จาก 2475 ถึงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มองอนาคตประชาธิปไตยไทยในวาระ 90 ปี ปฏิวัติสยาม

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ออกตัวว่าเขาไม่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ก็ถือว่าเป็น "น้องใหม่ที่เพิ่งคลอดออกมาจากกระบวนการประชาธิปไตย"
  • Author, กุลธิดา สามะพุทธิ
  • Role, ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มองปัจจุบันและอนาคตของประชาธิปไตยไทยผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุดที่เขาได้คะแนนมากถึง 1.38 ล้านเสียง โดยเชื่อว่าการเลือกตั้ง 22 พ.ค. ได้เปลี่ยนมุมมองของคนไทยเกี่ยวกับประชาธิปไตย จากเรื่องที่เต็มไปด้วยความหดหู่ เกลียดชัง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ให้กลายเป็นเรื่องของความหวังและทางออก

"ผมมาอยู่ตรงนี้ได้ก็เพราะระบอบประชาธิปไตย...ประชาธิปไตยในยุคใหม่ นักการเมืองต้องเข้ามาด้วยเนื้อหา ทางออก ไม่ใช่เข้ามาด้วยการสร้างความกลัว ความเกลียด แบ่งฝักแบ่งฝ่าย" นายชัชชาติกล่าวในงานสัมมนาวิชาการหัวข้อ "90 ปี ประชาธิปไตยไทย 88 ปีธรรมศาสตร์" จัดโดยวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันนี้ (24 มิ.ย.)

การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นในวาระครบรอบ 90 ปี 24 มิ.ย. 2475 ซึ่งเป็นวันที่กลุ่มบุคคลในนามคณะราษฎร นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มาสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยหรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

วันที่ 24 มิ.ย. ของทุกปีจึงถือเป็นวันเริ่มต้นของประชาธิปไตยไทยและมักมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความก้าวหน้าหรือถอยหลังของประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยในปีนี้ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ได้เชิญนายชัชชาติมาให้มุมมองเกี่ยวกับประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่นักสังเกตการณ์ทางการเมืองมองว่าได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นหลายอย่าง

ผู้ว่าฯ กทม. ที่เพิ่งรับตำแหน่งได้ไม่ถึง 2 เดือนออกตัวว่าแม้เขาจะไม่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ก็ถือว่าเป็น "น้องใหม่ที่เพิ่งคลอดออกมาจากกระบวนการประชาธิปไตย จากการเลือกตั้งเมื่อ 22 พ.ค."

มองประชาธิปไตยไทยผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

นายชัชชาติเชื่อว่า การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุดนี้ ทำให้ผู้คนมองการเมืองและประชาธิปไตยอย่างมีความหวังมากขึ้น จากเดิมที่เคยมองว่าเป็นเรื่องเครียด น่าหดหู่และน่ากลัว

"การเมืองและประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของความหดหู่ แต่เป็นเรื่องของความหวัง นักการเมืองไม่ได้มีหน้าที่สร้างความหวาดกลัว แต่มีหน้าที่สร้างความหวัง"

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ที่มาของภาพ, Thai NEws Pix

"ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมาจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ของการเมืองระดับประเทศ ทั้งในแง่วิธีคิด วิธีการทำนโยบาย วิธีการระดมอาสาสมัคร และถึงเวลาแล้วที่นักการเมืองจะต้องเปลี่ยนจากการเป็นนักการเมืองอาชีพไปสู่การเป็นนักคิดและผู้สร้างความหวัง" นายชัชชาติให้ความเห็นทั้งในฐานะนักการเมืองที่นอกจากจะชนะการเลือกตั้งท้องถิ่น และแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งปี 2562

"ผมลาออกจากพรรคเพื่อไทยมา 3 ปีแล้ว แต่ยังเป็นแคนดิเดทนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยอยู่ เพราะไม่รู้จะไปยื่นใบลาออกกับใคร" เขากล่าวติดตลก

