนความคิดหรือเส้นทางชีวิตลูก

“สิทธิส่วนบุคคลนี่มันยิ่งใหญ่เหมือนกันนะ ไม่ใช่ไม่ยิ่งใหญ่นะลูก ...ความคิดที่เขาเรียนมา เราก็ไม่รู้ถึง แม่ [จบแค่] ป.4” กัญญาบอกกับบีบีซีไทยพร้อมกับเปิดหารูปคู่จากอัลบั้มวันรับปริญญาลูกที่เธอชอบที่สุด

“[แต่]ตอนเขาหายไป อันนี้แล้วแต่เขาไม่ได้ละ นายคนนี้ลูกแม่ สาเหตุที่เล่นละครแล้วโดนจับแบบนี้ ถึงกับอุ้มฆ่า อันนี้ไม่ถูกต้อง”

ก่อนหน้านี้ กัญญาได้ตระเวนยื่นหนังสือตามหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กองบังคับการปราบปราม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สถานทูตเวียดนาม กระทรวงการต่างประเทศ และสหประชาชาติ แต่ก็ยังไม่เป็นผล ล่าสุดเธอก็ได้ยื่นเรื่องกับคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กรณีถูกกระทำทรมานและการบังคับให้สูญหาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า คณะกรรมการอุ้มหาย แต่ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า

ดูเหมือนความหวังที่จะได้เจอลูกชายอีกครั้งดูริบหรี่ลงเรื่อย ๆ อะไรทำให้เธอยังเข้มแข็งอยู่

“ถ้าหากว่าแม่ไม่เข้มแข็งแล้วใครจะมาเดินเรื่องให้ ...แม่บอกกับตัวเองไว้ว่า เราจะไม่สติแตก เรารักลูกเราก็จริงอยู่ เราจะไม่เสียสติในงานนี้เป็นเด็ดขาด เพราะว่าเราจะต้อง หาข้อมูลไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เจอจุดว่า มันคืออะไร แล้วเขาไปไหน”

“แม่ไปดูพระอะนะ (หัวเราะ) เล่นไสยศาสตร์ ว่าลูกแม่เป็นไงบ้าง ไม่ตายนะ ไม่ติดคุกนะ ยังอยู่นะ แม่ก็มีความหวังร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าจริงอย่างที่เขาทำนาย ไปดูกี่ที่ ๆ ก็เหมือนกัน”

สยามมีหมายจับความผิดมาตรา 112 จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า

สยามมีหมายจับความผิดมาตรา 112 จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า

“สิทธิส่วนบุคคลนี่มันยิ่งใหญ่เหมือนกันนะ ไม่ใช่ไม่ยิ่งใหญ่นะลูก ...ความคิดที่เขาเรียนมา เราก็ไม่รู้ถึง แม่ ป.4” กัญญาบอกกับบีบีซีไทยพร้อมกับเปิดหารูปคู่จากอัลบั้มวันรับปริญญาลูกที่เธอชอบที่สุด 

“[แต่]ตอนเขาหายไป อันนี้แล้วแต่เขาไม่ได้ละ นายคนนี้ลูกแม่ สาเหตุที่เล่นละครแล้วโดนจับแบบนี้ ถึงกับอุ้มฆ่า อันนี้ไม่ถูกต้อง” 

ดูเหมือนความหวังที่จะได้เจอลูกชายอีกครั้งดูริบหรี่ลงเรื่อย ๆ อะไรทำให้เธอยังเข้มแข็งอยู่? 

“ถ้าหากว่าแม่ไม่เข้มแข็งแล้วใครจะมาเดินเรื่องให้ ...แม่บอกกับตัวเองไว้ว่า เราจะไม่สติแตก เรารักลูกเราก็จริงอยู่ เราจะไม่เสียสติในงานนี้เป็นเด็ดขาด เพราะว่าเราจะต้อง หาข้อมูลไปเรื่อยๆ เพื่อให้เจอจุดว่า มันคืออะไร แล้วเขาไปไหน” 

“แม่ไปดูพระอะนะ (หัวเราะ) เล่นไสยศาสตร์ ว่าลูกแม่เป็นไงบ้าง ไม่ตายนะ ไม่ติดคุกนะ ยังอยู่นะ แม่ก็มีความหวังร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าจริงอย่างที่เขาทำนาย ไปดูกี่ที่ ๆ ก็เหมือนกัน” 

สุรชัยอยู่ไหน

สุรชัยอยู่ไหน หรือถ้าจะพูดให้ตรงกับที่หลายคนปักใจเชื่อคือ ศพของสุรชัยอยู่ไหน

วันที่ 12 ธ.ค. 2561 สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ สุรชัย แซ่ด่าน พร้อมพรรคพวก 2 คน ได้แก่ ไกรเดช ลือเลิศ และชัชชาญ บุปผาวัลย์ หายตัวไปจากบ้านพักในลาว

ผ่านไปครึ่งเดือน เป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรจากบ้านพัก สองคนหลังกลายเป็นศพโผล่ขึ้นริมแม่น้ำโขงฝั่ง จ.นครพนม วันที่ 27 ธ.ค. ที่ ต.ธาตุพนม และวันที่ 29 ธ.ค. ที่ ต.อาจสามารถ และมีการพิสูจน์ดีเอ็นเอแล้วว่าเป็น ชัชชาญ และ ไกรเดช

สุรชัย หายตัวไปจากบ้านพักที่ลาวเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. พร้อม ไกรเดช และชัชชาญ

สุรชัย หายตัวไปจากบ้านพักที่ลาวเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. พร้อม ไกรเดช และชัชชาญ

กลุ่มแดงสยาม ซึ่งนำโดยสุรชัย มีความคิดปฏิวัติประชาธิปไตยทุนนิยมเสรี ต้องการเปลี่ยนให้ไทยเป็นสาธารณรัฐในที่สุด ลักษณะศพผู้ตายทั้ง 2 รายที่มีการใส่กุญแจมือ คอถูกรัด ท้องถูกคว้านแล้วยัดด้วยเสาปูนยาวหนึ่งเมตร ดูเหมือนจะเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนและน่าขนลุกที่สุดของ “ราคาที่ต้องจ่าย” ของนักเคลื่อนไหวที่นำเสนอแนวคิดต้องห้าม 

ล่าสุด ตำรวจในพื้นที่ระบุว่า หลังจากสอบปากคำญาติผู้ตายแล้วเชื่อว่าทั้งสองน่าจะถูกฆ่าในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าจะพิจารณารับสอบสวนต่อหรือไม่

ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่ามีการพบศพที่สามในวันที่ 26 ธ.ค. ที่ ต.ท่าจำปา ซึ่งภรรยาของสุรชัยเชื่อว่าน่าจะเป็นศพของสามี อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา นายกฤษดา บุญระมี ผู้ใหญ่บ้านท่าจำปา หมู่ 1 และตำรวจ ปฏิเสธข่าวดังกล่าว

เขาระบุว่า ที่จริงแล้ว ชาวบ้านพบศพดังกล่าวช่วงเย็นวันที่ 28 ธ.ค. และหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงได้นำเรือไปลากศพเข้าฝั่งมาไว้ที่ทางขึ้นตลิ่งท้ายหมู่บ้าน ต่อมาศพดังกล่าวได้หลุดลอยออกไปนอกชายฝั่ง กินเนื้อที่เข้าไปในเขตของประเทศเพื่อนบ้าน จึงไม่สามารถจะนำกลับมาฝั่งไทยได้ และศพได้ไปเกยตื้นอยู่ที่ ต.อาจสามารถ ในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 29 ธ.ค. ซึ่งคือศพเดียวกับศพที่สองที่ปรากฏตามข่าว

ทางการอ้างว่าศพที่พบที่ ต.ท่าจำปา (ในรูป) คือศพเดียวกับไปเกยฝั่งที่ ต.อาจสามารถ

ทางการอ้างว่าศพที่พบที่ ต.ท่าจำปา (ในรูป) คือศพเดียวกับไปเกยฝั่งที่ ต.อาจสามารถ

อย่างไรก็ดี ระยะทางจาก ต.ท่าจำปา ที่ห่างจาก ต.อาจสามารถ ถึงราว 30 กม. ก็ทำให้หลายฝ่ายแคลงใจในคำให้การของผู้ใหญ่บ้าน โดยตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงนั้นเป็นช่วงที่น้ำลงมาก ประกอบกับเส้นทางน้ำซึ่งมีหาดทรายกลางน้ำและแก่งหิน ไม่น่าเชื่อว่าศพจะลอยไปถึง ต.อาจสามารถโดยใช้เวลาเพียงคืนเดียว และไม่น่าจะใช่ศพเดียวกันอย่างที่ผู้ใหญ่บ้านอ้าง 

แหล่งข่าวในพื้นที่ยังได้บอกบีบีซีไทยอีกด้วยว่า ในวันที่พบศพที่ ต.ท่าจำปา ตำรวจตระเวนชายแดนและทหารพรานเข้าปิดล้อมพื้นที่ทั้งคืนโดยไม่ให้ใครเข้าไปใกล้บริเวณนั้น  

นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยานายสุรชัย ได้เดินสายยื่นเรื่องกับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่สามีหายตัวไป ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ, ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และ คณะกรรมการอุ้มหาย แต่ก็ยังไม่คืบหน้า

"เราเป็นเหยื่อ"

ย้อนไปเมื่อต้นเดือน ก.ค. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชื่อดัง อ้างว่าโดนคนร้ายในชุดดำบุกทำร้ายในที่พักในนครเกียวโต โดนสเปรย์เจ็บแสบตามผิวหนังก่อนผู้ก่อเหตุจะหนีไปได้ สร้างความวิตกกังวลให้ผู้ลี้ภัยในหลายประเทศเนื่องจากมองกันว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

แม้ว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกมาปฏิเสธ แต่นักวิชาการปากกล้าผู้นี้เชื่อว่าทางการไทยอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ เมื่อถามถึงหลักฐาน เขาบอกว่าไม่มีทางที่จะมีอะไรมัดตัวรัฐไทยได้ และตอบย้อนกลับมาว่าเป็นนักข่าวเองที่ควรจะทำหน้าที่ให้ดีกว่านี้ ไม่ใช่รอให้คนที่เป็นเหยื่อจัดหามาให้

“นี่ผมไม่ได้ว่าคุณนะ แค่จะบอกว่าเราเป็นเหยื่อ เราถูกเหยียบจนพอแล้วนะ แล้วถูกท้าทายว่าไม่มีหลักฐาน ทำไมนักข่าวไม่ทำงานหนักกว่านี้ พูดกันอยู่ได้ เอาหลักฐานจากไหน”

ปวินยกตัวอย่างเปรียบเทียบการสังหารนายจามาล คาชูจกิ นักข่าวชื่อดังผู้วิจารณ์รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ที่เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย ก็ไม่ยอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง  “ก็ไม่รับ ทำไงอะ ก็ทำอะไรไม่ได้”

“โอกาสมันเป็นไปได้มากที่จะเป็นฝีมือของคนพวกนี้เพราะเราดูแนวโน้มที่มีมาตลอด ตั้งแต่ดีเจซุนโฮ โกตี๋ สามคน [ที่หายไปจากลาว] สามคนที่เวียดนาม จะเอาหลักฐานอะไรเพิ่มอีก แค่นี้ยังไม่พออีกเหรอ” ปวินกล่าว

“ถ้าผมเป็นกรณีเดี่ยว ๆ ถูกกระทืบเมื่อวาน แล้วผมกรี๊ด ๆ ผมเชื่อว่าคนก็คงว่าทหารทำ แต่มันคงอ้างลำบาก เพราะมันเป็นกรณีแรก แต่นี่มันเกิดขึ้นมาไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่อะ”

 ทางการไทย 

ย้อนไปเมื่อ มี.ค. ปีนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOHCHR) ได้เผยแพร่เอกสารของคณะทำงานและผู้รายงานพิเศษ ถามไปยังรัฐบาลถึงกรณีการฆาตกรรมไกรเดช ลือเลิศ และชัชชาญ บุปผาวัลย์ การหายตัวไปของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ รวมถึง อิทธิพล สุขแป้น หรือ ดีเจซุนโฮ ที่หายตัวไปเมื่อปี 2559

ซินเธีย เวลิโก ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ได้รับจดหมายในเดือนเดียวกันจากนายเสข วรรณเมธี เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ซึ่งตอบกลับมาเพียงว่าได้ส่งข้อมูลต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

“เราจะยังคงรู้สึกเป็นกังวลอย่างมากต่อกรณีการบังคับให้สูญหายและการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม และจะยังสอบถามเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ต่อทางการไทย รวมถึงรัฐบาลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคต่อไป” เวลิโก ระบุกับบีบีซีไทย

บีบีซีไทยได้โทรศัพท์ไปสอบถาม ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอคำชี้แจงต่อข้อกล่าวหาว่าทางการไทยอยู่เบื้องหลังการฆาตกรรม การหายตัว และการขู่คุกคาม ของนักเคลื่อนไหวหลายคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

"ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เนื่องจากเพิ่งมารับตำแหน่ง” คือคำตอบหลังจากบีบีซีไทยได้ส่งหนังสือขอคำชี้แจงไปล่วงหน้า 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ ศ.ดร.นฤมล ยังได้ถามต่อด้วยว่า “เรื่องนี้มีประโยชน์กับประเทศชาติอย่างไร”

วันที่ 29 ต.ค. บีบีซีไทยโทรไปสอบถาม ศ.ดร.นฤมล อีกครั้งว่าข้อมูลมีอะไรเพิ่มเติมหรือไม่หลังจากรับตำแหน่งมาสักพักแล้ว แต่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลอะไรเพิ่มเติม

