ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา: ครบรอบ 25 ปี เหตุสังหาร 8 แสนชีวิตภายใน 100 วัน

Photographs of victims in the Kigali genocide memorial

ที่มาของภาพ, AFP

Presentational white space

ในปี 1994 ภายในช่วงเวลาแค่ 100 วัน กลุ่มหัวรุนแรงเชื้อสายฮูตูได้สังหารผู้คนไปราว 8 แสนคน มุ่งเป้าไปที่ชาวทุตซี ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรวันดา รวมถึงศัตรูทางการเมืองโดยไม่สนใจว่าคนเหล่านั้นจะมีชาติพันธุ์อะไร

คำเตือน : มีภาพที่อาจทำให้ไม่สบายใจ

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มต้นได้อย่างไร

85 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในรวันดาเป็นชาวฮูตู แต่เป็นชาวทุตซี ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่เป็นชนชั้นนำปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ในปี 1959 ชาวฮูตูล้มล้างระบอบกษัตริย์ของชาวทุตซี ทำให้ชาวทุตซีหลายหมื่นคนต้องอพยพลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ยูกันดา

ต่อมา ผู้ลี้ภัยชาวทุตซีรวมตัวกันเป็นกลุ่มติดอาวุธชื่อ กลุ่มแนวร่วมผู้รักชาติรวันดา หรือ อาร์พีเอฟ โดยบุกเข้าสู้รบในรวันดาในปี 1990 ต่อเนื่องจนมีการบรรลุข้อตกลงสันติภาพในปี 1993

อย่างไรก็ตาม คืนวันที่ 6 เม.ย. ปี 1994 เครื่องบินที่มี จูเวนัล ฮับยาริมานา ประธานาธิบดีรวันดา และไซเปรียน ทายามิรา ประธานาธิบดีของบุรุนดี โดยสารอยู่ถูกยิงตกทำให้ผู้โดยสารทั้งหมดเสียชีวิต

A genocide memorial in Murambi, Rwanda, seen in 2006.

ที่มาของภาพ, Alex Majoli / Magnum Photos

Presentational white space

ประธานาธิบดีทั้งสองคนต่างก็เป็นชาวฮูตู และกลุ่มหัวรุนแรงชาวฮูตูก็กล่าวหาว่ากลุ่มอาร์พีเอฟ อยู่เบื้องหลังเหตุดังกล่าว และเริ่มขบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฝ่ายอาร์พีเอฟบอกว่าชาวฮูตูเป็นฝ่ายยิงเองและใช้เหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างในการเริ่มโจมตี

ดำเนินการอย่างไร

มีการวางแผนจัดการอย่างละเอียดรอบคอบ ศัตรูรัฐบาลถูกจับตัวส่งกลุ่มติดอาวุธ และถูกสังหารพร้อมกับครอบครัวของพวกเขา

Hutu militiamen in 1994

ที่มาของภาพ, AFP

เพื่อนบ้านฆ่าฟันกันเอง และสามีบางคนถึงขั้นสังหารภรรยาตัวเอง โดยบอกว่าพวกเขาจะถูกฆ่าเองหากไม่ให้ความร่วมมือ

ในตอนนั้น มีการระบุชาติพันธุ์บนบัตรประชาชน กลุ่มติดอาวุธก็ใช้วิธีตั้งด่านตรวจตามท้องถนนและชาวทุตซีก็ถูกสังหารบริเวณนั้น บ่อยครั้งเป็นการใช้มีดขนาดใหญ่ (machete) ที่ชาวรวันดาส่วนใหญ่มีไว้ในครอบครอง

A wounded person looks at the camera

ที่มาของภาพ, Gilles Peress / Magnum Photos

Presentational white space

ผู้หญิงชาวทุตซีหลายพันคนถูกจับตัวไปเป็นทาสเพื่อสนองความต้องการทางเพศ

ทำไมโหดร้ายถึงเพียงนี้

สังคมรวันดาเป็นสังคมที่ถูกควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นขั้นเป็นตอนจากระดับท้องถิ่นจนถึงระดับรัฐบาล พรรคปฏิวัติชาติเพื่อการพัฒนา หรือ MRND ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้นมีฝักฝ่ายของกลุ่มคนวัยหนุ่มที่ชื่อ Interahamwe ซึ่งกลายไปกลุ่มติดอาวุธและทำหน้าที่เป็นผู้สังหารในเวลาต่อมา

Wrapped up bodies line a dirt path

ที่มาของภาพ, Gilles Peress / Magnum Photos

Presentational white space

มีการขนส่งอาวุธและรายชื่อกลุ่มเป้าหมายไปยังมือสังหารในท้องที่ซึ่งรู้ว่าเหยื่อแต่ละคนอยู่ที่ไหน

