โควิด-19 : ไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม 29 ราย หมอทวีศิลป์ ชี้บทเรียนญี่ปุ่น สิงคโปร์ เตือนคนไทยอย่าการ์ดตก

Covid-19

ที่มาของภาพ, THAI NEWS PIX

จากการรายงานของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) วันนี้ (16 เม.ย.) โดยนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุว่าวันนี้มีผู้ป่วยกระจายตัวอยู่ใน 68 จังหวัด และยังคงมากสุดช่วง 20-29 ปี ผู้ป่วยลดลงหลังครบ 14 วันหลังมีการประกาศเคอร์ฟิว แต่ย้ำยัง "ไม่ผ่อน" ความเข้มข้นของมาตรการ

"ผลของวันนี้ที่ดีมาจากที่เราทำเมื่อ 14 วันที่แล้ว...แล้วเราบอกว่าวันนี้เราจะผ่อนแล้ว ผ่อนคลายละ พรุ่งนี้ก็อาจจะดีอยู่ แต่อีก 14 วันอาจจะมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้" นพ.ทวีศิลป์กล่าว

ผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นมาในวันนี้ จำนวน 3 ราย มีรายละเอียดดังนี้

ผู้เสียชีวิตรายที่ 44 เป็นชายชาวมาเลเซีย อายุ 55 ปี อาชีพไกด์ ไม่มีโรคประจำตัวแต่อย่างใด แต่มีความเสี่ยงคือได้นำเที่ยวที่ประเทศจอร์เจียและมีลูกทัวร์ป่วยติดเชื้อ เดินทางกลับไปไทยเมื่อวันที่ 19 มี.ค. เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 21 มี.ค. แต่เริ่มมารักษาวันที่ 29 มี.ค. ด้วยอาการไอ เหนื่อน ออกซิเจนในเลือดลดลงเหลือ 88 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นปอดอักเสบ ตรวจโควิด-19 ยืนยันติดเชื้อ หลังจากนั้นสองสัปดาห์อาการแย่ลงและเสียชีวิต

ผู้เสียชีวิตรายที่ 45 เป็นหญิงไทยอายุ 35 ปี อาชีพพนักงานบริษัท มีโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เริ่มป่วยวันที่ 20 มี.ค. ด้วยอาการไอ เหนื่อย เข้ารักษาตัวครั้งแรกที่โรงพยาบาลเอกชน และกลับมารักษาอีกครั้งเพราะไอ เหนื่อยมากขึ้น เอ็กซเรย์ปอดพบปอดอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ผลยืนยันติดเชื้อเมื่อวันที่ 27 มี.ค. หลังจากนั้นอาการแย่ลงก่อนเสียชีวิตในวันที่ 25 เม.ย.

ผู้เสียชีวิตรายที่ 46 เป็นชายไทยอายุ 37 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไปขับรถแบคโฮร์ ความเสี่ยงคือ ภรรยาทำงานเป็นพนักงานร้านอาหารย่านสุขุมวิท หลังปิดร้านเดินทางกลับบ้าน ที่ จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ต่อมาไข้สูงจึงเข้ารักษาที่คลินิก และพบทอนซิลอักเสบร่วม หลังจากนั้นรักษาที่คลินิกหลายครั้งแต่อาการไม่ดีขึ้น ต้นเดือน เม.ย. ไปรักษาที่โรงพยาบาล และอาการทรุดลงต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 เม.ย.

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ยืนยันวันนี้มีทั้งหมด 29 ราย แบ่งเป็นกลุ่มดังนี้

  • ผู้ที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้า 14 ราย
  • ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ได้แก่ คนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ 2 ราย กลุ่มที่ไปสถานที่ชุมนุมชน 1 ราย อาชีพเสี่ยง 2 ราย
  • อยู่ระหว่างการรอสอบสวนโรค 10 ราย

โฆษก ศบค. ยังเปิดเผยข้อมูลจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 14 วัน (2-15 เม.ย.) ทั้งหมด 25 จังหวัด และจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อนรวม 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าน บึงกาฬ พิจิตร ระนอง สิงห์บุรี อ่างทอง

สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19. ติดเชื้อ: 4,026 เสียชีวิต: 60 หายแล้ว: 3,822.  .

สำหรับยอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมจนถึงขณะนี้ประเทศไทยมี 2,672 ราย กระจายใน 68 จังหวัด สูงสุดที่กรุงเทพฯ 1,349 ราย ตามด้วย จ.ภูเก็ต 191 ราย นนทบุรี 148 ราย สมุทรปราการ 108 ราย เป็นต้น โดยภูเก็ตยังคงมีอัตราส่วนการป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด

โดยทั่วโลกนั้นมีผู้ป่วยสะสมเกินกว่า 2 ล้านคน และเสียชีวิต 134,616 ราย ในช่วงเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์การระบาดยังคงน่าเป็นห่วง นอกจากประเทศฝั่งอเมริกา และยูโรป ด้านเอเชีย อย่างอินเดียก็มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 883 คนในวันเดียว ญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น 741 ราย

ถอดบทเรียนประเทศในเอเชีย

กรณีประเทศเกาหลีใต้ที่ขณะนี้มีผู้ป่วยสะสม 10,613 ราย แต่วานนี้ (15 เม.ย.) มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเพียง 22 รายนั้น นพ.ทวีศิลป์ อธิบายว่า ประเทศเกาหลีใต้ใช้ 4 นโยบายหลักในการควบคุมสถานการณ์ คือ เปิดเผยข้อมูความเป็นจริง กักกันเชื้อ และชะลอการแพร่ระบาด ซึ่งคล้ายกับการ "Quarantiene" ในบ้านเราที่รู้จักกัน ผสมผสานกับการเว้นระยะห่างทางสังคม ระบบการตรวจและการรักษา

ท้ายสุดคือการคัดกรองอย่างกว้างขวางและระบบการติดตามผู้ป่วยสงสัยแบบ Fast Tracking

โฆษก ศบค.อธิบายว่า นโยบายของเกาหลีใต้มีความแตกต่างกับไทยที่ใช้ระบบ Active case finding คือการหากลุ่มเสี่ยงเฉพาะกลุ่ม ซึ่งปรับให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ แต่ก็ได้ผลไม่ต่างกันทางสถิติ

Covid-19

ที่มาของภาพ, THAI NEWS PIX

นพ.ทวีศิลป์ ชี้ว่าประการหนึ่งที่ไทยยังต้องพัฒนา คือ การติดตามบุคคลอย่างเคร่งครัด ซึ่งเกาหลีใต้มีการติดตามผ่านแอพลิเคชั่นที่ดึงข้อมูลจากโทรศัพท์ผู้ติดเชื้อ มีการทำแผนที่ผู้ติดเชื้อ และแจ้งเตือนผ่าน SMS หากพื้นที่ใดมีผู้ติดเชื้อเข้าสู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง อีกทั้งพัฒนาการประกอบกิจกรรมทงศาสนาออนไลน์

"ของไทยเราเรื่องสิทธิส่วนบุคคลยังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสูงยิ่ง" นพ.ทวีศิลป์กล่าว

ในขณะที่ประเทศจีนมีการเปิดผยข้อมูลว่าในผู้ติดเชื้อกว่า 6,764 ราย มีเพียง 1,297 คนเท่านั้นที่แสดงอาการ เมื่อมีอัตราการป่วยต่ำจึงเป็นเหตุให้มีพาหะที่ยังใช้ชีวิตปกติในสังคมได้ จึงมีข้อมูลเพิ่มเติมว่า "การสูญเสียการได้กลิ่น" และ "สูญเสียการรับรส" อาจเป็นข้อบางชี้เพิ่มเติม

"สิ่งที่บอกว่าไอแห้ง ๆ มีไข้ ถ้าสิงอย่างนี้คือมีอาการอย่างนี้มากัน แต่ถ้าเพิ่มเติมขึ้นมาอีกสองอาการ คือ ศูนย์เสียการได้กลิ่น...อันที่สองคือรับรส"

เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นที่รัฐออกมาคาดการว่า หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือใรการเว้นระยะห่างทางสังคม อาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงถึง 850,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 8,000 คน ความน่ากังวลอย่างหนึ่งคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอยู่มาก

"ญี่ปุ่นตัวเลขที่เป็นกราฟชันขึ้นมา การ์ดมันตกอย่างที่ผมพูดมันเกิดขึ้นแล้วในญี่ปุ่น สิงคโปร์ สิ่งที่ท่านเรียกร้องอยากจะผ่อนคลายให้ดูประเทศเหล่านี้" นพ.ทวีศิลป์กล่าว

มาตรการนำคนไทยกลับบ้านนั้น โฆษก ศบค. กล่าวว่า ในช่วงวันที่ 16-19 เม.ย. นี้จะมีนักเรียนไทยในอเมริกาเดินทางกลับมาอีก 412 คน รวมถึงคนทำงานในบังกลาเทศ 35 คน มัลดีฟส์ 55 คน และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 119 คน ซึ่งจะมีการดูแลในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้

โฆษก สคบ. กล่าวว่า ประชาชนยังคงต้องใช้มาตรการดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด ถึงแม้ว่า 30 เม.ย.นี้จะสิ้นสุดระยะเวลาเคอร์ฟิว แต่ก็ไม่มีข้อยืนยันว่าสถานการณ์จะไม่เลวร้ายหากประเทศอื่น ๆ ยังมีการติดเชื้อสูง "เราเองทำตัวเลขได้สองหลัก แต่ข้างๆ บ้านเราเป็นตัวเลขสามหลัก เหมือนเราเป็นไข้เลือกออก...บ้านเราไม่มียุงแน่ๆ แต่ข้างบ้านเราเป็นไข้เลือดออก ท่านคิดเหรอครับว่าท่านจะปลอดภัย"