โควิด-19: ลำดับเหตุการณ์ แผนที่ อินโฟกราฟิก ยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตในไทยและทั่วโลก

ภาพจำลองโครงสร้างของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019-nCoV

ที่มาของภาพ, CDC / SMITH COLLECTION / GADO

คำบรรยายภาพ, ภาพจำลองไวรัสที่ทำให้เกิดโรค Covid-19 ซึ่งตอนนี้มีชื่อทางการว่า SARS-CoV-2

การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นเหตุการณ์ระดับโลกที่ทุกประเทศต่างเผชิญร่วมกัน และย่อมจะต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกว่าครั้งหนึ่งเคยเกิดโรคระบาดรุนแรงที่คร่าชีวิตผู้คนนับล้าน มีการปิดประเทศ ระงับเที่ยวบิน ผู้คนต้องกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน เศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนตกงาน ขาดรายได้ ฯลฯ จนถึงต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพบการระบาดของโควิด-19 แล้ว 5 ระลอก ขณะที่ทางการเริ่มมีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับโควิด ขณะเดียวกันก็เดินหน้าฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วประเทศต่อไป

บีบีซีไทยร่วมบันทึกเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 มาสรุปในรูปแบบอินโฟกราฟิก เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของวิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่มีใครคาดได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

แผนที่แสดงจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศ

ตามแผนที่

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วทั่วโลก

Group 4

โปรดอัพเกรดเบราเซอร์ของคุณเพื่อประสบการณ์รับชมอย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์, หน่วยงานสาธารณสุขระดับประเทศต่าง ๆ