กลุ่มหัวรุนแรงฮูตูก่อตั้งสถานีวิทยุ RTLM และหนังสือพิมพ์เพื่อใช้กระจายข่าวโฆษณาชวนเชื่อ เชื้อเชิญให้คน "ถอนรากถอนโคนแมลงสาบ" ซึ่งหมายถึงชาวทุตซี มีการอ่านรายชื่อเป้าหมายสำคัญ ๆ ออกอากาศ

แม้แต่บาทหลวงและแม่ชีก็ถูกตัดสินโทษฐานฆาตกรรมด้วย เหยื่อบางคนเป็นคนที่เข้ามาขอที่พักพิงในโบสถ์

Ntarama Genocide Memorial

ที่มาของภาพ, Larry Towell / Magnum Photos

Presentational white space

จบช่วงเวลา 100 วัน ชาวทุตซีและชาวฮูตูที่ไม่ใช่พวกหัวรุนแรง รวม 8 แสนคน ถูกสังหาร

มีใครพยายามจะหยุดยั้งไหม

สหประชาชาติและเบลเยียมมีกองกำลังอยู่ในรวันดา แต่สหประชาชาติไม่ได้รับคำสั่งให้หยุดยั้งการฆ่าล้างในครั้งนี้ได้

A wall with the word "Hutu" written on. Hutus living in this house scrawled their ethnicity on the wall to prevent looting

ที่มาของภาพ, Gilles Peress / Magnum Photos

Presentational white space

นั่นเป็นช่วงหนึ่งปีหลังจากทหารสหรัฐฯ ถูกสังหารในโซมาเลีย พวกเขาตั้งใจจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งในแอฟริกาอีก เบลเยียมและกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาติถอนตัวหลังจากทหารเบลเยียม 10 คนถูกสังหาร

ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลฮูตูในตอนนั้น ส่งกองกำลังพิเศษเพื่อไปช่วยเหลืออพยพคนชาติตัวเองและจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยในเวลาต่อมา พวกเขาถูกกล่าวหาว่าไม่พยายามอย่างเพียงพอที่จะหยุดยั้งการสังหาร

French soldiers on patrol pass ethnic Hutu troops from the Rwandan government forces 27 June 1994, near Gisenyie, about 10kms from the border with Zaire.

ที่มาของภาพ, AFP

คำบรรยายภาพ,

พอล คากาเม ประธานาธิบดีรวันดาคนปัจจุบัน กล่าวหาฝรั่งเศสว่าให้การสนับสนุนกลุ่มผู้สังหาร แต่ทางการฝรั่งเศสปฏิเสธ

พอล คากาเม ประธานาธิบดีรวันดาคนปัจจุบัน กล่าวหาฝรั่งเศสว่าให้การสนับสนุนกลุ่มผู้สังหาร แต่ทางการฝรั่งเศสปฏิเสธ

จบอย่างไร

กลุ่มอาร์พีเอฟ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพรวันดา ค่อยๆ ยึดพื้นที่คืนจนกระทั่งเดินทัพเข้าสู่กรุงคิกาลี เมืองหลวงของประเทศ

RPF fighters march into Kigali

ที่มาของภาพ, AFP

ชาวฮูตูราว 2 ล้านคน ทั้งที่เป็นพลเรือนและพวกที่ลงมือในการสังหารหมู่ อพยพหนีไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ขณะนั้นมีชื่อว่า แซร์) ด้วยความหวาดกลัวถูกแก้แค้น บางส่วนอพยพหนีไปทานซาเนียและบุรุนดี

กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า กองกำลังอาร์พีเอฟสังหารพลเรือนชาวฮูตูหลายพันคนขณะยึดอำนาจคืน และมากกว่านั้นอีกขณะตามล่ากลุ่ม Interahamwe ในคองโก อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาร์พีเอฟให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

A crowd of refugees travelling with their belongings

ที่มาของภาพ, Gilles Peress / Magnum Photos

Presentational white space

ที่คองโก คนหลายพันเสียชีวิตจากอหิวาตกโรค กลุ่มช่วยเหลือหลายกลุ่มถูกกล่าวหาว่าให้การช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธฮูตูมากเกินไป

เกิดอะไรขึ้นที่คองโก

กลุ่มอาร์พีเอฟ ซึ่งเป็นฝ่ายครองอำนาจในรวันดาในขณะนี้ อ้าแขนรับกลุ่มติดอาวุธที่ต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธฮูตู และกองทัพคองโก ซึ่งให้การสนับสนุนฝ่ายฮูตูในตอนนั้น

