ไวรัสโคโรนา : เราสามารถติดโรคโควิด-19 ซ้ำเป็นรอบที่สองได้หรือไม่

Woman putting face mask

ที่มาของภาพ, Getty Images

ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาบางรายได้รับการรักษาจนหาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป พบว่ากลับมาติดเชื้ออีกครั้ง สำหรับอาการป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น หวัดธรรมดา ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเอง แล้วไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ต่างจากตัวอื่น ๆ อย่างไร

ผู้ชายวัย 70 กว่าปีคนหนึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในกรุงโตเกียวจนหายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา อย่างไรก็ดี สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค(NHK) ระบุว่า หลังจากกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ใช้รถสาธารณะได้ ไม่กี่วันต่อมาเขากลับมาป่วยเป็นไข้ และภายหลังตรวจพบว่าเขาติดเชื้อไวรัสโคโรนาอีกครั้ง

นี่ไม่ใช่กรณีเดียวที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

Boris Johnson addresses questions about coronavirus in a press briefing

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็ติดโรคโควิด-19 เช่นกัน

กลับมาใหม่

ลูอิส ฮวาเนส นักไวรัสวิทยาจากศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติสเปน (Spanish National Centre for Biotechnology) บอกกับบีบีซีว่า มีอย่างน้อย 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดโรคโควิด-19 ที่กลับมาตรวจพบว่าติดเชื้ออีกครั้ง แต่เขาเชื่อว่ามันไม่ใช่การติดเชื้อใหม่ แต่เป็นเชื้อไวรัสเดิมที่ฟื้นกลับมาอีกครั้ง

หนึ่งในคำอธิบายของเขาคือ ประชากรโดยรวมสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ แต่การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของคนบางคนยังช้าอยู่

"เมื่อระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองช้าลง ไวรัสซึ่งเหลืออยู่ที่ไหนสักแห่งในร่างกายจะกลับมาอีกครั้ง"

ไวรัสสามารถอยู่ในร่างกายได้

Person being tested for Covid-19

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, ผู้เชียวชาญบอกว่ามีอย่างน้อย 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดโรคโควิด-19 ที่กลับมาตรวจพบว่าติดเชื้ออีกครั้ง

ไวรัสบางสายพันธุ์สามารถอยู่ในร่างกายได้ถึง 3 เดือนหรือมากกว่านั้น

ฮวาเนส บอกว่า เมื่อคนเข้ารับการตรวจและพบว่าผลกลายเป็นลบแล้ว เราก็ตั้งสมมติฐานกันว่าร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นได้แล้ว ดังนั้นไวรัสก็ไม่ควรจะกลับมาอีก

แต่เขาบอกว่าอาจยังมีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคบางตัวซ่อนอยู่ในเนื้อเยื่อซึ่งระบบภูมิคุ้มกันร่างกายยังไม่พบ

แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังงุนงงและสงสัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 คือช่วงเวลาอันสั้นระหว่างที่คนไข้หายและกลับไปตรวจพบเชื้ออีกครั้ง

นักวิทยาศาสตร์งุนงง

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานกับแต่ละโรคไม่เหมือนกัน อย่างโรคหัด การฉีดวัคซีนตอนเด็กครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่ก็มีวัคซีนสำหรับไวรัสอื่น ๆ ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าและต้องฉีดเพิ่มอย่างสม่ำเสมอ

และก็มีวัคซีนสำหรับไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดธรรมดา ที่เราต้องฉีดวัคซีนทุกปีเพราะไวรัสเหล่านั้นสามารถกลายพันธุ์ได้

A health worker sprays a train station in Spain

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดระยะห่างระหว่างการติดเชื้อ 2 ครั้งถึงได้สั้นนัก

ยังพยายามเข้าใจอยู่

ด้วยความที่ยังเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดระยะห่างระหว่างการติดเชื้อ 2 ครั้งถึงได้สั้นนัก

อิซิโดโร มาร์ติเนซ นักวิจัยที่สถาบันสุขภาพคาร์ลอสที่ 3 (Carlos III Health Institute) ที่กรุงมาดริด บอกว่า หากไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานไปได้ตลอด ในการระบาดครั้งต่อไปในอีกหนึ่งหรือสองปี คุณก็จะกลับมาติดเชื้ออีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ

"แต่ไม่บ่อยที่คน ๆ หนึ่งจะติดไวรัสเดิมหลังจากรักษาหายแล้ว เท่าที่เรารู้ ไวรัสตัวนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวมากเท่ากับไวรัสไข้หวัด"

เขาคิดคล้าย ๆ กันกับ ฮวาเนส นักไวรัสวิทยาจากสเปน ว่า ที่คนกลับมาติดเชื้ออีกครั้ง น่าจะเป็นการติดเชื้อเดิมที่ฟื้นขึ้นมาใหม่ก่อนจะถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง

อย่างไรก็ดี ทั้งนักวิจัยทั้งสองต้องศึกษาเรื่องนี้ต่อไปอีก และเป็นวิทยาศาสตร์นี่แหละที่จะช่วยให้รัฐบาลคิดมาตรการที่จะรับมือกับโรคระบาดต่อไป