ด้านนายณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ บอกกับบีบีซีไทยผ่านหนังสือเลขที่ กต 0905/1889  เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ว่า กระทรวงต่างประเทศได้ติดตามกรณีต่าง ๆ ที่บีบีซีไทยถามถึง “ด้วยความห่วงใย และยืนยันนโยบายของรัฐบาลไทยในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลทุกคน โดยควรคำนึงถึงการเคารพสิทธิของบุคคลอื่นด้วย”

อย่างไรก็ดี กระทรวงต่างประเทศไม่สามารถชี้แจงเรื่องนี้ได้ “เนื่องจากไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้”

นักเขียน

นักเขียนรางวัลศรีบูรพาให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่บ้านพักชั่วคราวในกรุงปารีส

นักเขียนรางวัลศรีบูรพาให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่บ้านพักชั่วคราวในกรุงปารีส

วัฒน์และภรรยา ไม่นานหลังออกจากป่า

วัฒน์และภรรยา ไม่นานหลังออกจากป่า

“เรากลัวความมืด เรากลัวเสียงที่อยู่ในความมืด”

“เรากลัวความมืด เรากลัวเสียงที่อยู่ในความมืด”

“พินคิดถึงหนังสือนับร้อยเล่มในห้องพัก ...หนังสือบางเล่มอ่านค้างไว้ ไม่รู้ว่าอีกกี่ปีจะได้กลับไปอ่านจนจบ” นี่คือบางส่วนจากหนังสือ “ด้วยรักแห่งอุดมการณ์” ที่ วัฒน์ วรรลยางกูร เขียนเล่าเรื่องราวตัวเองผ่าน “พิน บางพูด” ตัวละครเอกที่ต่อสู้ตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จนหนีเข้าป่าช่วงเย็นของวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519

กว่า 4 ทศวรรษให้หลัง นักเขียนรางวัลศรีบูรพาผู้นี้สามารถลอกข้อความดังกล่าวมาได้ทั้งหมด หากคิดจะเขียนบันทึกเล่มใหม่หลังรัฐประหารปี 2557 แค่เปลี่ยนจากฐานตั้งมั่นคอมมิวนิสต์บนเขาภูพาน เป็นการลี้ภัยไปลาว

หลัง ”ภูชนะ” หรือ ชัชชาญ บุปผาวัลย์ เพื่อนร่วมบ้านในลาวกลายเป็นศพในแม่น้ำโขง และ สยาม ธีรวุฒิ คนที่เขาใกล้ชิด ผูกพันราวกับเป็นพ่อลูก หายตัวไปในเวียดนาม วัฒน์เป็นผู้ลี้ภัยไทยคนแรก ๆ จากกลุ่มผู้ลี้ภัยในลาวที่เดินทางหนีไปฝรั่งเศสได้สำเร็จก่อนที่ไฟเย็นจะตามมา ชีวิตระหกระเหินของวัฒน์เป็นภาพแทนอย่างดีของชะตากรรมนักเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์ที่ดูเหมือนจะเป็นวงจรซ้ำรอยอย่างไม่จบไม่สิ้น    

“แต่คราวนี้มันไม่มีแนวโน้มจะเป็น 66/23 ได้” วัฒน์ กล่าว เขากำลังพูดถึงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 โดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งเป็นนโยบายนิรโทษกรรมสำคัญที่ชักนำนักศึกษาและเยาวชนที่ไปร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในป่าให้ “กลับสู่เมือง”

“มันมีแนวโน้มที่จะแรงขึ้น แรงขึ้น จะทำ 6 ตุลาฯ อีกครั้งหนึ่ง เพราะเลือกตั้งมันก็สู้ไม่ได้ สู้ทางโซเชียลเน็ตเวิร์กมันก็สู้ไม่ได้ เหลือทางเดียวคือใช้ความรุนแรง”

“เขาจะก่อความรุนแรงเล็กน้อยซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วมีคนส่วนน้อยเองที่ต่อต้าน และมีคนอื่นส่วนหนึ่งที่พอใจ แล้วมีคนส่วนน้อยก็จริงแต่ว่าเสียงดังมาพูดจาทับถม เชียร์ให้มีการฆ่า ทำให้คนชินอะ ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป นี่ฆ่านักประชาธิปไตยไม่บาป มันมาทำนองเดียวกัน”

ด้วยหมายจับอย่างน้อย 5 หมาย ไม่ว่าจะเป็นจากการขัดคำสั่งเรียกตัวของ คสช. หรือมาตรา 112 นักเขียนเจ้าของนวนิยายดังอย่าง มนต์รักทรานซิสเตอร์(2524) และ ฉากและชีวิต(2539) หนีออกจากไทยไม่กี่วันหลังรัฐประหาร บางฝ่ายในวงการวรรณกรรม รวมถึงตัววัฒน์เอง เชื่อว่า เขาคงจะได้รางวัลศิลปินแห่งชาติไปนานแล้วหากไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง

วัฒน์เล่าว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ต่างจากตอน 6 ตุลา เพราะตอนนี้เขามีลูก 3 คน และภรรยาก็เสียชีวิตไปแล้ว แม้ว่าตอนนี้ลูกทุกคนเรียนจบกันหมดแล้ว แต่เขาบอกว่าเวลาคิดจะทำอะไรก็ต้อง “ยั้งมือ ...ต้องคิดถึงพวกเขาบ้าง”

เขาเล่าว่าช่วงสามปีแรกผ่านไปด้วยความเรียบร้อย แต่หลังจากนั้นเริ่มถูกกดดันหนักขึ้นหลังร่วมกับนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ จัดรายการวิทยุใต้ดิน “พูดความจริงอย่างถึงที่สุด” ทั้งประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์และทหาร และความเดือดร้อนของคนในสังคม

วัฒน์บอกว่านักเคลื่อนไหวที่ถูกอุ้มหายและฆาตกรรมเป็นสัญญาณจากไทย “จงใจที่จะข่มขวัญ พวกมึงหยุดได้แล้ว หยุดแหกปากได้แล้ว”

“บางช่วงมาเป็นร้อยนะ” วัฒน์พูดถึงเจ้าหน้าที่ที่เขาเชื่อว่าทางการไทยส่งมา “ช่วงก่อนที่จะอุ้มฆ่ากลุ่มของสุรชัย 3 ศพเนี่ย เขาส่งมาเป็นร้อย ๆ คนในเขตตำบลนั้น”

การหายตัวของเพื่อนไปทีละคนสองคนของเพื่อนนักเคลื่อนไหวนี้เองทำให้วัฒน์เริ่มจิตตก และเริ่มกระบวนการขอลี้ภัยมายังฝรั่งเศสในที่สุด

วัฒน์พูดเปรียบเทียบว่าในขณะที่ฝรั่งเศสมีสวัสดิการดูแลประชาชนอย่างดี ให้การช่วยเหลือแม้กระทั่งผู้ลี้ภัยอย่างเขา แต่ประเทศไทยที่แสนอุดมสมบูรณ์ ยังมีคนจนอยู่ เขาบอกว่านี่เป็นผลมาจากการผูกขาดของกลุ่มชนชั้นนำของประเทศทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง ไปจนถึงวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี มีคนจำนวนหนึ่งมองว่าความยากจนไม่ได้เป็นผลมาจากการผูกขาดของกลุ่มชนชั้นนำ แต่เป็นปัญหามาจากนักการเมืองที่ทุจริตฉ้อฉลต่างหาก

“ทำให้คนตกอยู่ในความโง่เขลา งมงาย บ้าคลั่ง พร้อมที่จะฆ่าคนที่ถูกชี้หน้าว่าล้มเจ้าได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเขาทำมาแล้วหลายครั้ง ไม่ได้ครั้งเดียว ตลอดชีวิตผม”

จากสารคดีสั้น “ไกลบ้าน” โดยผู้กำกับ ธีรพันธ์ เงาจีนานันต์ ซึ่งเตรียมเผยแพร่เร็ว ๆ นี้ เราได้เห็นชีวิตอันยากลำบากของวัฒน์ในชนบทของลาว กระท่อมหลังเล็ก ๆ ที่พอกันแดดกันฝนได้ มีบ่อเลี้ยงปลาและแปลงผักสวนครัวง่าย ๆ รอบ ๆ มี “เหล้าต้มจากข้าวเหนียวลิตรละ 40 บาท” ที่พอจะช่วยให้หายกลุ้มไปได้

ตัดภาพมาที่บ้านพักชั่วคราวแห่งหนึ่งในปารีส เราถามเขาว่า คุ้มหรือ ทุกอย่างที่ต้องทิ้งไว้เบื้องหลังเพื่อสิ่งที่เชื่อ

“คุ้ม การไม่ไปรายงานตัวเป็นการประท้วงโดยไม่ต้องไปชูป้ายเลยว่ากูไม่ยอมรับอำนาจเถื่อนของมึง ...เราต้องการแค่เป็นเสรีชนที่ไม่ต้องเป็นฝุ่นอยู่ใต้ตีนใคร”

จาก “คุ้มไหม” สู่คำถามที่ตามมาคือ “เพื่ออะไร” เมื่อหลายฝ่ายมองว่านี่เป็นการต่อสู้ของคนจำนวนน้อยที่ไม่น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้

“เราสู้ไม่ได้คิดว่าจะชนะนะ เหมือนอยู่ในถ้ำที่ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ...เราก็ผ่านมาแล้ว เราก็รู้ว่ามันไม่ง่ายหรอกในการที่จะได้รับชัยชนะ แต่ทำไมเราต้องทำล่ะ เพราะเราประจักษ์แจ้งไง ทั้งจับด้วยมือ เห็นด้วยตา สัมผัสด้วยตัวเอง อ่านหนังสือ ...เราก็เป็นยาหยอดตาขวดหนึ่งอะ ที่ไปหยอดตาให้คนจำนวนหนึ่ง”

วัฒน์มองว่าการต่อสู้ในครั้งนี้เหมือนการต่อยมวยที่ฝ่ายตรงข้ามเป็น “เฮฟวีเวท” ชนิดไม่มีราคาต่อรอง แต่ยังไม่ครบยกก็ต้องชกกันต่อไป

“ถ้าคิดในเชิงระยะยาว สัจธรรมเนี่ย เราเชื่อมั่นว่าฝ่ายที่ยืนอยู่ในจุดที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ของประชาชนส่วนใหญ่ คือยืนอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยเนี่ย ในที่สุดแล้วจะต้องชนะเผด็จการ”

อย่างไรก็ตาม วัฒน์บอกว่า ที่สุดแล้ว หน้าที่ของเขาก็คือการเขียนหนังสือต่อไป เขาไม่ได้เป็น “นักปฏิวัติอาชีพแต่ผมเป็นนักเขียนกวีที่มีความคิดปฏิวัติอยู่ในหัว”

“สิ่งที่ผมทำคือแนวรบวัฒนธรรม มีหน้าที่ในการเข้าไปยึดพื้นที่ในหัวใจ ในความคิด ในสมองของผู้คน ก็คงไม่ใช่ปากกาเราด้ามเดียวที่จะไปเปลี่ยนแปลงพลิกระบอบเผด็จการให้มาเป็นประชาธิปไตยได้”

“ก็ช่วย ๆ กันอะ ใครอยู่ตรงไหน ก็ทำตรงนั้น”

ลูกทหาร

7 วันที่ถูกปิดตามืด ทั้งเตะทั้งต่อย กับที่ถูกทหารคุมขังไว้เฉย ๆ รวมเป็นทั้งหมด 28 วัน 

กว่า 5 ปีผ่านไปในฐานะผู้ลี้ภัยในเยอรมนี กริชสุดา คุณะเสน พยายามจะลืมแต่ก็ลืมการ “ปรับทัศนคติ” หลังรัฐประหารปี 2557 ครั้งนั้นไม่ลง อดีตเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟ้าสีทอง ซึ่งให้การช่วยเหลือนักโทษที่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นเจ้าของประโยคดังที่ว่า "มีความสุขจนไม่รู้จะพูดยังไง" ซึ่งเธอออกมาบอกทีหลังว่าถูกบังคับให้พูด ตรงกันข้ามกับกองทัพที่ออกมาปฏิเสธยืนยันว่าไม่มีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้น 

อาจเรียกได้ว่า กริชสุดา “ลืม” เหตุการณ์นั้นไปได้อยู่ 4 ปี จนกระทั่งช่วงต้นปีที่ผ่านมา เธอบอกกับบีบีซีไทยว่าข่าวการหายตัวของนักเคลื่อนไหวทีละคน ๆ ที่ทำให้เธอ “เครียดจนตัวสั่น” นอนไม่ได้ ถูกส่งเข้า รพ.จิตเวช และต้องเข้าออกรับการบำบัดเกือบทุกวันมาเป็นเวลา 3 เดือน 

“เรากลัวความมืด เรากลัวเสียงที่อยู่ในความมืด” กริชสุดา เล่า ความมืดสำหรับเธอคือการกลับไปอยู่ในค่ายทหารอีกครั้ง ถูกปิดตา “ถ้าเราหลับตาแล้วเราได้ยินเสียงบางอย่าง ความกลัวระดับสิบมันเกิดขึ้นกับร่างกายเรา ...ทุกครั้งที่ก่อนเราจะโดนซ้อม จะมีเสียงรองเท้า หรือเสียงอะไรที่แบบกำลังเข้ามาทำร้ายเรา มันคือสิ่งนั้น มันยังไม่ได้ออกไปจากตัวเรา” 

กริชสุดา ผู้มีพ่อ พี่และน้อง เป็นทหารและโตมาในค่ายทหาร เชื่อว่าทหารอยู่เบื้องหลังกรณีหายตัวปริศนาและฆาตกรรมนักเคลื่อนไหว “ถ้าเราไม่โดนซ้อม ถ้าเราไม่ถึงขั้นเกือบตายในค่ายทหารเราก็คงวาดฝันว่าทหารเป็นคนดีอยู่”  