นายชัชชาติสรุปบทเรียนและวิเคราะห์แนวโน้มการเมืองในระบอบประชาธิปไตยหลังกรำศึกและคว้าชัยชนะในสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ดังนี้

คนรุ่นใหม่คือหัวใจ :

นายชัชชาติยกย่องทีมงานของเขาซึ่งล้วนแต่เป็นคนรุ่นใหม่ว่าเป็นพลังสำคัญที่ทำให้เขาได้รับเลือกเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ทั้งเรื่องการออกแบบแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง การคิดนโยบาย การสื่อสารกับประชาชน และการใช้โซเชียลมีเดีย

"ข้อดีของการเอาคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยทำการเมืองมาเป็นทีมงานก็คือความคิดของพวกเขาหลุดกรอบการเมืองเก่า มีความสร้างสรรค์ ทำให้การเมืองเป็นเรื่องสนุก...คนรุ่นใหม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมเลยเพราะคนรุ่นเก่าคิดไม่ได้หรอก หวังว่าการเข้ามาของผมในฐานะผู้ว่าฯ กทม. จะจุดประกายความหวังให้คนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาทำงานการเมือง"

หมดยุคของนักการเมืองแบบเก่า :

นักการเมืองที่มีความคิดแบบเก่ามักคิดแค่ว่าอยากเข้ามาเล่นการเมือง โดยใช้วิธีการซื้อเสียง ไม่สนใจประเด็นปัญหาของประชาชน และไม่สนใจศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่จะเข้ามาทำ

"การเมืองคือเรื่องของความรู้ด้านเทคนิคที่นักการเมืองต้องเข้าใจระดับหนึ่ง อย่างน้อยคุณต้องเข้าใจมากกว่าหรือเท่ากับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่กับเรื่องเหล่านั้นมาตลอดชีวิต แต่ที่ผ่านมานักการเมืองก็คิดแค่ว่าอยากเล่นการเมือง ถ้าชนะเลือกตั้งก็เข้ามาทำงานได้ แต่ไม่เคยมองว่าตัวเองมีความสามารถจริงหรือเปล่า...การเมืองในอนาคตจะเปลี่ยนไป คุณต้องมีความรู้และนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน ต้องทำงานหนักมากขึ้น หมดยุคแล้วที่จะมาพูดง่าย ๆ ว่าสัญญาไปเถอะเดี๋ยวประชาชนก็ลืม ทำได้หรือไม่ได้ช่างมัน ไปตายเอาดาบหน้า"

ข้าม YouTube โพสต์ , 1
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 1

นโยบายต้องละเอียด: นายชัชชาติพูดถึงนโยบายของเขาที่มีมากถึง 216 ข้อ ซึ่งต่างจากการเมืองแบบเดิมที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองจะหาเสียงด้วยนโยบายหลัก ๆ แค่ไม่กี่ข้อ ซึ่งเขายืนยันว่าการออกแบบนโยบายให้ละเอียดและตอบสนองความต้องการของคนเฉพาะกลุ่ม สอดคล้องกับประชาธิปไตยในยุคใหม่ที่โหวตเตอร์มีความต้องการแตกต่างหลากหลาย นักการเมืองจึงต้องมีนโยบายแบบนิชมาร์เก็ตหรือตอบโจทย์คนเฉพาะกลุ่ม ซึ่งการออกแบบนโยบายเพื่อตอบสนองคนแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะนี้ เป็นแนวโน้มของนักการเมืองและพรรคการเมืองหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา

อย่าใช้วิธีสร้างความหวาดกลัวและความเกลียดชัง :

นายชัชชาติวิเคราะห์ว่าการเมืองไทยนับจากนี้ไปจะเปลี่ยนจากการใช้อารมณ์สร้างความเกลียดชัง เป็นการใช้เหตุผลมากขึ้น และการที่เขาหาเสียงและทำงานด้วยการ "ไม่ด่าใคร" เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชนะการเลือกตั้ง

