เลือกตั้ง 2566 : คำศัพท์น่ารู้ก่อนเข้าคูหา

คนอ่านกติกาเลือกตั้ง น่าร้าก

การเลือกตั้งปี 2566 ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ทว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งใหม่ จากในการเลือกตั้งปี 2562 ที่ใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม และมีเลือกตั้งใบเดียว ได้เปลี่ยนมาใช้บัตร 2 ใบ เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนนี้

บีบีซีไทยรวบรวมคำศัพท์การเมืองน่ารู้มาไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นคู่มือของประชาชนชาวไทยก่อนเข้าคูหาเลือกตั้งทั่วไป

บัตรเลือกตั้ง

บัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้ง

การเลือกตั้งรอบนี้ จะคล้าย ๆ กับเมื่อปี 2544 และ 2548 โดยมี ส.ส. ทั้งสภา 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน เมื่อเดินเข้าคูหา ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบหนึ่ง กาเลือก ส.ส. “คนที่เรารัก” และอีกใบกาเลือก “พรรคที่เราชอบ” ทว่าเบอร์ผู้สมัคร ส.ส.เขต กับ บัญชีรายชื่อ ในบัตรเลือกตั้งเป็นคนละเบอร์กัน จึงต้องจำหมายเลขไปให้ดี ๆ ต่างจากการเลือกตั้ง 2562 ที่ใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว เลือกทั้ง ส.ส.เขต 350 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน รวมถึงแคนดิเดตนายกฯ ด้วย

ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

การคำนวณหายอด ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์ (Party List) ในการเลือกตั้งหนนี้จะแตกต่างจากเมื่อ 4 ปีก่อน เพราะทั้งระบบเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เปลี่ยนแปลงไปจาก 150 คน ลดเหลือ 100 คน โดยอยู่ภายใต้ “สูตรหาร 100” ตั้งต้นจาก 1) รวมคะแนนของทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครแบบปาร์ตี้ลิสต์ 2.) นำไปหารด้วย 100 ผลลัพธ์ที่ได้เป็น คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน 3) นำคะแนนรวมที่แต่ละพรรคได้รับ หารด้วยคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน ผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะเป็นจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ที่พรรค “พึงมี-พึงได้” ในกรณีที่คำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อครบทุกพรรคแล้วยังมีจำนวนไม่ครบ 100 คน ให้พรรคที่มีผลลัพธ์เป็นเศษโดยไม่มีจำนวนเต็ม และพรรคที่มีเศษหลังจากการคำนวณจำนวนมากที่สุด ได้รับจํานวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพิ่มขึ้นอีก 1 คน แล้วเรียงตามลําดับ จนกว่าจะมีจํานวน ส.ส.บัญชีรายชื่อครบร้อย

แคนดิเดตนายกฯ

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

บุคคลที่จะลงแข่งขันชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี (Candidate) ต้องมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอต่อสภาฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นนายกฯ โดยเสนอได้พรรคละไม่เกิน 3 รายชื่อ และต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง แต่ชื่อที่สภาฯ จะหยิบมาพิจารณาได้ ต้องมาจากบัญชีของพรรคที่มีเสียงในสภาฯ ไม่น้อยกว่า 5% หรือมี ส.ส. 25 คนขึ้นไป หากแคนดิเดตนายกฯ ได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. จึงจะถือว่าเป็น “นายกฯ คนใน” ถ้ามีชื่ออยู่ในบัญชีนายกฯ แต่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ก็ยังถือเป็น “นายกฯ คนนอก” อยู่ดี

พรรค ส.ว.

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 250 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วง 5 ปีแรกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 หรือที่เรียกว่า “ส.ว. เฉพาะกาล” มีที่มาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่ คณะกรรมการสรรหาเลือก 194 คน เป็นโดยตำแหน่ง 6 คน และเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ 50 คน แต่ทั้งหมดมี คสช. เป็นผู้เคาะรายชื่อในขั้นสุดท้าย ทั้งนี้ “ส.ว. เฉพาะกาล” มี “อำนาจหน้าที่เฉพาะกิจ” คือสามารถร่วมเลือกนายกฯ ได้ 2 ครั้ง (หลังเลือกตั้ง 2562 และหลังเลือกตั้ง 2566) จากปกติเป็นอำนาจของ ส.ส. จนมีการเปรียบเปรยกันว่าเป็น “พรรค ส.ว.” ที่ใช้เสียงที่มีสนับสนุนให้ “นายกฯ คนนอก” เข้ามาทำหน้าที่

ดูด ส.ส.

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

ปรากฏการณ์การย้ายพรรคของนักการเมืองอย่างไม่ปกติ และถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการใช้ “ปัจจัยพิเศษ” มาจูงใจ อาทิ เงินทุน ตำแหน่งการเมือง คดีความ ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างฐานเสียงทางลัดให้แก่พรรคการเมือง อย่างไรก็ตามการ “ดูด ส.ส.” ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเกิดขึ้นในการเมืองไทยมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีทั้งการดูดรายบุคคล รายกลุ่มการเมือง และดูดยกพรรค

บ้านใหญ่

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

คำว่า “บ้านใหญ่” อันหมายถึงนักการเมืองเจ้าของพื้นที่ เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2520-2540 ซึ่งเป็นช่วงที่คนเหล่านี้เข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยหลังประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ระยะหนึ่ง โดยนักการเมืองเหล่านี้สามารถเกาะเกี่ยวผลประโยชน์จากแผนพัฒนาฯ แล้วสั่งสมความมั่งคั่งได้เหนือกว่าคนอื่น ๆ ในพื้นที่ และยังนำเอาส่วนเกินทางเศรษฐกิจมาจ่ายแจก ดูแล และอุปถัมภ์ประชาชน ทำให้ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจกลายเป็นต้นทุนทางสังคมและการเมือง บ้านของนักการเมืองคนนั้น ๆ จึงถูกใช้เป็นสถานที่ดูแลเครือข่ายทางการเมืองของตน และรับเรื่องร้องทุกข์-ร้องเรียนจากชาวบ้าน โดยความเป็น “บ้านใหญ่” มักสัมพันธ์กับการเมืองแบบ “เจ้าพ่อ”