“แต่สิ่งที่เราโดนเราเลยกล้าที่จะพูดว่า เฮ้ย ทหารแน่ ๆ อะ ในค่ายทหารเรายังโดนขนาดนี้ แต่กับพวกเขาที่อยู่ในประเทศที่สองแล้วออกมาประเทศที่สามอย่างเราไม่ได้เนี่ย แล้วสภาพศพที่เห็น ก็ไม่น่าเป็นคนปกติทั่วไปที่ทำ” 

“คุ้มที่เราออกมาพูด ไม่ได้คุ้มที่เราโดน” หญิงวัย 32 ปีตอบบีบีซีไทยเมื่อถามถึงชีวิตที่ต้องระหกระเหินแลกกับการออกมาเปิดเผยประสบการณ์ในค่ายทหาร 

“เราเชื่อว่าหลายคนโดนแบบเรา แต่เขาไม่มีโอกาสที่จะได้พูด บางคนอาจจะต้องเสียชีวิตไปเลยก็ได้... มันอาจจะเลวร้ายถ้าเราไม่พูดในวันนั้น มันอาจจะเกาะกินใจเราไปตลอดชีวิตก็เป็นได้” 

“พินคิดถึงหนังสือนับร้อยเล่มในห้องพัก ...หนังสือบางเล่มอ่านค้างไว้ ไม่รู้ว่าอีกกี่ปีจะได้กลับไปอ่านจนจบ” นี่คือบางส่วนจากหนังสือ “ด้วยรักแห่งอุดมการณ์” ที่ วัฒน์ วรรลยางกูร เขียนเล่าเรื่องราวตัวเองผ่าน “พิน บางพูด” ตัวละครเอกที่ต่อสู้ตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จนหนีเข้าป่าช่วงเย็นของวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519

กว่า 4 ทศวรรษให้หลัง นักเขียนรางวัลศรีบูรพาผู้นี้สามารถลอกข้อความดังกล่าวมาได้ทั้งหมด หากคิดจะเขียนบันทึกเล่มใหม่หลังรัฐประหารปี 2557 แค่เปลี่ยนจากฐานตั้งมั่นคอมมิวนิสต์บนเขาภูพาน เป็นการลี้ภัยไปลาว

หลัง ”ภูชนะ” หรือ ชัชชาญ บุปผาวัลย์ เพื่อนร่วมบ้านในลาวกลายเป็นศพในแม่น้ำโขง และ สยาม ธีรวุฒิ คนที่เขาใกล้ชิด ผูกพันราวกับเป็นพ่อลูก หายตัวไปในเวียดนาม วัฒน์เป็นผู้ลี้ภัยไทยคนแรก ๆ จากกลุ่มผู้ลี้ภัยในลาว ที่เดินทางหนีไปฝรั่งเศสได้สำเร็จก่อนที่ไฟเย็นจะตามมา ชีวิตระหกระเหินของวัฒน์เป็นภาพแทนอย่างดีของชะตากรรมนักเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์ที่ดูเหมือนจะเป็นวงจรซ้ำรอยอย่างไม่จบไม่สิ้น    

“แต่คราวนี้มันไม่มีแนวโน้มจะเป็น 66/23 ได้” วัฒน์ กล่าว เขากำลังพูดถึงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 โดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งเป็นนโยบายนิรโทษกรรมสำคัญที่ชักนำนักศึกษาและเยาวชนที่ไปร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในป่าให้ “กลับสู่เมือง”

“มันมีแนวโน้มที่จะแรงขึ้น แรงขึ้น จะทำ 6 ตุลาฯ อีกครั้งหนึ่ง เพราะเลือกตั้งมันก็สู้ไม่ได้ สู้ทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก มันก็สู้ไม่ได้ เหลือทางเดียวคือใช้ความรุนแรง”

“เขาจะก่อความรุนแรงเล็กน้อยซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วมีคนส่วนน้อยเองที่ต่อต้าน และมีคนอื่นส่วนหนึ่งที่พอใจ แล้วมีคนส่วนน้อยก็จริงแต่ว่าเสียงดังมาพูดจาทับถม เชียร์ให้มีการฆ่า ทำให้คนชินอะ ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป นี่ฆ่านักประชาธิปไตยไม่บาป มันมาทำนองเดียวกัน”

นักเขียนรางวัลศรีบูรพาให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่บ้านพักชั่วคราวในกรุงปารีส

นักเขียนรางวัลศรีบูรพาให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่บ้านพักชั่วคราวในกรุงปารีส

ด้วยหมายจับอย่างน้อย 5 หมาย ไม่ว่าจะเป็นจากการขัดคำสั่งเรียกตัวของ คสช. หรือมาตรา 112 นักเขียนเจ้าของนวนิยายดังอย่าง มนต์รักทรานซิสเตอร์(2524) และ ฉากและชีวิต(2539) หนีออกจากไทยไม่กี่วันหลังรัฐประหาร บางฝ่ายในวงการวรรณกรรม รวมถึงตัววัฒน์เอง เชื่อว่า เขาคงจะได้รางวัลศิลปินแห่งชาติไปนานแล้วหากไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง

วัฒน์เล่าว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ต่างจากตอน 6 ตุลา เพราะตอนนี้เขามีลูก 3 คน และภรรยาก็เสียชีวิตไปแล้ว แม้ว่าตอนนี้ลูกทุกคนเรียนจบกันหมดแล้ว แต่เขาบอกว่าเวลาคิดจะทำอะไรก็ต้อง “ยั้งมือ ...ต้องคิดถึงพวกเขาบ้าง”

เขาเล่าว่าช่วงสามปีแรกผ่านไปด้วยความเรียบร้อย แต่หลังจากนั้นเริ่มถูกกดดันหนักขึ้นหลังร่วมกับนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ จัดรายการวิทยุใต้ดิน “พูดความจริงอย่างถึงที่สุด” ทั้งประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์และทหาร และความเดือดร้อนของคนในสังคม

วัฒน์บอกว่านักเคลื่อนไหวที่ถูกอุ้มหายและฆาตกรรมเป็นสัญญาณจากไทย “จงใจที่จะข่มขวัญ พวกมึงหยุดได้แล้ว หยุดแหกปากได้แล้ว”

“บางช่วงมาเป็นร้อยนะ” วัฒน์พูดถึงเจ้าหน้าที่ที่เขาเชื่อว่าทางการไทยส่งมา “ช่วงก่อนที่จะอุ้มฆ่ากลุ่มของสุรชัย 3 ศพเนี่ย เขาส่งมาเป็นร้อย ๆ คนในเขตตำบลนั้น”

การหายตัวของเพื่อนไปทีละคนสองคนของเพื่อนนักเคลื่อนไหวนี้เองทำให้วัฒน์เริ่มจิตตก และเริ่มกระบวนการขอลี้ภัยมายังฝรั่งเศสในที่สุด

วัฒน์พูดเปรียบเทียบว่าในขณะที่ฝรั่งเศสมีสวัสดิการดูแลประชาชนอย่างดี ให้การช่วยเหลือแม้กระทั่งผู้ลี้ภัยอย่างเขา แต่ประเทศไทยที่แสนอุดมสมบูรณ์ ยังมีคนจนอยู่ เขาบอกว่านี่เป็นผลมาจากการผูกขาดของกลุ่มชนชั้นนำของประเทศทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง ไปจนถึงวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี มีคนจำนวนหนึ่งมองว่าความยากจนไม่ได้เป็นผลมาจากการผูกขาดของกลุ่มชนชั้นนำ แต่เป็นปัญหามาจากนักการเมืองที่ทุจริตฉ้อฉลต่างหาก

“ทำให้คนตกอยู่ในความโง่เขลา งมงาย บ้าคลั่ง พร้อมที่จะฆ่าคนที่ถูกชี้หน้าว่าล้มเจ้าได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเขาทำมาแล้วหลายครั้ง ไม่ได้ครั้งเดียว ตลอดชีวิตผม”

จากสารคดีสั้น “ไกลบ้าน” โดยผู้กำกับ ธีรพันธ์ เงาจีนานันต์ ซึ่งเตรียมเผยแพร่เร็ว ๆ นี้ เราได้เห็นชีวิตอันยากลำบากของวัฒน์ในชนบทของลาว กระท่อมหลังเล็ก ๆ ที่พอกันแดดกันฝนได้ มีบ่อเลี้ยงปลาและแปลงผักสวนครัวง่าย ๆ รอบ ๆ มี “เหล้าต้มจากข้าวเหนียวลิตรละ 40 บาท” ที่พอจะช่วยให้หายกลุ้มไปได้

ตัดภาพมาที่บ้านพักชั่วคราวแห่งหนึ่งในปารีส เราถามเขาว่า คุ้มหรือ ทุกอย่างที่ต้องทิ้งไว้เบื้องหลังเพื่อสิ่งที่เชื่อ

“คุ้ม การไม่ไปรายงานตัวเป็นการประท้วงโดยไม่ต้องไปชูป้ายเลยว่ากูไม่ยอมรับอำนาจเถื่อนของมึง ...เราต้องการแค่เป็นเสรีชนที่ไม่ต้องเป็นฝุ่นอยู่ใต้ตีนใคร"

วัฒน์และภรรยา ไม่นานหลังออกจากป่า

วัฒน์และภรรยา ไม่นานหลังออกจากป่า

จาก “คุ้มไหม” สู่คำถามที่ตามมาคือ “เพื่ออะไร” เมื่อหลายฝ่ายมองว่านี่เป็นการต่อสู้ของคนจำนวนน้อยที่ไม่น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้

“เราสู้ไม่ได้คิดว่าจะชนะนะ เหมือนอยู่ในถ้ำที่ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ...เราก็ผ่านมาแล้ว เราก็รู้ว่ามันไม่ง่ายหรอกในการที่จะได้รับชัยชนะ แต่ทำไมเราต้องทำล่ะ เพราะเราประจักษ์แจ้งไง ทั้งจับด้วยมือ เห็นด้วยตา สัมผัสด้วยตัวเอง อ่านหนังสือ ...เราก็เป็นยาหยอดตาขวดหนึ่งอะ ที่ไปหยอดตาให้คนจำนวนหนึ่ง”

วัฒน์มองว่าการต่อสู้ในครั้งนี้เหมือนการต่อยมวยที่ฝ่ายตรงข้ามเป็น “เฮฟวีเวท” ชนิดไม่มีราคาต่อรอง แต่ยังไม่ครบยกก็ต้องชกกันต่อไป

“ถ้าคิดในเชิงระยะยาว สัจธรรมเนี่ย เราเชื่อมั่นว่าฝ่ายที่ยืนอยู่ในจุดที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ของประชาชนส่วนใหญ่ คือยืนอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยเนี่ย ในที่สุดแล้วจะต้องชนะเผด็จการ”

อย่างไรก็ตาม วัฒน์บอกว่า ที่สุดแล้ว หน้าที่ของเขาก็คือการเขียนหนังสือต่อไป เขาไม่ได้เป็น “นักปฏิวัติอาชีพแต่ผมเป็นนักเขียนกวีที่มีความคิดปฏิวัติอยู่ในหัว”

“สิ่งที่ผมทำคือแนวรบวัฒนธรรม มีหน้าที่ในการเข้าไปยึดพื้นที่ในหัวใจ ในความคิด ในสมองของผู้คน ก็คงไม่ใช่ปากกาเราด้ามเดียวที่จะไปเปลี่ยนแปลงพลิกระบอบเผด็จการให้มาเป็นประชาธิปไตยได้”

“ก็ช่วย ๆ กันอะ ใครอยู่ตรงไหน ก็ทำตรงนั้น”

ลูกทหาร

7 วันที่ถูกปิดตามืด ทั้งเตะทั้งต่อย กับที่ถูกทหารคุมขังไว้เฉย ๆ รวมเป็นทั้งหมด 28 วัน

กว่า 5 ปีผ่านไปในฐานะผู้ลี้ภัยในเยอรมนี กริชสุดา คุณะเสน พยายามจะลืมแต่ก็ลืมการ “ปรับทัศนคติ” หลังรัฐประหารปี 2557 ครั้งนั้นไม่ลง อดีตเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟ้าสีทอง ซึ่งให้การช่วยเหลือนักโทษที่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นเจ้าของประโยคดังที่ว่า "มีความสุขจนไม่รู้จะพูดยังไง" ซึ่งเธอออกมาบอกทีหลังว่าถูกบังคับให้พูด ตรงกันข้ามกับกองทัพที่ออกมาปฏิเสธยืนยันว่าไม่มีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้น

อาจเรียกได้ว่า กริชสุดา “ลืม” เหตุการณ์นั้นไปได้อยู่ 4 ปี จนกระทั่งช่วงต้นปีที่ผ่านมา เธอบอกกับบีบีซีไทยว่าข่าวการหายตัวของนักเคลื่อนไหวทีละคน ๆ ที่ทำให้เธอ “เครียดจนตัวสั่น” นอนไม่ได้ ถูกส่งเข้า รพ.จิตเวช และต้องเข้าออกรับการบำบัดเกือบทุกวันมาเป็นเวลา 3 เดือน

“เรากลัวความมืด เรากลัวเสียงที่อยู่ในความมืด” กริชสุดา เล่า ความมืดสำหรับเธอคือการกลับไปอยู่ในค่ายทหารอีกครั้ง ถูกปิดตา “ถ้าเราหลับตาแล้วเราได้ยินเสียงบางอย่าง ความกลัวระดับสิบมันเกิดขึ้นกับร่างกายเรา ...ทุกครั้งที่ก่อนเราจะโดนซ้อม จะมีเสียงรองเท้า หรือเสียงอะไรที่แบบกำลังเข้ามาทำร้ายเรา มันคือสิ่งนั้น มันยังไม่ได้ออกไปจากตัวเรา”

กริชสุดา ผู้มีพ่อ พี่และน้อง เป็นทหารและโตมาในค่ายทหาร เชื่อว่าทหารอยู่เบื้องหลังกรณีหายตัวปริศนาและฆาตกรรมนักเคลื่อนไหว “ถ้าเราไม่โดนซ้อม ถ้าเราไม่ถึงขั้นเกือบตายในค่ายทหารเราก็คงวาดฝันว่าทหารเป็นคนดีอยู่” 