ในเวลาต่อมา กลุ่มติดอาวุธซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรวันดาเดินทัพไปยังกรุงคินชาซา เมืองหลวงคองโก และล้มล้างรัฐบาลของ โมบูตู เซเซ เซโก และแต่งตั้ง ลอว์เรน คาลิบา ขึ้นเป็นผู้นำแทน

map

การไม่จัดการกับกลุ่มติดวุธฮูตูอย่างเต็มที่ของรัฐบาลใหม่ได้นำไปสู่กลุ่มสงครามระลอกใหม่ซึ่งพา 6 ประเทศเข้ามาเกี่ยวพัน เป็นผลให้เกิดกลุ่มติดอาวุธใหม่ที่ต่อสู้เพื่อยึดครองพื้นที่ในประเทศที่มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์

Rwandan-backed M23 rebels in eastern DR Congo - 2013

ที่มาของภาพ, AFP

คำบรรยายภาพ,

ฝั่งตะวันออกของคองโกต้องเผชิญกับสถานการณ์วุ่นวายมาหลายทศวรรษหลังจากเหตุฆ่าล่างเผ่าพันธุ์ในรวันดา

คาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิต 5 ล้านคนจากความขัดแย้งที่ดำเนินมาจนถึงปี 2003 และกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มก็ยังปฏิบัติการอยู่จนถึงทุกวันนี้บริเวณใกล้เคียงชายแดนรวันดา

มีใครถูกดำเนินคดีหรือยัง

ศาลอาญาระหว่างประเทศเพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นเวลานานจึงไม่สามารถดำเนินคดีได้

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสำหรับคดีอาญาในรวันดา ในเมืองอรุสชา ของทานซาเนีย เพื่อดำเนินคดีกับผู้นำกลุ่มผู้สังหาร

Genocide suspects seen in Kigali prison, Rwanda- 1994

ที่มาของภาพ, Raymond Depardon / Magnum Photos

Presentational white space

ชาวฮูตู 93 คนถูกตั้งข้อหา และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายสิบคนถูกตัดสินมีความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลังจากการพิจารณาคดีที่ยืดยาวและเสียค่าใช้จ่ายมาก

ในรวันดา มีศาลระดับชุมชน หรือที่เรียกกันว่า gacaca ถูกตั้งขึ้นเพื่อดำเนินคดีผู้ต้องหาที่นับแสนคนที่รอการพิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อยู่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ต้องหามากถึงหมื่นคนที่เสียชีวิตในเรือนจำขณะรอพิจารณาคดี

A witness facing the president (with umbrella) of a gacaca court session in Rukira, during a hearing in relation with the 1994 Rwandan genocide - 3 December 2003

ที่มาของภาพ, AFP

คำบรรยายภาพ,

ศาลระดับชุมชน หรือที่เรียกันว่า gacaca ถูกตั้งขึ้นเพื่อดำเนินคดีผู้ต้องหาที่นับแสนคนที่รอการพิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ระหว่างปี 2002-2012 ศาลระดับชุมชน 12,000 แห่งในหมู่บ้านทั่วประเทศมีการพบปะกันสัปดาห์ละครั้ง พิจารณาคดีมากกว่า 1.2 ล้านคดี

ตอนนี้รวันดาเป็นอย่างไรบ้าง

ประธานาธิบดีคากาเม ได้รับการชื่นชมว่าสามารถเปลี่ยนให้ประเทศเล็ก ๆ ซึ่งถูกทำลายล้าง กลับมามีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้ด้วยการใช้นโยบายต่าง ๆ เขายังได้เปลี่ยนให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีด้วย

Street scene in Kigali, Rwanda - 2018

ที่มาของภาพ, Getty Images

อย่างไรก็ตาม มีผู้วิพากษ์วิจารณ์เขาว่าไม่อดทนอดกลั้นต่อผู้ที่เห็นต่าง และก็มีคนที่อยู่ขั้วตรงข้ามทางการเมืองที่เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำทั้งในและต่างประเทศ

Rwandan President Paul Kagame (C) greets a crowd of supporters holding electoral posters, as he arrives for a rally in Gakenke, on 31 July 2017

ที่มาของภาพ, AFP

คำบรรยายภาพ,

นายคากาเม ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ด้วยคะแนนท่วมท้น เมื่อปี 2017

แน่นอน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยังเป็นประเด็นอ่อนไหวในรวันดา และก็เป็นเรื่องผิดกฎหมายที่จะพูดเรื่องชาติพันธุ์ รัฐบาลบอกว่านั่นเป็นหนทางที่จะป้องกันคำพูดที่สร้างความเกลียดชังและไม่ให้มีการนองเลือดอีก แต่บางฝ่ายมองว่านั่นเป็นอุปสรรคของการประนีประนอมที่แท้จริง

ในปี 2017 นายคากาเม ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ด้วยคะแนนเสียงถึง 98.63 เปอร์เซ็นต์