"เมื่อไหร่ก็ตามที่ทำงานการเมืองแล้วมีแต่ความเครียด ความเกลียดชัง ต้องทบทวนใหม่ ผมไม่เคยด่าใคร...ประชาธิปไตยยุคใหม่ นักการเมืองต้องมาด้วยเนื้อหา ทางออก ไม่ใช่มาด้วยการสร้างความลัว ความเกลียดชัง"

สถาบันกษัตริย์ กองทัพและประชาธิปไตยไทย

นอกจากการเสนอมุมมองต่อประชาธิปไตยของนายชัชชาติแล้ว การสัมมนาในวาระ 90 ปี การปฏิวัติสยาม 2475 ในวันนี้ ยังมีนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม นำการสนทนาในหัวข้อ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"

นายสุลักษณ์กล่าวว่านับตั้งแต่คณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่ต่อมาเรียกว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุขเมื่อ 90 ปีที่แล้ว ระบอบการปกครองนี้ยังจำเป็นสำหรับสังคมไทย

ส.ศิวรักษ์

ที่มาของภาพ, BBC THAI/WASAWAT LUKHARANG

คำบรรยายภาพ, สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามผู้เกิดในปี 2475 ปีเดียวกับที่คณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

"ผมอยากจะพูดนะครับ สำหรับคนที่อาจจะไม่เห็นคุณค่าของสถาบันกษัตริย์ ผมยืนยันว่าการมีอยู่ของสถาบันกษัตริย์นั้นจำเป็น ถึงจะไม่มีอำนาจอะไรเลย ผมขออ้างถึงข้อเขียนของจอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งเป็นนักเขียนหัวก้าวหน้าที่สุดของอังกฤษว่า ในสมัยที่อิตาลีเป็นฟาสซิสม์แต่มีพระเจ้าแผ่นดินซึ่งไม่มีอำนาจ อิตาลีก็ยังไม่เลวร้ายเท่าเยอรมนีซึ่งมีฮิตเลอร์เป็นใหญ่เต็มที่ คืออย่างน้อยมีกันชนเล็ก ๆ ไว้มันมีคุณค่า" นายสุลักษณ์กล่าว และพูดอีกตอนหนึ่งว่า "แม้พระราชาจะไม่พยายามอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง แต่ผมเห็นว่าการรักษาพระราชาไว้ดีกว่าไม่รักษาไว้"

นายสุลักษณ์อ้างถึงสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษที่ดำรงอยู่มายาวนาน รวมทั้งการที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลกได้ว่าเป็นเพราะกษัตริย์อังกฤษทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและเดินตามสิ่งที่รัฐบาลเสนอมาทุกประการ

นอกจากนี้ในการสัมมนายังมีการนำเสนองานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับกองทัพ โดยนายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักวิจัยวิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งชี้ให้เห็นความใกล้ชิดระหว่างสถาบันกษัตริย์กับกองทัพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ข้าม YouTube โพสต์ , 2
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 2

นายสุภลักษณ์อธิบายว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับกองทัพถูกขับเน้นให้เด่นชัดยิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น การนำเสนอพระราชกรณียกิจด้านการทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเมื่อครั้งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช การสร้างภาพลักษณ์ของทหารให้เป็น "ทหารของพระราชา" นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขและออกกฎหมายปรับโครงสร้างหน่วยทหารให้ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ โดยมีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดสรรงบประมาณก้อนโตให้

นายสุภลักษณ์สรุปว่าสถาบันกษัตริย์และกองทัพไม่เคยแยกขาดจากกันและจะไม่มีวันแยกจากกัน และจะยังคงมีบทบาทในการเมืองไทยต่อไป เพราะกองทัพไทยไม่เคยยอมรับได้กับการที่จะให้พลเรือนมาเป็นผู้ควบคุมการบริหารประเทศ

ไทย 88 ปี บนเส้นทางประชาธิปไตยหลังปฏิวัติสยาม

กลุ่มบุคคลในนาม คณะราษฎร ซึ่งนำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มาสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและปกครองโดยรัฐสภา การยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นไม่มีการเสียเลือดเนื้อ