“แต่สิ่งที่เราโดนเราเลยกล้าที่จะพูดว่า เฮ้ย ทหารแน่ ๆ อะ ในค่ายทหารเรายังโดนขนาดนี้ แต่กับพวกเขาที่อยู่ในประเทศที่สองแล้วออกมาประเทศที่สามอย่างเราไม่ได้เนี่ย แล้วสภาพศพที่เห็น ก็ไม่น่าเป็นคนปกติทั่วไปที่ทำ”

“คุ้มที่เราออกมาพูด ไม่ได้คุ้มที่เราโดน” หญิงวัย 32 ปี ตอบบีบีซีไทยเมื่อถามถึงชีวิตที่ต้องระหกระเหินแลกกับการออกมาเปิดเผยประสบการณ์ในค่ายทหาร

“เราเชื่อว่าหลายคนโดนแบบเรา แต่เขาไม่มีโอกาสที่จะได้พูด บางคนอาจจะต้องเสียชีวิตไปเลยก็ได้... มันอาจจะเลวร้ายถ้าเราไม่พูดในวันนั้น มันอาจจะเกาะกินใจเราไปตลอดชีวิตก็เป็นได้”

นิสิตนักเคลื่อนไหว

เมื่อปี 2559 ชนกนันท์ รวมทรัพย์ นักเคลื่อนไหวและนักศึกษาจบใหม่ แชร์บทความพระราชประวัติ ร.10 ของบีบีซีไทยลงเฟซบุ๊กขณะอยู่ต่างประเทศ ทหารโทรหาพ่อแม่เธอ เตือนให้ลบ เธอไม่ลบ

กลับมาไทยไม่กี่ชั่วโมง ทหารมาเคาะประตูบ้าน “นายผมไม่พอใจมากเลย ลบด่วนเลยนะ...” เธอไม่ลบ

เกือบ 3 ปีผ่านไป ที่ห้องพักในเกาหลีใต้ ข้าง ๆ กระเป๋าเดินทางใบเดียวกับที่ใช้ออกจากไทยกลางดึกของวันที่ได้รับหมายแจ้งข้อหาความผิดมาตรา 112 เธอบอกกับบีบีซีไทยว่า หากย้อนเวลากลับไปได้ ยังไงก็จะไม่ลบอยู่ดี 

เช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นวงไฟเย็น หรือวัฒน์ วรรลยางกูร ทางเดียวที่ชนกนันท์เชื่อว่าจะหลีกเลี่ยงการถูกจำคุกฐานความผิดมาตรา 112  และแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีต่อไปได้ คือการหนีออกจากประเทศ

“การเซ็นเซอร์ตัวเองมันเป็นอะไรที่ผิดบาปสำหรับเรา ...ถ้าเราไม่สามารถทำให้ตัวเองพูดในสิ่งที่ตัวเองต้องการพูดได้ เราก็คงไม่สามารถโน้มน้าวคนอื่นให้ทำแบบเราได้ แล้วสังคมมันก็จะเป็นยังไง”

คณะรัฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการลงเรียนประวัติศาสตร์เป็นวิชาโททำให้เธอเริ่มรู้จักการตั้งคำถาม การ “พูดในสิ่งที่ตัวเองต้องการพูด” เริ่มด้วยกิจกรรมกับกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน จนกระทั่งขยายออกไปนอกรั้วมหาวิทยาลัย เธอรวมตัวกับนักศึกษาจากที่ต่าง ๆ โดยเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดภายใต้ชื่อ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ หรือ NDM

ชนกนันท์ ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว เมื่อกลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา บีบีซีไทยพบกับเธอในช่วงเช้าที่สถาบันเรียนภาษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ เธอและเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติกำลังเรียนรู้วิธีการบอกทิศทางและการพูดคุยเรื่องอาหาร 

ตอนบ่าย เธอต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกินคนเดียวในห้อง เป็นภาพที่ขัดกับตอนมีเพื่อนนักเคลื่อนไหวนับสิบยืนเคียงข้างท้าทายเจ้าหน้าที่ ตั้งคำถามตั้งแต่เรื่องการรัฐประหาร การลงคะแนนเสียงประชามติ จนไปถึงประเด็นทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์ จนโดนตั้งข้อหาฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่3/58 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

“มันว่างเปล่ามาก ๆ เลยค่ะ …เราจะไปเจออะไรข้างหน้านะ แล้วคนข้างหลัง ก็แบบ เราทิ้งให้เขาเศร้าอยู่” ชนกนันท์ อธิบายความรู้สึกตอนเริ่มร้องไห้ ขณะเครื่องบินทะยานขึ้นออกจากไทย ถึงอย่างนั้นก็ตาม เธอบอกว่าไม่ได้รู้สึกว่าทำพลาดไป

“เรารู้ว่า regret คืออะไร เจอผู้ชายคนนี้หล่อจังเลยน่าจะขอเบอร์แต่สุดท้ายเราก็ปล่อยเขาไป ไม่ได้ขอเบอร์ regret มากเลย เสียดายกับสิ่งที่ไม่ได้ นี่ไม่ใช่ ถึงย้อนกลับไปได้เราก็จะทำอยู่ดี ...เราคิดว่าอะไรก็ตามที่ทำให้เราเป็นเรา ณ ปัจจุบัน มันเป็นเรื่องที่ดีทั้งหมด”

ชนกนันท์ เล่าย้อนไปว่า รัฐประหารปี 2557 ทำให้รู้สึกหดหู่มาก เธอหลีกหนีด้วยการเข้าฟิตเนส “อยากมีซิกซ์แพกจริงจัง กินคลีนทุกมื้อด้วยนะ” ทำได้อยู่ 8-9 เดือน “แต่การเมืองก็จะยุ่งกับเราอยู่ดี” หลัง ภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือ กอล์ฟ ซึ่งเธอรู้จัก ถูกจับฐานความผิดมาตรา 112 จากละครเวทีเจ้าสาวหมาป่า

“การเมืองมาหาเราอยู่แล้ว ทุกอย่างเป็นการเมือง” ชนกนันท์ ว่า “สุดท้ายมันต้องมีจุดอะไรบางอย่างที่ทำให้รู้สึกว่า ไม่ได้แล้ว เราต้องมีส่วนร่วมแล้ว ใครจะออกมาถ้าเราไม่ออกมา แล้วเราจะปล่อยให้เป็นภาระของคนพวกนี้อย่างเดียวเหรอ ไม่เห็นแก่ตัวไปหน่อยเหรอทั้ง ๆ ที่มันก็เรื่องของเราด้วยนะ”

ชนกนันท์ บอกว่า การตามข่าวที่ไทยในฐานะคนนอก  เช่นข่าวที่เพื่อนอย่าง สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ "จ่านิว" ถูกทำร้าย ทำให้เธอรู้สึกอึดอัดและเศร้าใจเพราะไม่สามารถกลับไปทำอะไรได้ อย่างไรก็ดี เธอไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลกร้ายที่เธอต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีขึ้นมา แต่ดันไม่มีโอกาสกลับไปทำอะไรได้อีกแล้ว

“นักต่อสู้ก็คือนักต่อสู้อะ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนก็คือนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่จำเป็นต้องเรื่องการเมืองในสภา หรือว่าเรื่องกฎหมายข้อใดข้อหนึ่งในประเทศไทย” ชนกนันท์ กล่าว ขณะนี้ประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยหรือความเท่าเทียมทางเพศในเกาหลีใต้ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เธอสนใจ

ตอนอยู่ไทย นอกจากการเมือง ชนกนันท์ยังทำงานให้กับสมัชชาคนจน และกลุ่มทําทาง ซึ่งช่วยเหลือให้คำแนะนำผู้หญิงเรื่องการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย อีกด้วย 

ชนกนันท์ บอกว่า การออกมาจากประเทศและเป็นผู้ลี้ภัยคือเป็น “อีกหน้าหนึ่ง” ของชีวิตแล้ว ไม่สามารถจมอยู่กับสิ่งที่เธอไม่สามารถกลับไปแก้ได้แล้ว ขณะนี้ เธอกำลังเตรียมเข้าทำงานให้กับองค์กรผู้ลี้ภัย Migration to Asia Peace (MAP) และก็มุ่งหน้าเรียนภาษาเกาหลีเพื่อสอบเข้าเรียนปริญญาโทให้ได้ด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าที่นี่จะเป็นประเทศที่เธอจะอยู่ไปตลอดหรือเปล่า

ชนกนันท์ยอมรับว่า ครอบครัวเธอมีฐานะดีพอที่จะช่วยสนับสนุน พอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของเธอที่นี่และก็เดินทางมาเยี่ยมบ่อยครั้ง แต่ยังติดใจเรื่องกฎหมายไทยที่ทำให้ลูกต้องระหกระเหินมาในต่างแดน

มองย้อนกลับไป ประเทศไทยภายใต้ คสช. ในสายตานักสิทธิมนุษยชนอย่างเธอเป็นอย่างไร

“รู้สึกว่าเป็นประเทศที่ทุกคนโดนวางยา ยาอะไรบางอย่างให้ต้องไม่พูด ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง รู้สึกว่าพอได้รับยาตัวนี้แล้วรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที เขาสร้างความกลัวให้คนในสังคม ให้รู้สึกว่า มันไม่ปลอดภัยนะ มันจะดีเหรอ เราก็มีครอบครัว มีหน้าที่การงาน เราก็มีชีวิต ใช้ชีวิตดีกว่า เรื่องการเมืองหรือว่าเรื่องรูปแบบการปกครองแบบไหนอย่าไปแตะต้องมันเลย”

อย่างไรก็ดี เธอมองว่าคนตื่นตัวเรื่องการเมืองมากขึ้น และการใช้ความรุนแรงของรัฐเป็นสัญญาณบอกว่าพวกเขากำลังกลัวพลังประชาชน

“ถ้าเราไม่ทำ มันจะหายไปเลยนะ” ชนกนันท์ อธิบายถึงความสำคัญของการต่อสู้แม้จะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็ก ๆ “ถึงจะเป็นส่วนน้อย แต่ว่าอย่างน้อย มันต้องมีคนที่สนใจเรื่องนี้ แล้วถ้าเขามาเห็น เขาจะได้รู้ว่ามันมีพื้นที่ตรงนี้สำหรับเขาอยู่นะ มันมีคนที่คิดเหมือนเขาแล้วเขาสามารถแสดงออกได้นะ”

คำกล่าวของชนกนันท์ทำให้นึกถึงข้อความตอนหนึ่งในหนังสือบันทึกชีวิตในเรือนจำของ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง “มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ” ที่ว่า : “และต่อให้แสงของหิ่งห้อยเป็นแสงเดียวที่เรามองเห็นในตอนกลางคืน เราก็ต้องมองมัน ต่อให้แสงหิ่งห้อยไม่ใช่แสงที่เราคาดหวัง ไม่ใช่ดวงตะวันฉายฉาน ไม่ใช่แม้แต่แสงจันทร์หรือแสงดาว แต่มันก็เป็นแสงเดียวที่เราจะมองได้ เราจึงต้องมองมันเพื่อให้ดวงตาไม่บอดสนิท”

เมื่อปี 2559 ชนกนันท์ รวมทรัพย์ นักเคลื่อนไหวและนักศึกษาจบใหม่ แชร์บทความพระราชประวัติ ร.10 ของบีบีซีไทยลงเฟซบุ๊กขณะอยู่ต่างประเทศ ทหารโทรหาพ่อแม่เธอ เตือนให้ลบ เธอไม่ลบ

กลับมาไทยไม่กี่ชั่วโมง ทหารมาเคาะประตูบ้าน “นายผมไม่พอใจมากเลย ลบด่วนเลยนะ...” เธอไม่ลบ

เกือบ 3 ปีผ่านไป ที่ห้องพักในเกาหลีใต้ ข้าง ๆ กระเป๋าเดินทางใบเดียวกับที่ใช้ออกจากไทยกลางดึกของวันที่ได้รับหมายแจ้งข้อหาความผิดมาตรา 112 เธอบอกกับบีบีซีไทยว่า หากย้อนเวลากลับไปได้ ยังไงก็จะไม่ลบอยู่ดี 

เช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นวงไฟเย็น หรือวัฒน์ วรรลยางกูร ทางเดียวที่ชนกนันท์เชื่อว่าจะหลีกเลี่ยงการถูกจำคุกฐานความผิดมาตรา 112  และแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีต่อไปได้ คือการหนีออกจากประเทศ

“การเซ็นเซอร์ตัวเองมันเป็นอะไรที่ผิดบาปสำหรับเรา ...ถ้าเราไม่สามารถทำให้ตัวเองพูดในสิ่งที่ตัวเองต้องการพูดได้ เราก็คงไม่สามารถโน้มน้าวคนอื่นให้ทำแบบเราได้ แล้วสังคมมันก็จะเป็นยังไง”

คณะรัฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการลงเรียนประวัติศาสตร์เป็นวิชาโททำให้เธอเริ่มรู้จักการตั้งคำถาม การ “พูดในสิ่งที่ตัวเองต้องการพูด” เริ่มด้วยกิจกรรมกับกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน จนกระทั่งขยายออกไปนอกรั้วมหาวิทยาลัย เธอรวมตัวกับนักศึกษาจากที่ต่าง ๆ โดยเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดภายใต้ชื่อ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ หรือ NDM

ชนกนันท์ ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว เมื่อกลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา บีบีซีไทยพบกับเธอในช่วงเช้าที่สถาบันเรียนภาษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ เธอและเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติกำลังเรียนรู้วิธีการบอกทิศทางและการพูดคุยเรื่องอาหาร 

