ไวรัสโคโรนา : ก๊าซพิษในหลายชาติยุโรปลด หลังปิดประเทศสู้โควิด-19

France

ที่มาของภาพ, Copernicus/KNMI/ESA

คำบรรยายภาพ, สภาพมลพิษในฝรั่งเศสปีนี้
Presentational white space
France

ที่มาของภาพ, Copernicus/KNMI/ESA

คำบรรยายภาพ, สภาพมลพิษในฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว
Presentational white space

ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นชัดเจนว่า คุณภาพอากาศที่ดีขึ้นในแถบยุโรปเป็นผลพวงมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

แผนที่ประกอบบทความนี้แสดงความเปลี่ยนแปลงของไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล บริเวณที่เป็นสีแดงอ่อนหมายถึงมี NO2 ในระดับต่ำ ยิ่งสีแดงอ่อนมาก ก็แสดงว่ามี NO2 ต่ำมาก

มาตรการปิดสถานที่สำคัญ และให้ประชาชนอยู่ภายในบ้าน ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวจนส่งผลให้ปริมาณการปล่อย NO2 น้อยลงตามไปด้วย

สถาบันพยากรณ์อากาศแห่งเนเธอร์แลนด์ (KNMI) เป็นผู้จัดทำภาพแผนที่ดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลจาก เครื่องมือวัดเชิงแสงบนยานดาวเทียม โคเปอร์นิคัส เซนติเนล 5-พี (Copernicus Sentinel-5P) ที่คอยตรวจสอบก๊าซชนิดต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศโลก เช่น NO2 ซึ่งเป็นหนึ่งในสารมลพิษทางอากาศที่นำมาใช้วัดดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)

เมื่อลองนำปริมาณก๊าซในช่วงวันที่ 14-25 มี.ค. 2020 มาเปรียบเทียบกับกับค่าเฉลี่ยเมื่อมี.ค. 2019 ก็พบความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างก่อนและหลังวิกฤตไวรัสโคโรนา เช่น กรุงปารีส ฝรั่งเศส ที่เคยมี NO2 ระดับสีแดงเข้มก็ลดลงจนเหลือเพียงสีส้มอ่อน

Italy

ที่มาของภาพ, Copernicus/KNMI/ESA

คำบรรยายภาพ, ความเข้มข้นเฉลี่ยของ NO2 ในอิตาลีช่วงปิดประเทศในปีนี้
Presentational white space
Italy

ที่มาของภาพ, Copernicus/KNMI/ESA

คำบรรยายภาพ, ความเข้มข้นเฉลี่ยของ NO2 บริเวณตอนเหนือของอิตาลีเมื่อปีที่แล้ว
Presentational white space

มิลาน ทางตอนเหนือของอิตาลีที่มียอดผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ก็ปล่อยก๊าซพิษชนิดนี้น้อยลงเช่นกัน

"สำหรับประเทศจีน ผมมองว่าเรามีข้อประจักษ์ที่ชัดเจนมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีเวลานานให้เราเก็บข้อมูล ตอนนี้ก็เริ่มมีสัญญาณชี้ว่ามลพิษทางอากาศเริ่มกลับมาแล้วเพราะชาวจีนเริ่มกลับมาทำงานตามปกติเช่นเดิม เราจะคอยติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่า NO2 จะกลับมาเข้มข้นเหมือนช่วงก่อนไวรัสระบาดหรือเปล่า" เฮนก์ เอสเคส จาก KNMI กล่าว

The big Spanish centres show a marked reduction in NO2

ที่มาของภาพ, Copernicus/KNMI/ESA

คำบรรยายภาพ, ศูนย์กลางของสเปนมี NO2 เบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด
Presentational white space
Presentational white space

กรุงมาดริดและเมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน ก็มีปริมาณก๊าซ NO2 ลดลง

ทั้งนี้ สถิติจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า แต่ละปี มลพิษทางอากาศทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 7 ล้านคน นอกจากนี้ 91% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเขตที่คุณภาพอากาศเลวร้ายกว่าเกณฑ์ปลอดภัย และ 9 ใน 10 ของประชากรโลกหายใจเอาอากาศที่เป็นมลพิษเข้าไปในร่างกาย