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images
"ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร
                                        ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง...
                                        ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือนที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้าย
                                        ของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น
                                        และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว
                                        คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา..."
                                        ประกาศคณะราษฎรที่นำออกแจกจ่ายประชาชนชนช่วงบ่ายวันที่ 24 มิ.ย. 2475
"ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไม ไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และความจริงข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงตามทำนองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นหุ่นเชิด..."
                                        - พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอบคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารของคณะราษฎร ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2475

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรก จัดตั้งรัฐสภาขึ้น ทว่าความขัดแย้งในสภาระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎร ได้นำไปสู่การรัฐประหารโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา โดยเขาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี

ภาพลิขสิทธิ์ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักเลขาธิการสภาฯ

กลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า "คณะกู้บ้านเมือง" นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม นำกลุ่มทหารที่นิยมกษัตริย์เข้ายึดบริเวณดอนเมือง และจับฝ่ายรัฐเป็นตัวประกัน เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องโดยให้กลับไปใช้ระบอบราชาธิปไตย ก่อนปะทะและถูกปราบ สุดท้ายเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำจึงถูกเรียกขานว่า "กบฏบวรเดช"

"ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร..." - พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 2 มี.ค. 2477

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศเปลี่ยนชื่อ ราชอาณาจักรสยาม มาเป็น ราชอาณาจักรไทย

ภาพลิขสิทธิ์ หอจดหมายเหตุ มธ.

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสิ้นพระชนม์

พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 เผชิญกับเหตุอื้อฉาวและปัญหาคอร์รัปชัน จนนำไปสู่การทำรัฐประหารโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เพื่อฟื้นอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม จากนั้นได้ให้ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ทหารครองอำนาจต่อไปจนกระทั่งปี 2516

รัฐบาลไทยอนุญาตให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศในระหว่างสงครามเวียดนาม ซึ่งกองทัพไทยได้ร่วมรบในพื้นที่เวียดนามใต้

รัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขจัดฐานอำนาจจอมพล ป. จากนั้นอีก 1 ปี จอมพลสฤษดิ์ได้รัฐประหารตัวเองอีกครั้งเพื่อกระชับอำนาจ

ปัญญาชนนำพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของ ร. 7 มาตีพิมพ์ในงานเขียนสารคดีต่าง ๆ จนเกิดกระแส "กษัตริย์ประชาธิปไตย"

"ก่อนการปฏิวัติรัฐประหาร พ.ศ. 2475 ไม่กี่ปี
                                        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สั่งให้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น
                                        เพื่อมอบให้ราษฎรของพระองค์ปกครองตนเอง
                                        หากแต่มีข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนเข้าช่วงชิงทำรัฐประหารเสียก่อน
                                        จึงได้มีเสื้อคลุมประชาธิปไตยมาให้เราใส่อยู่ทุกวันนี้
                                        อันเป็นเสื้อที่ขาด ๆ วิ่น ๆ เปรอะเปื้อนอยู่สักหน่อย..."
                                        ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองฝ่ายกษัตริย์นิยมคนสำคัญ
                                        เขียนบทความวิจารณ์คณะราษฎรเมื่อปี 2512

นักศึกษาและประชาชนชุมนุมขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร พร้อมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ทำให้เผด็จการถนอมต้องเดินทางออกนอกประเทศ และกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้รัฐบาลทหารสิ้นสุดลง เปิดทางให้จัดการเลือกตั้งเสรี แต่ผลที่ได้คือรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพ

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

นักศึกษาและประชาชนชุมนุมประท้วงการกลับเข้าประเทศในคราบเณรถนอม ก่อนถูกล้อมปราบที่ ม.ธรรมศาสตร์ และรัฐประหารในวันเดียวกัน โดยมีนักศึกษาจำนวนมากหนีเข้าป่า