ตอนบ่าย เธอต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกินคนเดียวในห้อง เป็นภาพที่ขัดกับตอนมีเพื่อนนักเคลื่อนไหวนับสิบยืนเคียงข้างท้าทายเจ้าหน้าที่ ตั้งคำถามตั้งแต่เรื่องการรัฐประหาร การลงคะแนนเสียงประชามติ จนไปถึงประเด็นทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์ จนโดนตั้งข้อหาฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่3/58 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

“มันว่างเปล่ามาก ๆ เลยค่ะ …เราจะไปเจออะไรข้างหน้านะ แล้วคนข้างหลัง ก็แบบ เราทิ้งให้เขาเศร้าอยู่” ชนกนันท์ อธิบายความรู้สึกตอนเริ่มร้องไห้ ขณะเครื่องบินทะยานขึ้นออกจากไทย ถึงอย่างนั้นก็ตาม เธอบอกว่าไม่ได้รู้สึกว่าทำพลาดไป

“เรารู้ว่า regret คืออะไร เจอผู้ชายคนนี้หล่อจังเลยน่าจะขอเบอร์แต่สุดท้ายเราก็ปล่อยเขาไป ไม่ได้ขอเบอร์ regret มากเลย เสียดายกับสิ่งที่ไม่ได้ นี่ไม่ใช่ ถึงย้อนกลับไปได้เราก็จะทำอยู่ดี ...เราคิดว่าอะไรก็ตามที่ทำให้เราเป็นเรา ณ ปัจจุบัน มันเป็นเรื่องที่ดีทั้งหมด”

ชนกนันท์ เล่าย้อนไปว่า รัฐประหารปี 2557 ทำให้รู้สึกหดหู่มาก เธอหลีกหนีด้วยการเข้าฟิตเนส “อยากมีซิกซ์แพกจริงจัง กินคลีนทุกมื้อด้วยนะ” ทำได้อยู่ 8-9 เดือน “แต่การเมืองก็จะยุ่งกับเราอยู่ดี” หลัง ภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือ กอล์ฟ ซึ่งเธอรู้จัก ถูกจับฐานความผิดมาตรา 112 จากละครเวทีเจ้าสาวหมาป่า

“การเมืองมาหาเราอยู่แล้ว ทุกอย่างเป็นการเมือง” ชนกนันท์ ว่า “สุดท้ายมันต้องมีจุดอะไรบางอย่างที่ทำให้รู้สึกว่า ไม่ได้แล้ว เราต้องมีส่วนร่วมแล้ว ใครจะออกมาถ้าเราไม่ออกมา แล้วเราจะปล่อยให้เป็นภาระของคนพวกนี้อย่างเดียวเหรอ ไม่เห็นแก่ตัวไปหน่อยเหรอทั้ง ๆ ที่มันก็เรื่องของเราด้วยนะ”

ชนกนันท์ บอกว่า การตามข่าวที่ไทยในฐานะคนนอก  เช่นข่าวที่เพื่อนอย่าง สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ "จ่านิว" ถูกทำร้าย ทำให้เธอรู้สึกอึดอัดและเศร้าใจเพราะไม่สามารถกลับไปทำอะไรได้ อย่างไรก็ดี เธอไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลกร้ายที่เธอต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีขึ้นมา แต่ดันไม่มีโอกาสกลับไปทำอะไรได้อีกแล้ว

“นักต่อสู้ก็คือนักต่อสู้อะ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนก็คือนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่จำเป็นต้องเรื่องการเมืองในสภา หรือว่าเรื่องกฎหมายข้อใดข้อหนึ่งในประเทศไทย” ชนกนันท์ กล่าว ขณะนี้ประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยหรือความเท่าเทียมทางเพศในเกาหลีใต้ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เธอสนใจ

ตอนอยู่ไทย นอกจากการเมือง ชนกนันท์ยังทำงานให้กับสมัชชาคนจน และกลุ่มทําทาง ซึ่งช่วยเหลือให้คำแนะนำผู้หญิงเรื่องการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย อีกด้วย 

ชนกนันท์ บอกว่า การออกมาจากประเทศและเป็นผู้ลี้ภัยคือเป็น “อีกหน้าหนึ่ง” ของชีวิตแล้ว ไม่สามารถจมอยู่กับสิ่งที่เธอไม่สามารถกลับไปแก้ได้แล้ว ขณะนี้ เธอกำลังเตรียมเข้าทำงานให้กับองค์กรผู้ลี้ภัย Migration to Asia Peace (MAP) และก็มุ่งหน้าเรียนภาษาเกาหลีเพื่อสอบเข้าเรียนปริญญาโทให้ได้ด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าที่นี่จะเป็นประเทศที่เธอจะอยู่ไปตลอดหรือเปล่า

ชนกนันท์ยอมรับว่า ครอบครัวเธอมีฐานะดีพอที่จะช่วยสนับสนุน พอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของเธอที่นี่และก็เดินทางมาเยี่ยมบ่อยครั้ง แต่ยังติดใจเรื่องกฎหมายไทยที่ทำให้ลูกต้องระหกระเหินมาในต่างแดน

มองย้อนกลับไป ประเทศไทยภายใต้ คสช. ในสายตานักสิทธิมนุษยชนอย่างเธอเป็นอย่างไร

“รู้สึกว่าเป็นประเทศที่ทุกคนโดนวางยา ยาอะไรบางอย่างให้ต้องไม่พูด ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง รู้สึกว่าพอได้รับยาตัวนี้แล้วรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที เขาสร้างความกลัวให้คนในสังคม ให้รู้สึกว่า มันไม่ปลอดภัยนะ มันจะดีเหรอ เราก็มีครอบครัว มีหน้าที่การงาน เราก็มีชีวิต ใช้ชีวิตดีกว่า เรื่องการเมืองหรือว่าเรื่องรูปแบบการปกครองแบบไหนอย่าไปแตะต้องมันเลย”

การเคลื่อนไหวประเด็นทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์ทำให้เธอโดนตั้งข้อหาฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ 3/58

การเคลื่อนไหวประเด็นทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์ทำให้เธอโดนตั้งข้อหาฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ 3/58

อย่างไรก็ดี เธอมองว่าคนตื่นตัวเรื่องการเมืองมากขึ้น และการใช้ความรุนแรงของรัฐเป็นสัญญาณบอกว่าพวกเขากำลังกลัวพลังประชาชน

“ถ้าเราไม่ทำ มันจะหายไปเลยนะ” ชนกนันท์ อธิบายถึงความสำคัญของการต่อสู้แม้จะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็ก ๆ “ถึงจะเป็นส่วนน้อย แต่ว่าอย่างน้อย มันต้องมีคนที่สนใจเรื่องนี้ แล้วถ้าเขามาเห็น เขาจะได้รู้ว่ามันมีพื้นที่ตรงนี้สำหรับเขาอยู่นะ มันมีคนที่คิดเหมือนเขาแล้วเขาสามารถแสดงออกได้นะ”

คำกล่าวของชนกนันท์ทำให้นึกถึงข้อความตอนหนึ่งในหนังสือบันทึกชีวิตในเรือนจำของ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง “มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ” ที่ว่า : “และต่อให้แสงของหิ่งห้อยเป็นแสงเดียวที่เรามองเห็นในตอนกลางคืน เราก็ต้องมองมัน ต่อให้แสงหิ่งห้อยไม่ใช่แสงที่เราคาดหวัง ไม่ใช่ดวงตะวันฉายฉาน ไม่ใช่แม้แต่แสงจันทร์หรือแสงดาว แต่มันก็เป็นแสงเดียวที่เราจะมองได้ เราจึงต้องมองมันเพื่อให้ดวงตาไม่บอดสนิท”

นักข่าว 

ช่อง Thai Voice Media ของเขาทางยูทิวบ์มีผู้ติดตามถึงเกือบ 2.5 แสนคน

ช่อง Thai Voice Media ของเขาทางยูทิวบ์มีผู้ติดตามถึงเกือบ 2.5 แสนคน

จอมอัดรายการและตัดต่อด้วยตัวเองทั้งหมด

จอมอัดรายการและตัดต่อด้วยตัวเองทั้งหมด

เขาขับ “อูเบอร์” หารายได้ถึงค่ำทุกวัน แต่หากมีจัดรายการก็จะออกไปทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมง

เขาขับ “อูเบอร์” หารายได้ถึงค่ำทุกวัน แต่หากมีจัดรายการก็จะออกไปทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมง

จอมดัดแปลงกระท่อมหลังบ้านให้กลายเป็นสตูดิโอจัดรายการต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

จอมดัดแปลงกระท่อมหลังบ้านให้กลายเป็นสตูดิโอจัดรายการต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

มีอินเทอร์เน็ต ใช้วิดีโอคอลผ่านเฟซบุ๊ก แค่ชั่วอึดใจ เราก็อยู่กันที่ที่พักของจอม เพชรประดับ ในนครลอสแอนเจลิส

จะเป็นสื่อเสรี หรือผู้แอบอิงเสื้อแดง ปฏิเสธไม่ได้ว่านักข่าวอาวุโสผู้นี้น่าจะเป็นผู้ลี้ภัยการเมืองคนเดียวที่ทำหน้าที่สื่ออย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทำรายการสัมภาษณ์ลงช่อง Thai Voice Media เดือนละราว 4 ครั้งเริ่มตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน

ครั้งแรกคือการสัมภาษณ์นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทยผู้ลี้ภัยไปสหรัฐอเมริกา และจัดตั้งองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย หลังจากการรัฐประหารไม่นาน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาถูก คสช. เรียกรายงานตัว

จากแผนเที่ยวพักผ่อนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในนครลอสแอนเจลิสกลายเป็นบ้านหลังใหม่ของเขาตั้งแต่บัดนั้น

นอกจากจะเป็นผู้ลี้ภัยเองแล้ว การทำหน้าที่สื่อของเขาช่วยให้เราเห็นสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยไทยหลังรัฐประหาร 2557 อย่างต่อเนื่องและครบถ้วนที่สุด เป็นสื่อแรก ๆ และบางครั้งก็เป็นสื่อเดียว ที่เปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยในประเด็นที่สุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์วงไฟเย็น, นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ ก่อนที่จะหายตัวไป มาจนถึง ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หลังลี้ภัยมาเกาหลีใต้ เป็นต้น  

"เรายืนอยู่ในประเทศที่มันมีลมหายใจ มีเสรีภาพที่เราได้สูดเข้าไปเต็มปอด" จอม บอกกับบีบีซีไทย

เขาเอามือถือติดไม้เซลฟี่ นี่ช่วยให้เราเห็นเขาในอิริยาบถต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะพักผ่อน ทำอาหาร หรือเข้าสตูดิโอผลิตรายการ

เช้า 

ตื่นนอน ห้องพักของเขาดัดแปลงมาจากโรงจอดรถ หน้าร้อนอบอ้าว หน้าหนาวหนาวมาก ตอนฝนตกก็มีน้ำรั่วไหลเข้ามาบ้างเป็นบางคราว มีเบาะซิตอัปที่เขาใช้สำหรับทั้งซิทอัพและเป็นโต๊ะกินข้าว มีรูปพ่อและพี่ชายสองคน ทั้งหมดล่วงลับไปแล้วแต่เขาไม่สามารถกลับไปงานศพได้

อดีตพิธีกรไอทีวี, ไทยพีบีเอส และวอยซ์ทีวี ผู้เล่าว่าครั้งหนึ่งเคยได้เงินเดือนหลายแสน บอกว่า ถ้าอยู่ไทยก็คงสบายก็จริง แต่ “ปัญหารอบข้างมันขัดหูขัดตาเราเกินไป”

“การทำงานสื่อทำให้เราเห็นปัญหาของผู้คนแล้วรู้สึกว่า เฮ้ย ถ้าเพื่อนมนุษย์อยู่กันอย่างอดอยากยากแค้นแล้วเราสบายอยู่คนเดียว คือสังคมมันไม่น่าอยู่แล้วชีวิตเราเองมันก็ดูไม่ค่อยมีความหมาย ในเมื่อเรามีต้นทุนพอที่จะทำอะไรได้ ทำไมเราถึงจะไม่ทำ”

สิ่งที่เขาทำคือ เดินหน้าผลิตรายการสัมภาษณ์จำนวนมากในแบบที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมองว่า "แดง" และเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่อีกบางส่วนมองว่าคือช่องทางสื่อที่มีเสรีภาพและเสนอประเด็นที่ไม่อาจพูดถึงได้ในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร, ผู้วิเคราะห์เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงประเด็นผู้ลี้ภัยการเมืองและนักโทษคดี 112

สาย

ที่ที่แบ่งเช่าจากเจ้าของบ้านกว้างพอที่เขาจะได้ปลูกสวนครัวขนาดย่อม ๆ มีต้นกล้วยน้ำว้า มีสะระแหน่และกะเพราให้เขาเด็ดไปทำอาหารแช่ตู้เย็นไว้กินได้ครั้งละ 2-3 วัน 

ทำอาหารเสร็จ นอกจากอัปเดตข่าวสารบ้านเมือง หากมีอัดรายการสัมภาษณ์ในช่วงค่ำ เขาจะใช้เวลาช่วงนี้ในการเตรียมข้อมูล คำถาม และร่างบท

จอมบอกว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่คือ เสนอความจริงที่สังคมไทยไม่กล้าจะหยิบยกขึ้นมาพูด และความจริงนี้เองจะทำให้คนไทยมองปัญหาได้อย่างเข้าใจมากขึ้น “ไม่เฉพาะแต่เรื่องการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์”

จอมบอกว่ารายการของเขามุ่งตั้งคำถามต่อค่านิยมต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ อาทิ ประเด็นเชิงศาสนา การ “นิ่งเฉยกับปัญหา อุเบกขาจะทำให้ตัวเองอยู่รอดปลอดภัย หรือไม่ก็การพัฒนาตนเองให้บรรลุสู่การเป็นคนดีโดยที่ไม่ได้สนใจคนข้างเคียงว่าเขาจะเดือดร้อน มีปัญหายังไง ใช่หรือ …ความเป็นไทยบางทีเราก็ต้องมานั่งถกเถียงกันเหมือนกันว่าอันไหนมันล้าหลัง อันไหนเป็นตัวถ่วง”