นิวโหวตเตอร์

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรก (New Voter) ซึ่งในทางกฎหมายคือบุคคลที่มีอายุครบ 18 ปีในวันเลือกตั้ง แต่ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มีนิวโหวตเตอร์ถึง 7.3 ล้านคน (อายุ 18-26 ปี หรือเกิดระหว่างปี 2537-2544) เนื่องจากประเทศไทยไม่มีการเลือกตั้งนาน 8 ปี ส่วนในการเลือกตั้ง 2566 คาดว่าจะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ราว 8 แสนคน ตามฐานข้อมูลประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

โหวตโน

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่กาช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้สมัครที่จะได้เป็น ส.ส. ต้องได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนน “โหวตโน” (Vote No) ดังนั้นถ้าใครชนะเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 แต่ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนโหวตโน ก็หมดสิทธิเป็น ส.ส. และต้องจัดการเลือกตั้งกันใหม่ในเขตนั้น

โนโหวต

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

การไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่า “นอนหลับทับสิทธิ” (No Vote) ซึ่งถ้าใครไม่แจ้งเหตุอันสมควรต่อ กกต. จะถูกจำกัดสิทธิในการลงสมัคร ส.ส., ส.ว., สมาชิกสภาท้องถิ่น, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงการดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและผู้บริหารท้องถิ่นในอนาคต

โหวตเชิงยุทธศาสตร์

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

โดยปกติ ถ้าเรารักใคร เชียร์พรรคไหน ก็ต้องลงคะแนนเลือกคน/พรรคนั้น ๆ แต่การเลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vote หรือ Tactical Voting) โหวตเตอร์จำต้องวางความรัก-ชอบส่วนตัวเอาไว้ แล้วเทคะแนนเลือกผู้สมัครรายอื่นในฝ่ายเดียวกันที่เชื่อว่ายังมีโอกาสชนะ (ตามโพล) และให้ถือเป็น “ตัวแทน” เพียงหนึ่งเดียวของฝ่ายตน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสกัดกั้นฝ่ายตรงข้ามไม่ให้ได้รับชัยชนะ สำหรับคำขวัญรณรงค์ที่คนไทยคุ้นหู อาทิ “ไม่เลือกเรา เขามาแน่” หรือ “หยุดลังเล แล้วเทให้เบอร์...” อย่างไรก็ตามนักวิชาการชี้ว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์จำนวนมากว่าได้ผลจริงหรือไม่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีบทสรุปแน่ชัด

แคมเปญ

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (Campaign) เพื่อชักชวนให้ประชาชนลงคะแนนเลือกคนและเลือกพรรค โดยแต่ละพรรคการเมืองมักนำนโยบายมาจัดหมวดหมู่แล้วนำเสนอผ่านคำขวัญ/คติ ที่เข้าใจได้ง่าย จดจำได้ง่าย ซึ่งเรียกว่าสโลแกน (Slogan) หรือม็อตโต้ (Motto) ในการแคมเปญต้องสื่อสารกับคนหมู่มากให้ได้ ดังนั้น สโลแกน กับ ม็อตโต้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการแคมเปญ

แลนด์สไลด์

ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ ตัวยึดตำแหน่งรูปภาพ

การกำชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายจนเปรียบได้กับ “แผ่นดินถล่ม” (Land Slide) และต้องมีคะแนนทิ้งห่างพรรคคู่แข่งขัน ซึ่งในการเมืองไทยมีตัวอย่างให้เห็นเด่นชัดในคราวเลือกตั้งปี 2548 ที่พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นำ ส.ส. เข้าสภาฯ ได้ถึง 377 คน จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย อย่างไรก็ตามมีผู้ให้ความเห็นแตกต่างหลากหลายเกี่ยวกับตัวเลขที่ถือว่า “แลนด์สไลด์” มีทั้งที่บอกว่าต้องได้ ส.ส. 251 ที่นั่ง (เกินกึ่งหนึ่งของสภาล่าง 500 ที่นั่ง), 260 ที่นั่ง (52% ของสภาล่าง), 280 ที่นั่ง (56% ของสภาล่าง) หรือ 376 ที่นั่ง (เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา 750 ที่นั่ง)

เส้น

คุณสามารถดูวิดีโอ "เลือกตั้ง 101" รายการที่จะช่วยให้คุณรู้จักการเมืองไทย และเข้าใจการเลือกตั้ง ผ่าน 6 วิชาหลักที่คนไทยคุ้นเคย โดยมี 3 นักรัฐศาสตร์หญิง ช่วยกันไขข้อข้องใจ และหาคำตอบ

ตอนที่ 1 วิชาภาษาอังกฤษ

ข้าม YouTube โพสต์ , 1
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 1

ตอนที่ 2 วิชาคณิตศาสตร์

ข้าม YouTube โพสต์ , 2
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 2

ตอนที่ 3 วิชาภาษาไทย

ข้าม YouTube โพสต์ , 3
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 3

ตอนที่ 4 วิชาวิทยาศาสตร์

ข้าม YouTube โพสต์ , 4
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 4

ตอนที่ 5 วิชาสังคมศึกษา

ข้าม YouTube โพสต์ , 5
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 5

ตอนที่ 6 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

ข้าม YouTube โพสต์ , 6
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 6