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในข้อหาทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยที่แกนนำ รสช. สัญญาว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกฯ โดยแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ประชาชนชุมนุมคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร แกนนำ รสช. ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคสามัคคีธรรม ก่อนถูกล้อมปราบ สุดท้าย พล.อ. สุจินดาต้องลาออก และมีการจัดเลือกตั้งใหม่ในปีเดียวกัน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรค ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

หลังรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภา นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไป ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

รัฐบาลนายบรรหารประกาศยุบสภา เนื่องจากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคอร์รัปชัน ต่อมา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ชนะการเลือกตั้งได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 22

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

วิกฤตการเงินในเอเชีย : รัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ ต้องล้มละลายและมีคนตกงานจำนวนมากจนต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต่อมา พล.อ.ชวลิตลาออก นายชวน หลีกภัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร (ยศก่อนถูกถอด) หัวหน้าพรรค ขึ้นเป็นนายกฯ คนที่ 23

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งท่วมท้น สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว 377 เสียงได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ ก่อนเผชิญเสียงวิจารณ์เรื่อง "เผด็จการรัฐสภา

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายใต้การนำของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ขณะที่เขาร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในสหรัฐฯ คปค. แต่งตั้ง พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

พรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช เครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ธ.ค. 2550 นายสมัครได้เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางกลับไทยหลังจากต้องลีภัยในต่างประเทศ

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมครอบครัวเดินทางลี้ภัยในอังกฤษหลังจากไม่ปรากฏตัวในศาลในคดีเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ผู้สนับสนุนทักษิณในนามกลุ่มคนเสื้อแดงจัดชุมนุมประท้วงในหลายพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ เรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา นำไปสู่การสลายการชุมนุมโดยทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 98 ราย

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลาย ทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ประชาชนรวมตัวประท้วงต่อต้านการผลักดันร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม "ฉบับสุดซอย" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมบนท้องถนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพื่อเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออกจากตำแหน่ง

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ศาลรธน. มีมติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ขณะนั้น พ้นตำแหน่งรัฐมนตรี เนื่องจากการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กี่วันต่อมา กองทัพก็ทำรัฐประหารอีกครั้ง

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้รับการรับรองด้วยเสียงท่วมท้นจากประชาชนในการลงประชามติ ซึ่งผู้เห็นต่างไม่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมรณรงค์คัดค้าน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ยังคงเปิดช่องให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองได้

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15:52 น. สิริพระชนมพรรษา 88 พรรษา หลังครองราชย์มา 70 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 10

ภาพลิขสิทธิ์ BBC Thai

ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของไทยเดือน เม.ย. หลังจากผ่านการทำประชามติและพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์ เปิดทางสู่การเลือกตั้ง ในขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาลับหลังในคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว โดยมีคำพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 5 ปี น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้ปรากฏตัวที่ศาลและหลบหนีไปต่างประเทศ

ภาพลิขสิทธิ์ EPA

คสช.ยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ห้ามพรรคการเมืองหรือประชาชนทำกิจกรรมทางการเมืองได้

การเลือกตั้งทั่วไปมีขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2557

ภาพลิขสิทธิ์ BBC Thai

ผลการเลือกตั้งทั่วไปไม่มีพรรคการเมืองใดครองเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาผู้แทนราษฎร โดยพรรคเพื่อไทย เครือข่ายของทักษิณ ครองจำนวนที่นั่งในสภาฯ ขณะนั้นมากที่สุด 136 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งสนับสนุนกองทัพได้จำนวนที่นั่งเพียง 115 ที่นั่ง

รัฐสภามีมติท่วมท้นเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ด้วยคะแนน 500 เสียง จาก 750 เสียง โดยที่วุฒิสมาชิกที่ พล.อ.ประยุทธ์แต่งตั้งมาก่อนหน้าพร้อมใจโหวตในทิศทางเดียวกัน

ภาพลิขสิทธิ์ BBC Thai

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ พร้อมเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เป็นเวลา 10 ปี ในจำนวนนั้นคือนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images