บ่าย

รถโตโยต้าสีขาวที่จอดอยู่หน้าบ้านคือแหล่งรายได้หลักของจอม ใช้ขับ “อูเบอร์” รับส่งคนและจะกลับบ้านมาอีกทีราวทุ่มสองทุ่ม แต่หากมีจัดรายการตอนค่ำก็จะออกไปทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมง เขาบอกว่าต้องทำรายได้ให้ได้วันละราว ๆ 50-80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็จะพอสำหรับค่าเช่าบ้าน ผ่อนรถ และค่าอาหาร

จอมบอกว่า หากพูดแบบเข้าข้างตัวเอง เขาถือว่าตนเองประสบความสำเร็จหลังจากที่ตัดสินใจลี้ภัยจากเมืองไทยมา ได้ทำหน้าที่ “กระตุก” ความคิดคน แต่ “พลังของการเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้มาจากความคิดของคน ๆ เดียว แต่มาจากคนไทยทั้งประเทศที่จะต้องลุกขึ้นมา”

“รออยู่ว่าเราจะถึงวันที่เราต้องคิดว่า เฮ้ย เราจะไม่ทนอยู่กับอำนาจที่พยายามที่จะไม่ปลดปล่อยศักยภาพของคนไทยสักที ...ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าชีวิตนี้ผมจะได้เห็นนะ ถ้าเราจะอยู่รอเพื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงตรงนั้นแล้วประกาศว่านั่นคือความสำเร็จ อันนั้นก็คงจะได้ แต่มันคงไม่ได้เร็วขนาดนั้นมั้ง”

ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมที่เขาอยากเห็นคือ ให้ประชาชนมีอำนาจที่จะกำหนดอนาคตตัวเองมากกว่านี้ “ที่สำคัญที่สุด การเมืองต้องกระจายอำนาจจากส่วนกลาง”

“เป็นไปได้ไหมที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองให้คนแต่ละภาคกำหนดเองว่าการเมืองเขาจะเอายังไง การแก้ไขเรื่องน้ำ การจราจร การศึกษา ให้เขาคิด สร้างโมเดลขึ้นมาเอง”

เย็น

จอมบอกว่า คุ้ม เมื่อมองย้อนกลับไปถึงสิ่งที่ทำมาทั้งหมด ที่ผิดแผนคือจากที่หวังว่าจะจัดตั้งเป็นทีมทำสื่อแต่ทุกวันนี้ยังทำคนเดียวอยู่เหมือนเดิม ดูเผิน ๆ กระท่อมเล็กหลังบ้านเขาเหมือนเป็นห้องเก็บของ มันคือสตูดิโอที่เขาใช้จัดรายการสัมภาษณ์ช่วงค่ำนี้ ก่อนจะตัดต่อ และเผยแพร่ในวันเดียวกัน

ต่อจากนี้ เขาวางแผนว่าจะทำรายการน้อยลง หันไปทำงานมากขึ้นเพื่อให้ “ยืนได้มากกว่านี้” แล้วค่อยเดินหน้าต่อ นอกจากนี้ “การเมืองที่มี ส.ส. แล้ว” สามารถรับช่วงต่อทำหน้าที่ถกเถียงและตั้งคำถามแทนตัวเขาเองและภาคประชาชน

จอมบอกว่า ในความเป็นมนุษย์ บางทีก็นั่งคิดว่า ทำไมต้องมาเหนื่อย เอาทรัพยากรและความสามารถมาใช้ขับเคลื่อนสิ่งอื่น “ต้องใช้จ่ายไปกับสิ่งที่จริง ๆ แล้วเราไม่ได้อะไรกลับคืนมา ไม่ได้เป็นกองทุน ทรัพย์สินที่ทำให้ชีวิตบั้นปลายเราไม่เดือดร้อน”

แต่ที่สุดแล้วเขาก็คิดว่า “วันนี้เราทำแล้วเราสบายใจก็ทำต่อไปเหอะ เราอาจจะมีทรัพย์สินเงินทองแล้วเราก็นั่งกุมมัน แล้วเราก็สบายอยู่โดยที่มันก็แค่ตัวเรา แล้วมันจะมีความหมายอะไร”

เขาย้ำความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว เห็นได้จากการพูดคุยแสดงออกของคนที่กล้าหาญมากขึ้น เขาตั้งข้อสังเกตว่าแม้คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศจะใช้คำประเภท “เผด็จการ” ”อภิสิทธิ์ชน” หรือ “ชนชั้นนำ” ในการวิพากษ์วิจารณ์การเมือง แต่ก็มองได้ว่านัยยะของคำเหล่านั้นได้ขยายหมายรวมไปถึงเครือข่ายสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว

“...นั่นคือสิ่งที่เป็นรูปธรรมว่า เออ เขาตื่นแล้ว คนในต่างประเทศอาจจะทะลุความกลัวไปแล้ว คนในเมืองไทยก็ยังคงต้องระวังตัวเอง ซึ่งเข้าใจได้”

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ต.ค. จอม เพชรประดับ ได้ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวยืนยันสิ่งที่เขาเคยเกริ่นกับบีบีซีไทยก่อนหน้านี้ว่าจะขอ “พักยาว” จากการทำรายการ โดยบอกว่า ขณะนี้ประชาชนและพรรคการเมืองยังไม่พร้อมและไม่มีศักยภาพมากพอที่จะทัดทานกับฝ่ายเผด็จการ

“แม้เวลา 6 ปีที่ต่อสู้มาอาจไม่นานนัก แต่สำหรับคนวัยใกล้เกษียณที่ต้องต่อสู้อยู่ในต่างประเทศ ไม่เพียงแต่ต่อสู้กับเผด็จการในประเทศไทย แต่ต้องต่อสู้กับการดำรงอยู่ในต่างประเทศให้ได้ด้วย จึงคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องหยุดพักยาวเพื่อให้เวลากับการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ให้ได้ก่อน” จอมระบุ

มีอินเทอร์เน็ต ใช้วิดีโอคอลผ่านเฟซบุ๊ก แค่ชั่วอึดใจ เราก็อยู่กันที่ที่พักของจอม เพชรประดับ ในนครลอสแอนเจลิส

จะเป็นสื่อเสรี หรือผู้แอบอิงเสื้อแดง ปฏิเสธไม่ได้ว่านักข่าวอาวุโสผู้นี้น่าจะเป็นผู้ลี้ภัยการเมืองคนเดียวที่ทำหน้าที่สื่ออย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทำรายการสัมภาษณ์ลงช่อง Thai Voice Media เดือนละราว 4 ครั้งเริ่มตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน

ครั้งแรกคือการสัมภาษณ์นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทยผู้ลี้ภัยไปสหรัฐอเมริกา และจัดตั้งองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย หลังจากการรัฐประหารไม่นาน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาถูก คสช. เรียกรายงานตัว

จากแผนเที่ยวพักผ่อนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในนครลอสแอนเจลิสกลายเป็นบ้านหลังใหม่ของเขาตั้งแต่บัดนั้น

นอกจากจะเป็นผู้ลี้ภัยเองแล้ว การทำหน้าที่สื่อของเขาช่วยให้เราเห็นสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยไทยหลังรัฐประหาร 2557 อย่างต่อเนื่องและครบถ้วนที่สุด เป็นสื่อแรก ๆ และบางครั้งก็เป็นสื่อเดียว ที่เปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยในประเด็นที่สุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์วงไฟเย็น, นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ ก่อนที่จะหายตัวไป มาจนถึง ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หลังลี้ภัยมาเกาหลีใต้ เป็นต้น  

"เรายืนอยู่ในประเทศที่มันมีลมหายใจ มีเสรีภาพที่เราได้สูดเข้าไปเต็มปอด" จอม บอกกับบีบีซีไทย

เขาเอามือถือติดไม้เซลฟี่ นี่ช่วยให้เราเห็นเขาในอิริยาบถต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะพักผ่อน ทำอาหาร หรือเข้าสตูดิโอผลิตรายการ

จอมอัดและตัดต่อรายการด้วยตัวเองทั้งหมด

จอมอัดและตัดต่อรายการด้วยตัวเองทั้งหมด

เช้า 

ตื่นนอน ห้องพักของเขาดัดแปลงมาจากโรงจอดรถ หน้าร้อนอบอ้าว หน้าหนาวหนาวมาก ตอนฝนตกก็มีน้ำรั่วไหลเข้ามาบ้างเป็นบางคราว มีเบาะซิตอัปที่เขาใช้สำหรับทั้งซิทอัพและเป็นโต๊ะกินข้าว มีรูปพ่อและพี่ชายสองคน ทั้งหมดล่วงลับไปแล้วแต่เขาไม่สามารถกลับไปงานศพได้

อดีตพิธีกรไอทีวี, ไทยพีบีเอส และวอยซ์ทีวี ผู้เล่าว่าครั้งหนึ่งเคยได้เงินเดือนหลายแสน บอกว่า ถ้าอยู่ไทยก็คงสบายก็จริง แต่ “ปัญหารอบข้างมันขัดหูขัดตาเราเกินไป”

“การทำงานสื่อทำให้เราเห็นปัญหาของผู้คนแล้วรู้สึกว่า เฮ้ย ถ้าเพื่อนมนุษย์อยู่กันอย่างอดอยากยากแค้นแล้วเราสบายอยู่คนเดียว คือสังคมมันไม่น่าอยู่แล้วชีวิตเราเองมันก็ดูไม่ค่อยมีความหมาย ในเมื่อเรามีต้นทุนพอที่จะทำอะไรได้ ทำไมเราถึงจะไม่ทำ”

สิ่งที่เขาทำคือ เดินหน้าผลิตรายการสัมภาษณ์จำนวนมากในแบบที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมองว่า "แดง" และเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่อีกบางส่วนมองว่าคือช่องทางสื่อที่มีเสรีภาพและเสนอประเด็นที่ไม่อาจพูดถึงได้ในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร, ผู้วิเคราะห์เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงประเด็นผู้ลี้ภัยการเมืองและนักโทษคดี 112

สาย

ที่ที่แบ่งเช่าจากเจ้าของบ้านกว้างพอที่เขาจะได้ปลูกสวนครัวขนาดย่อม ๆ มีต้นกล้วยน้ำว้า มีสะระแหน่และกะเพราให้เขาเด็ดไปทำอาหารแช่ตู้เย็นไว้กินได้ครั้งละ 2-3 วัน 

ทำอาหารเสร็จ นอกจากอัปเดตข่าวสารบ้านเมือง หากมีอัดรายการสัมภาษณ์ในช่วงค่ำ เขาจะใช้เวลาช่วงนี้ในการเตรียมข้อมูล คำถาม และร่างบท

ช่อง Thai Voice Media ของเขาทางยูทิวบ์มีผู้ติดตามถึงเกือบ 2.5 แสนคน

ช่อง Thai Voice Media ของเขาทางยูทิวบ์มีผู้ติดตามถึงเกือบ 2.5 แสนคน

จอมบอกว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่คือ เสนอความจริงที่สังคมไทยไม่กล้าจะหยิบยกขึ้นมาพูด และความจริงนี้เองจะทำให้คนไทยมองปัญหาได้อย่างเข้าใจมากขึ้น “ไม่เฉพาะแต่เรื่องการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์”

จอมบอกว่ารายการของเขามุ่งตั้งคำถามต่อค่านิยมต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ อาทิ ประเด็นเชิงศาสนา การ “นิ่งเฉยกับปัญหา อุเบกขาจะทำให้ตัวเองอยู่รอดปลอดภัย หรือไม่ก็การพัฒนาตนเองให้บรรลุสู่การเป็นคนดีโดยที่ไม่ได้สนใจคนข้างเคียงว่าเขาจะเดือดร้อน มีปัญหายังไง ใช่หรือ …ความเป็นไทยบางทีเราก็ต้องมานั่งถกเถียงกันเหมือนกันว่าอันไหนมันล้าหลัง อันไหนเป็นตัวถ่วง”

บ่าย

รถโตโยต้าสีขาวที่จอดอยู่หน้าบ้านคือแหล่งรายได้หลักของจอม ใช้ขับ “อูเบอร์” รับส่งคนและจะกลับบ้านมาอีกทีราวทุ่มสองทุ่ม แต่หากมีจัดรายการตอนค่ำก็จะออกไปทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมง เขาบอกว่าต้องทำรายได้ให้ได้วันละราว ๆ 50-80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็จะพอสำหรับค่าเช่าบ้าน ผ่อนรถ และค่าอาหาร

เขาขับ “อูเบอร์” หารายได้ถึงค่ำทุกวัน แต่หากมีจัดรายการก็จะออกไปทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมง

เขาขับ “อูเบอร์” หารายได้ถึงค่ำทุกวัน แต่หากมีจัดรายการก็จะออกไปทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมง

จอมบอกว่า หากพูดแบบเข้าข้างตัวเอง เขาถือว่าตนเองประสบความสำเร็จหลังจากที่ตัดสินใจลี้ภัยจากเมืองไทยมา ได้ทำหน้าที่ “กระตุก” ความคิดคน แต่ “พลังของการเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้มาจากความคิดของคน ๆ เดียว แต่มาจากคนไทยทั้งประเทศที่จะต้องลุกขึ้นมา”

“รออยู่ว่าเราจะถึงวันที่เราต้องคิดว่า เฮ้ย เราจะไม่ทนอยู่กับอำนาจที่พยายามที่จะไม่ปลดปล่อยศักยภาพของคนไทยสักที ...ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าชีวิตนี้ผมจะได้เห็นนะ ถ้าเราจะอยู่รอเพื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงตรงนั้นแล้วประกาศว่านั่นคือความสำเร็จ อันนั้นก็คงจะได้ แต่มันคงไม่ได้เร็วขนาดนั้นมั้ง”

ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมที่เขาอยากเห็นคือ ให้ประชาชนมีอำนาจที่จะกำหนดอนาคตตัวเองมากกว่านี้ “ที่สำคัญที่สุด การเมืองต้องกระจายอำนาจจากส่วนกลาง”

“เป็นไปได้ไหมที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองให้คนแต่ละภาคกำหนดเองว่าการเมืองเขาจะเอายังไง การแก้ไขเรื่องน้ำ การจราจร การศึกษา ให้เขาคิด สร้างโมเดลขึ้นมาเอง”

เย็น

จอมบอกว่า คุ้ม เมื่อมองย้อนกลับไปถึงสิ่งที่ทำมาทั้งหมด ที่ผิดแผนคือจากที่หวังว่าจะจัดตั้งเป็นทีมทำสื่อแต่ทุกวันนี้ยังทำคนเดียวอยู่เหมือนเดิม ดูเผิน ๆ กระท่อมเล็กหลังบ้านเขาเหมือนเป็นห้องเก็บของ มันคือสตูดิโอที่เขาใช้จัดรายการสัมภาษณ์ช่วงค่ำนี้ ก่อนจะตัดต่อ และเผยแพร่ในวันเดียวกัน

ต่อจากนี้ เขาวางแผนว่าจะทำรายการน้อยลง หันไปทำงานมากขึ้นเพื่อให้ “ยืนได้มากกว่านี้” แล้วค่อยเดินหน้าต่อ นอกจากนี้ “การเมืองที่มี ส.ส. แล้ว” สามารถรับช่วงต่อทำหน้าที่ถกเถียงและตั้งคำถามแทนตัวเขาเองและภาคประชาชน

จอมบอกว่า ในความเป็นมนุษย์ บางทีก็นั่งคิดว่า ทำไมต้องมาเหนื่อย เอาทรัพยากรและความสามารถมาใช้ขับเคลื่อนสิ่งอื่น “ต้องใช้จ่ายไปกับสิ่งที่จริง ๆ แล้วเราไม่ได้อะไรกลับคืนมา ไม่ได้เป็นกองทุน ทรัพย์สินที่ทำให้ชีวิตบั้นปลายเราไม่เดือดร้อน”

แต่ที่สุดแล้วเขาก็คิดว่า “วันนี้เราทำแล้วเราสบายใจก็ทำต่อไปเหอะ เราอาจจะมีทรัพย์สินเงินทองแล้วเราก็นั่งกุมมัน แล้วเราก็สบายอยู่โดยที่มันก็แค่ตัวเรา แล้วมันจะมีความหมายอะไร”

จอมดัดแปลงกระท่อมหลังบ้านให้กลายเป็นสตูดิโอจัดรายการต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

จอมดัดแปลงกระท่อมหลังบ้านให้กลายเป็นสตูดิโอจัดรายการต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

เขาย้ำความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว เห็นได้จากการพูดคุยแสดงออกของคนที่กล้าหาญมากขึ้น เขาตั้งข้อสังเกตว่าแม้คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศจะใช้คำประเภท “เผด็จการ” ”อภิสิทธิ์ชน” หรือ “ชนชั้นนำ” ในการวิพากษ์วิจารณ์การเมือง แต่ก็มองได้ว่านัยยะของคำเหล่านั้นได้ขยายหมายรวมไปถึงเครือข่ายสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว

“...นั่นคือสิ่งที่เป็นรูปธรรมว่า เออ เขาตื่นแล้ว คนในต่างประเทศอาจจะทะลุความกลัวไปแล้ว คนในเมืองไทยก็ยังคงต้องระวังตัวเอง ซึ่งเข้าใจได้”

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ต.ค. จอม เพชรประดับ ได้ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวยืนยันสิ่งที่เขาเคยเกริ่นกับบีบีซีไทยก่อนหน้านี้ว่าจะขอ “พักยาว” จากการทำรายการ โดยบอกว่า ขณะนี้ประชาชนและพรรคการเมืองยังไม่พร้อมและไม่มีศักยภาพมากพอที่จะทัดทานกับฝ่ายเผด็จการ

“แม้เวลา 6 ปีที่ต่อสู้มาอาจไม่นานนัก แต่สำหรับคนวัยใกล้เกษียณที่ต้องต่อสู้อยู่ในต่างประเทศ ไม่เพียงแต่ต่อสู้กับเผด็จการในประเทศไทย แต่ต้องต่อสู้กับการดำรงอยู่ในต่างประเทศให้ได้ด้วย จึงคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องหยุดพักยาวเพื่อให้เวลากับการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ให้ได้ก่อน” จอมระบุ

คนรุ่นแรก

อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติวัย 72 ปี ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่ห้องพักในกรุงปารีส

อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติวัย 72 ปี ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่ห้องพักในกรุงปารีส

จรรยา เป็นผู้ริเริ่มการรณรงค์ #SaveFaiyen ซึ่งช่วยให้วงไฟเย็นลี้ภัยมาฝรั่งเศสสำเร็จในที่สุด

จรรยา เป็นผู้ริเริ่มการรณรงค์ #SaveFaiyen ซึ่งช่วยให้วงไฟเย็นลี้ภัยมาฝรั่งเศสสำเร็จในที่สุด

อั้มมองว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงต้องการเคลื่อนไหวที่เป็นภาคประชาชนจริง ๆ 

อั้มมองว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงต้องการเคลื่อนไหวที่เป็นภาคประชาชนจริง ๆ 

สมศักดิ์เป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ที่มีผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียมากที่สุดคนหนึ่ง

สมศักดิ์เป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ที่มีผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียมากที่สุดคนหนึ่ง

“หมดปัญญา”, “คึกคักขึ้น” และ “ให้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์” นี่คือสรุปทัศนะสั้น ๆ ต่อการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจากผู้ลี้ภัยไทยในยุโรปที่คนคุ้นหน้ากันมานานอย่าง จรัล ดิษฐาอภิชัย, จรรยา ยิ้มประเสริฐ และ อั้ม เนโกะ ตามลำดับ

บีบีซีไทยตามจรัลในวัย 72 ปี ขณะเขาเดินตามต้อย ๆ คอยแบกกีต้าร์ให้วงไฟเย็นไปที่จัดการแสดงครั้งแรกหลังลี้ภัยมาฝรั่งเศสสำเร็จ เราตามไปพูดคุยกับเขาถึงที่พักที่เขาเล่าว่าคนรู้จักถึงกับน้ำตาไหลเมื่อต้องมาเห็นสภาพ เป็นห้องแบ่งเช่าเล็ก ๆ ที่มีเพียงม่านบาง ๆ แทนประตู สูทและเสื้อเชิ้ตล้นตู้เสื้อผ้าออกมา

5 วันหลังรัฐประหาร เขาหนีออกจากไทย ตอนนี้ผ่านไป 5 ปีกว่าแล้ว จากสัญลักษณ์แห่งนักต่อสู้ คนจำนวนไม่น้อยเริ่มมองว่าเขาเป็นตัวแทนของความสิ้นหวังเช่นกัน เราโยนคำถามใส่เขาไม่ยั้ง “ยังมีความหวังอยู่ไหม”, “ทำไปเพื่ออะไร”, “จะสู้อย่างไร”, “แล้วไงต่อ” ฯลฯ

“ก็เหมือนเราต้องกินข้าวทุกวัน ทั้ง ๆ ที่ข้าวไม่น่ากิน ข้าวบูด การเป็นนักต่อสู้กับการเข้าร่วมการต่อสู้มันต่างกันตรงนี้” อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว

การต่อสู้ของจรัลเริ่มต้นตั้งแต่การเข้าป่าถึง 7 ปีหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เขากล่าวเปรียบเทียบว่าในขณะที่ตอนนั้น “มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” เพราะมีทั้งอุดมการณ์ ทฤษฎี และพรรคคอมมิวนิสต์ ตอนนี้ไม่มีอุดมการณ์อะไรเลยนอกจากคำว่าประชาธิปไตย

“หลังจากรัฐประหารมา มีคนถามว่าจะสู้ยังไงจะชนะ ถ้าเป็นสมัยก่อนผมตอบพวกคุณได้ 3 วัน [แต่]เวลานี้ผมไม่มีปัญญา และผมไม่เชื่อว่าใครจะมีปัญญาตอบได้ในประเทศไทย”

จรัลบอกว่า “ไม่รู้สึกอะไร” หากคนจะบอกว่าสิ่งที่เขาทำอยู่ไร้ความหมายและไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร “เพราะไม่มีใครสู้แล้วมีความหมายอะไร ...ตอนนี้อะ ไม่ว่าเคลื่อนไหวอะไร ไม่ว่าจะใหญ่เล็ก ไม่มีผลอะไรหรอก”

“...แต่พวกคุณต้องยืนหยัดต่อสู้ต่อไป ถ้าคุณไม่ยืนหยัดต่อสู้อะ ถ้าคุณไม่ยืนหยัดต่อสู้นะ ไอ้คำถามว่าต่อสู้ยังไง เป็นคำถามที่ไม่มีความหมายเลย ไม่มีประโยชน์เลย ก็คุณไม่สู้แล้วหนิ”

อดีตแกนนำ นปช. บอกว่า หลายคนชอบวิเคราะห์การเมืองตามที่ตัวเองอยากจะให้เป็น แทนที่จะดูตามความจริง

“เวลาเราพูดว่าผู้นำประเทศอยู่ขาลง มันไม่ได้ลงแบบของหนักตกลงพื้น [เผด็จการชิลี นายพลออกุสโต] ปิโนเชต์ ขาลงอยู่ 8 ปีนะ”

“ประยุทธ์ตอนนี้ก็ยังแข็งแรงอยู่ ...เพราะว่าประยุทธ์เนี่ย เขาไม่ได้อยู่ด้วยเสียงของประชาชน” จรัล กล่าว และชี้ว่าเป็นสถาบันอื่น ๆ ที่หนุนเขาอยู่

สำหรับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ แม้จะลี้ภัยออกมากว่า 9 ปีแล้ว เธอก็ยังมีหวังว่าประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริงอยู่ กลุ่ม ACT4DEM หรือ แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย ของเธอเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการรณรงค์ #SaveFaiyen ที่ช่วยให้วงไฟเย็นลี้ภัยได้สำเร็จ และเธอบอกว่านี่ทำให้บรรยากาศการเคลื่อนไหว “คึกคักขึ้น” โดยเฉพาะเรื่องการแสดงความคิดเห็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดกว้าง

จรรยา บอกว่า ในระดับหนึ่ง การเผยแพร่ชุดข้อมูลที่ไม่มีใครกล้าพูดถึงในไทยจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์และเผด็จการ “ซึ่งไม่ถูกท้าทาย อาจจะต้องระวัง”

เธอบอกว่า ประชาชนฉลาดพอ และสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ สามารถสร้างขั้วอำนาจของประชาชนที่จะสามารถเปิดการเจรจาและต่อรองกับอำนาจฝ่ายสถาบันพระมหากษัตริย์และฝ่ายกองทัพได้

สำหรับ อั้ม เนโกะ หรือ ศรัณย์ ฉุยฉาย อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยอย่างเข้มข้น แม้เธอจะยังไม่สิ้นหวังกับการเมืองไทย แต่เธอบอกกับบีบีซีไทยว่า จากนี้คงให้ใจกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เหตุผลหนึ่งคือเธอต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ประธานร่วมองค์กร ACCEPTESS-T ซึ่งให้การช่วยเหลือผู้อพยพที่มีความหลากหลายทางเพศในฝรั่งเศส และการเรียนต่อปริญญาโทด้านสังคมวิทยา

แต่อีกเหตุผลสำคัญคือ อั้มรู้สึกถึงความย้อนแย้งในกลุ่มคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่กลับ “ไม่เห็นหัว” คนที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเธอทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเช่นกัน

“คนพวกนี้ไม่สมควรได้รับอะไรมากเท่าไหร่ คือแค่เราทำเนี่ย ทำประโยชน์ให้แก่ขบวนการเนี่ย ก็ถือว่าเยอะพอแล้ว ...แต่ถึงเวลามีปัญหาเรื่องของการเหยียดเพศ การเกลียดกลัวคนข้ามเพศ อะไรต่าง ๆ นานา ที่มันเป็นกลุ่มคนของเราเนี่ย คนที่เป็นขบวนการหลัก ๆ ในกลุ่มประชาธิปไตยไม่เคยช่วยอะไรเลย”

อั้มบอกว่า ประเด็นนี้กลับเป็นปัญหาอันดับรองแม้ว่ากลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนพิการ และสิทธิของผู้อพยพ ก็เป็นประเด็นหลักของการต่อสู้ประชาธิปไตยเช่นกัน

ถึงแม้ว่าตัวเธอเองจะไม่เคลื่อนไหวอะไรไปมากกว่านี้ แต่ก็ย้ำว่าการเมืองไทยจะเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ ก็ด้วยพลังมวลชน ไม่ใช่แค่จากพรรคการเมือง

“คนจริง ๆ บนท้องถนน ไม่ใช่บนทวิตเตอร์ ไม่ใช่เฟซบุ๊ก ไม่ใช่แฮชแท็กกี่แสน”

นักวิชาการ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ ผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ที่ทรงอิทธิพลและมีผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียมากที่สุดคนหนึ่ง เขาเป็นคน 6 ตุลาฯ อีกคนที่ต้องกลายมาเป็นผู้ลี้ภัยยุค คสช.

บีบีซีไทยได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์สมศักดิ์แต่ไม่มีการตอบรับ อย่างไรก็ดี หลังจากอาการดีขึ้นจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกเมื่อปีที่แล้ว สมศักดิ์กลับมาเคลื่อนไหวในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อีก เมื่อวันที่ 23 ส.ค. เขาโพสต์บทความของศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ระบุว่า ปัจจุบันนี้ ยังมีนักโทษความผิดมาตรา 112 อีกอย่างน้อย 25 รายที่ยังถูกคุมขังในเรือนจำ พร้อมกับเขียนข้อความสั้น ๆ ว่า ”ไม่มีพรรคการเมืองที่ยืนอยู่เคียงข้างประชาชน”

ย้อนไปเมื่อปลายเดือน ก.ค. เขาโพสต์เสนอให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายแง่มุมด้วยกัน อาทิ ให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 112, ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 แบ่งทรัพย์สินออกเป็นสองส่วนชัดเจน (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง),  ยกเลิกการบริจาค/รับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด, ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความเห็นทางการเมือง และ ยกเลิกการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวทั้งหมด การให้การศึกษาแบบด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันฯ ทั้งหมด เป็นต้น

ความคิดเห็นของเขาตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับคนอีกหลายฝ่ายที่อยู่ในไทย รวมทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่เห็นว่าพระมหากษัตริย์คือศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ ต้องรักษากฎหมายมาตรา 112 เอาไว้ และไม่มีความจำเป็นต้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด

“หมดปัญญา”, “คึกคักขึ้น” และ “ให้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์” นี่คือสรุปทัศนะสั้น ๆ ต่อการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจากผู้ลี้ภัยไทยในยุโรปที่คนคุ้นหน้ากันมานานอย่าง จรัล ดิษฐาอภิชัย, จรรยา ยิ้มประเสริฐ และ อั้ม เนโกะ ตามลำดับ

บีบีซีไทยตามจรัลในวัย 72 ปี ขณะเขาเดินตามต้อย ๆ คอยแบกกีต้าร์ให้วงไฟเย็นไปที่จัดการแสดงครั้งแรกหลังลี้ภัยมาฝรั่งเศสสำเร็จ เราตามไปพูดคุยกับเขาถึงที่พักที่เขาเล่าว่าคนรู้จักถึงกับน้ำตาไหลเมื่อต้องมาเห็นสภาพ เป็นห้องแบ่งเช่าเล็ก ๆ ที่มีเพียงม่านบาง ๆ แทนประตู สูทและเสื้อเชิ้ตล้นตู้เสื้อผ้าออกมา

5 วันหลังรัฐประหาร เขาหนีออกจากไทย ตอนนี้ผ่านไป 5 ปีกว่าแล้ว จากสัญลักษณ์แห่งนักต่อสู้ คนจำนวนไม่น้อยเริ่มมองว่าเขาเป็นตัวแทนของความสิ้นหวังเช่นกัน เราโยนคำถามใส่เขาไม่ยั้ง “ยังมีความหวังอยู่ไหม”, “ทำไปเพื่ออะไร”, “จะสู้อย่างไร”, “แล้วไงต่อ” ฯลฯ

“ก็เหมือนเราต้องกินข้าวทุกวัน ทั้ง ๆ ที่ข้าวไม่น่ากิน ข้าวบูด การเป็นนักต่อสู้กับการเข้าร่วมการต่อสู้มันต่างกันตรงนี้” อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว

อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติวัย 72 ปี ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่ห้องพักในกรุงปารีส

อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติวัย 72 ปี ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยที่ห้องพักในกรุงปารีส

การต่อสู้ของจรัลเริ่มต้นตั้งแต่การเข้าป่าถึง 7 ปีหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เขากล่าวเปรียบเทียบว่าในขณะที่ตอนนั้น “มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” เพราะมีทั้งอุดมการณ์ ทฤษฎี และพรรคคอมมิวนิสต์ ตอนนี้ไม่มีอุดมการณ์อะไรเลยนอกจากคำว่าประชาธิปไตย

“หลังจากรัฐประหารมา มีคนถามว่าจะสู้ยังไงจะชนะ ถ้าเป็นสมัยก่อนผมตอบพวกคุณได้ 3 วัน [แต่]เวลานี้ผมไม่มีปัญญา และผมไม่เชื่อว่าใครจะมีปัญญาตอบได้ในประเทศไทย”

จรัลบอกว่า “ไม่รู้สึกอะไร” หากคนจะบอกว่าสิ่งที่เขาทำอยู่ไร้ความหมายและไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร “เพราะไม่มีใครสู้แล้วมีความหมายอะไร ...ตอนนี้อะ ไม่ว่าเคลื่อนไหวอะไร ไม่ว่าจะใหญ่เล็ก ไม่มีผลอะไรหรอก”

“...แต่พวกคุณต้องยืนหยัดต่อสู้ต่อไป ถ้าคุณไม่ยืนหยัดต่อสู้อะ ถ้าคุณไม่ยืนหยัดต่อสู้นะ ไอ้คำถามว่าต่อสู้ยังไง เป็นคำถามที่ไม่มีความหมายเลย ไม่มีประโยชน์เลย ก็คุณไม่สู้แล้วหนิ”

อดีตแกนนำ นปช. บอกว่า หลายคนชอบวิเคราะห์การเมืองตามที่ตัวเองอยากจะให้เป็น แทนที่จะดูตามความจริง

“เวลาเราพูดว่าผู้นำประเทศอยู่ขาลง มันไม่ได้ลงแบบของหนักตกลงพื้น [เผด็จการชิลี นายพลออกุสโต] ปิโนเชต์ ขาลงอยู่ 8 ปีนะ”

“ประยุทธ์ตอนนี้ก็ยังแข็งแรงอยู่ ...เพราะว่าประยุทธ์เนี่ย เขาไม่ได้อยู่ด้วยเสียงของประชาชน” จรัล กล่าว และชี้ว่าเป็นสถาบันอื่น ๆ ที่หนุนเขาอยู่

สำหรับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ แม้จะลี้ภัยออกมากว่า 9 ปีแล้ว เธอก็ยังมีหวังว่าประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริงอยู่ กลุ่ม ACT4DEM หรือ แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย ของเธอเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการรณรงค์ #SaveFaiyen ที่ช่วยให้วงไฟเย็นลี้ภัยได้สำเร็จ และเธอบอกว่านี่ทำให้บรรยากาศการเคลื่อนไหว “คึกคักขึ้น” โดยเฉพาะเรื่องการแสดงความคิดเห็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดกว้าง

จรรยา บอกว่า ในระดับหนึ่ง การเผยแพร่ชุดข้อมูลที่ไม่มีใครกล้าพูดถึงในไทยจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์และเผด็จการ “ซึ่งไม่ถูกท้าทาย อาจจะต้องระวัง”  

จรรยา เป็นผู้ริเริ่มการรณรงค์ #SaveFaiyen ซึ่งช่วยให้วงไฟเย็นลี้ภัยมาฝรั่งเศสสำเร็จในที่สุด

จรรยา เป็นผู้ริเริ่มการรณรงค์ #SaveFaiyen ซึ่งช่วยให้วงไฟเย็นลี้ภัยมาฝรั่งเศสสำเร็จในที่สุด

เธอบอกว่า ประชาชนฉลาดพอ และสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ สามารถสร้างขั้วอำนาจของประชาชนที่จะสามารถเปิดการเจรจาและต่อรองกับอำนาจฝ่ายสถาบันพระมหากษัตริย์และฝ่ายกองทัพได้

สำหรับ อั้ม เนโกะ หรือ ศรัณย์ ฉุยฉาย แม้จะยังไม่สิ้นหวังกับการเมืองไทย แต่เธอบอกกับบีบีซีไทยว่า จากนี้คงให้ใจกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เหตุผลหนึ่งคือเธอต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ประธานร่วมองค์กร ACCEPTESS-T ซึ่งให้การช่วยเหลือผู้อพยพที่มีความหลากหลายทางเพศในฝรั่งเศส และการเรียนต่อปริญญาโทด้านสังคมวิทยา 

แต่อีกเหตุผลสำคัญคือ อั้มรู้สึกถึงความย้อนแย้งในกลุ่มคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่กลับ “ไม่เห็นหัว” คนที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเธอทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเช่นกัน 

“คนพวกนี้ไม่สมควรได้รับอะไรมากเท่าไหร่ คือแค่เราทำเนี่ย ทำประโยชน์ให้แก่ขบวนการเนี่ย ก็ถือว่าเยอะพอแล้ว ...แต่ถึงเวลามีปัญหาเรื่องของการเหยียดเพศ การเกลียดกลัวคนข้ามเพศ อะไรต่าง ๆ นานา ที่มันเป็นกลุ่มคนของเราเนี่ย คนที่เป็นขบวนการหลัก ๆ ในกลุ่มประชาธิปไตยไม่เคยช่วยอะไรเลย”

อั้มบอกว่า ประเด็นนี้กลับเป็นปัญหาอันดับรองแม้ว่ากลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนพิการ และสิทธิของผู้อพยพ ก็เป็นประเด็นหลักของการต่อสู้ประชาธิปไตยเช่นกัน

อั้มมองว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงต้องการเคลื่อนไหวที่เป็นภาคประชาชนจริง ๆ 

อั้มมองว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงต้องการเคลื่อนไหวที่เป็นภาคประชาชนจริง ๆ 

เธอบอกว่า ประชาชนฉลาดพอ และสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ สามารถสร้างขั้วอำนาจของประชาชนที่จะสามารถเปิดการเจรจาและต่อรองกับอำนาจฝ่ายสถาบันพระมหากษัตริย์และฝ่ายกองทัพได้

สำหรับ อั้ม เนโกะ หรือ ศรัณย์ ฉุยฉาย อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยอย่างเข้มข้น แม้เธอจะยังไม่สิ้นหวังกับการเมืองไทย แต่เธอบอกกับบีบีซีไทยว่า จากนี้คงให้ใจกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เหตุผลหนึ่งคือเธอต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ประธานร่วมองค์กร ACCEPTESS-T ซึ่งให้การช่วยเหลือผู้อพยพที่มีความหลากหลายทางเพศในฝรั่งเศส และการเรียนต่อปริญญาโทด้านสังคมวิทยา

แต่อีกเหตุผลสำคัญคือ อั้มรู้สึกถึงความย้อนแย้งในกลุ่มคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่กลับ “ไม่เห็นหัว” คนที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเธอทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเช่นกัน

“คนพวกนี้ไม่สมควรได้รับอะไรมากเท่าไหร่ คือแค่เราทำเนี่ย ทำประโยชน์ให้แก่ขบวนการเนี่ย ก็ถือว่าเยอะพอแล้ว ...แต่ถึงเวลามีปัญหาเรื่องของการเหยียดเพศ การเกลียดกลัวคนข้ามเพศ อะไรต่าง ๆ นา ๆ ที่มันเป็นกลุ่มคนของเราเนี่ย คนที่เป็นขบวนการหลัก ๆ ในกลุ่มประชาธิปไตยไม่เคยช่วยอะไรเลย”

อั้มบอกว่า ประเด็นนี้กลับเป็นปัญหาอันดับรองแม้ว่ากลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนพิการ และสิทธิของผู้อพยพ ก็เป็นประเด็นหลักของการต่อสู้ประชาธิปไตยเช่นกัน

ถึงแม้ว่าตัวเธอเองจะไม่เคลื่อนไหวอะไรไปมากกว่านี้ แต่ก็ย้ำว่าการเมืองไทยจะเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ ก็ด้วยพลังมวลชน ไม่ใช่แค่จากพรรคการเมือง

 “คนจริง ๆ บนท้องถนน ไม่ใช่บนทวิตเตอร์ ไม่ใช่เฟซบุ๊ก ไม่ใช่แฮชแท็กกี่แสน” 

นักวิชาการ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ ผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ที่ทรงอิทธิพลและมีผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียที่สุด เขาเป็นคน 6 ตุลาฯ อีกคนที่ต้องกลายมาเป็นผู้ลี้ภัยยุค คสช.

บีบีซีไทยได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์สมศักดิ์แต่ไม่มีการตอบรับ อย่างไรก็ดี หลังจากอาการดีขึ้นจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกเมื่อปีที่แล้ว สมศักดิ์กลับมาเคลื่อนไหวในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อีก เมื่อวันที่ 23 ส.ค. เขาโพสต์บทความของศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ระบุว่า ปัจจุบันนี้ ยังมีนักโทษความผิดมาตรา 112 อีกอย่างน้อย 25 รายที่ยังถูกคุมขังในเรือนจำ พร้อมกับเขียนข้อความสั้น ๆ ว่า ”ไม่มีพรรคการเมืองที่ยืนอยู่เคียงข้างประชาชน”

ย้อนไปเมื่อปลายเดือน ก.ค. เขาโพสต์เสนอให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายแง่มุมด้วยกัน อาทิ ให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 112, ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 แบ่งทรัพย์สินออกเป็นสองส่วนชัดเจน (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง),  ยกเลิกการบริจาค/รับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด, ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความเห็นทางการเมือง และ ยกเลิกการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวทั้งหมด การให้การศึกษาแบบด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันฯ ทั้งหมด เป็นต้น

ความคิดเห็นของเขาตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับคนอีกหลายฝ่ายที่อยู่ในไทย รวมทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่เห็นว่าพระมหากษัตริย์คือศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ ต้องรักษากฎหมายมาตรา 112 เอาไว้ และไม่มีความจำเป็นต้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด

เครดิต

เรื่อง : บีบีซีไทย

กราฟฟิก : อาร์วิน สุปรียาดี

รูป : บีบีซีไทย, เควิน คิม, Getty Images, วงไฟเย็น, ประชาไท, กัญญา ธีรวุฒิ, หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.), วัฒน์ วรรลยางกูร, ธีรพันธ์ เงาจีนานันต์, กริชสุดา คุณะแสน, จอม เพชรประดับ

ตีพิมพ์วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562