ตัวเลขล่าสุด 5 กรกฎาคม 2565 14:59 GMT+7

ตารางแสดงจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อแยกรายประเทศ

ข้อมูลโดยละเอียด

เลื่อนตารางเพื่อดูข้อมูลเพิ่ม

*จำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรหนึ่งแสนคน

สหรัฐอเมริกา 1,012,833 308.6 87,030,788
บราซิล 672,033 318.4 32,535,923
อินเดีย 525,242 38.4 43,531,650
รัสเซีย 373,595 258.8 18,173,480
เม็กซิโก 325,793 255.4 6,093,835
เปรู 213,579 657.0 3,640,061
สหราชอาณาจักร 177,890 266.2 22,232,377
อิตาลี 168,604 279.6 18,805,756
อินโดนีเซีย 156,758 57.9 6,095,351
ฝรั่งเศส 146,406 218.3 30,584,880
อิหร่าน 141,404 170.5 7,240,564
เยอรมนี 141,397 170.1 28,542,484
โคลอมเบีย 140,070 278.3 6,175,181
อาร์เจนตินา 129,109 287.3 9,394,326
โปแลนด์ 116,435 306.6 6,016,526
ยููเครน 112,459 253.4 5,040,518
สเปน 108,111 229.6 12,818,184
แอฟริกาใต้ 101,812 173.9 3,995,291
ตุรกี 99,057 118.7 15,180,444
โรมาเนีย 65,755 339.7 2,927,187
ฟิลิปปินส์ 60,602 56.1 3,709,386
ชิลี 58,617 309.3 4,030,267
ฮังการี 46,647 477.5 1,928,125
เวียดนาม 43,088 44.7 10,749,324
แคนาดา 42,001 111.7 3,958,155
สาธารณรัฐเช็ก 40,324 377.9 3,936,870
บัลแกเรีย 37,260 534.1 1,174,216
มาเลเซีย 35,784 112.0 4,575,809
เอกวาดอร์ 35,745 205.7 913,798
เบลเยียม 31,952 278.2 4,265,296
ญี่ปุ่น 31,328 24.8 9,405,007
ไทย 30,736 44.1 4,534,017
ปากีสถาน 30,403 14.0 1,539,275
กรีซ 30,327 283.0 3,729,199
บังกลาเทศ 29,174 17.9 1,980,974
ตูนิเซีย 28,691 245.3 1,052,180
อิรัก 25,247 64.2 2,359,755
อียิปต์ 24,723 24.6 515,645
เกาหลีใต้ 24,576 47.5 18,413,997
โปรตุเกส 24,149 235.2 5,171,236
เนเธอร์แลนด์ 22,383 129.1 8,203,898
โบลิเวีย 21,958 190.7 931,955
สโลวาเกีย 20,147 369.4 2,551,116
ออสเตรีย 20,068 226.1 4,499,570
เมียนมา 19,434 36.0 613,659
สวีเดน 19,124 185.9 2,519,199
คาซัคสถาน 19,018 102.7 1,396,584
ปารากวัย 18,994 269.6 660,841
กัวเตมาลา 18,616 112.1 921,146
จอร์เจีย 16,841 452.7 1,660,429
ศรีลังกา 16,522 75.8 664,181
เซอร์เบีย 16,132 232.3 2,033,180
โมร็อกโก 16,120 44.2 1,226,246
โครเอเชีย 16,082 395.4 1,151,523
บอสเนีย และเฮอร์เซโกวินา 15,807 478.9 379,041
จีน 14,633 1.0 2,144,566
จอร์แดน 14,068 139.3 1,700,526
สวิตเซอร์แลนด์ 13,833 161.3 3,759,730
เนปาล 11,952 41.8 979,835
มอลโดวา 11,567 435.2 520,321
อิสราเอล 10,984 121.3 4,391,275
ฮอนดูรัส 10,906 111.9 427,718
เลบานอน 10,469 152.7 1,116,798
ออสเตรเลีย 10,085 39.8 8,291,399
อาเซอร์ไบจาน 9,717 96.9 793,388
มาซิโดเนียเหนือ 9,327 447.7 314,501
ซาอุดีอาระเบีย 9,211 26.9 797,374
ลิทัวเนีย 9,175 329.2 1,162,184
อาร์เมเนีย 8,629 291.7 423,417
คิวบา 8,529 75.3 1,106,167
คอสตาริกา 8,525 168.9 904,934
ปานามา 8,373 197.2 925,254
อัฟกานิสถาน 7,725 20.3 182,793
เอธิโอเปีย 7,542 6.7 489,502
ไอร์แลนด์ 7,499 151.8 1,600,614
อุรุกวัย 7,331 211.8 957,629
ไต้หวัน 7,025 29.5 3,893,643
เบลารุส 6,978 73.7 982,867
แอลจีเรีย 6,875 16.0 266,173
สโลวีเนีย 6,655 318.7 1,041,426
เดนมาร์ก 6,487 111.5 3,177,491
ลิเบีย 6,430 94.9 502,189
ลัตเวีย 5,860 306.4 837,182
เวเนซุเอลา 5,735 20.1 527,074
ดินแดนปาเลสไตน์ 5,662 120.8 662,490
เคนยา 5,656 10.8 334,551
ซิมบับเว 5,558 38.0 255,726
ซูดาน 4,952 11.6 62,696
ฟินแลนด์ 4,875 88.3 1,145,610
โอมาน 4,628 93.0 390,244
สาธารณรัฐโดมินิกัน 4,383 40.8 611,581
เอลซัลวาดอร์ 4,150 64.3 169,646
นามิเบีย 4,065 163.0 169,247
ตรินิแดดและโตเบโก 4,013 287.7 167,495
แซมเบีย 4,007 22.4 326,259
ยูกันดา 3,621 8.2 167,979
แอลเบเนีย 3,502 122.7 282,690
นอร์เวย์ 3,337 62.4 1,448,679
ซีเรีย 3,150 18.5 55,934
ไนจีเรีย 3,144 1.6 257,637
จาเมกา 3,144 106.6 143,347
คอซอวอ 3,140 175.0 229,841
กัมพูชา 3,056 18.5 136,296
คีร์กิซสถาน 2,991 46.3 201,101
บอตสวานา 2,750 119.4 322,769
มอนเตเนโกร 2,729 438.6 241,190
มาลาวี 2,646 14.2 86,600
เอสโตเนีย 2,591 195.3 580,114
คูเวต 2,555 60.7 644,451
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2,319 23.7 952,960
โมซัมบิก 2,212 7.3 228,226
มองโกเลีย 2,179 67.6 928,981
เยเมน 2,149 7.4 11,832
เซเนกัล 1,968 12.1 86,382
แคเมอรูน 1,931 7.5 120,068
แองโกลา 1,900 6.0 101,320
อุซเบกิสถาน 1,637 4.9 241,196
นิวซีแลนด์ 1,534 31.2 1,374,535
บาห์เรน 1,495 91.1 631,562
รวันดา 1,460 11.6 131,270
กานา 1,452 4.8 166,546
สิงคโปร์ 1,419 24.9 1,473,180
เอสวาตีนี 1,416 123.3 73,148
มาดากัสการ์ 1,401 5.2 65,787
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 1,375 1.6 91,393
สุรินัม 1,369 235.5 80,864
โซมาเลีย 1,361 8.8 26,803
กายอานา 1,256 160.5 67,657
ลักเซมเบิร์ก 1,094 176.5 265,323
ไซปรัส 1,075 89.7 515,596
มอริเชียส 1,004 79.3 231,036
มอริเตเนีย 984 21.7 60,368
มาร์ตีนิก 965 257.0 195,912
กัวเดอลุป 955 238.7 168,714
ฟิจิ 866 97.3 65,889
แทนซาเนีย 841 1.4 35,768
เฮติ 837 7.4 31,677
บาฮามาส 820 210.5 36,101
เรอูนียง 812 91.3 422,769
โกตดิวัวร์ 805 3.1 83,679
สปป.ลาว 757 10.6 210,313
มอลตา 748 148.8 105,407
มาลี 737 3.7 31,176
เลโซโท 699 32.9 33,938
เบลีซ 680 174.2 64,371
กาตาร์ 679 24.0 385,163
ปาปัวนิวกินี 662 7.5 44,728
เฟรนช์พอลินีเซีย 649 232.4 73,386
บาร์เบโดส 477 166.2 84,919
กินี 443 3.5 37,123
กาบูเวร์ดี 405 73.6 61,105
เฟรนช์เกียนา 401 137.9 86,911
บูร์กินาฟาโซ 387 1.9 21,044
คองโก 385 7.2 24,128
เซนต์ลูเซีย 383 209.5 27,094
แกมเบีย 365 15.5 12,002
นิวแคลิโดเนีย 313 108.8 64,337
ไนเจอร์ 310 1.3 9,031
มัลดีฟส์ 306 57.6 182,720
กาบอง 305 14.0 47,939
ไลบีเรีย 294 6.0 7,497
คูราเซา 278 176.5 44,545
โตโก 275 3.4 37,482
นิการากัว 242 3.7 14,690
เกรนาดา 232 207.1 18,376
บรูไน (ดารุสซาลาม) 225 51.9 167,669
อารูบา 222 208.8 41,000
ชาด 193 1.2 7,426
จิบูตี 189 19.4 15,690
มายอต 187 70.3 37,958
อิเควทอเรลกินี 183 13.5 16,114
ไอซ์แลนด์ 179 49.5 195,259
หมู่เกาะแชนแนล ช่องแคบอังกฤษ 179 103.9 80,990
กินีบิสเซา 171 8.9 8,369
เซเชลส์ 167 171.1 44,847
เบนิน 163 1.4 27,216
คอโมโรส 160 18.8 8,161
อันดอร์รา 153 198.3 44,177
หมู่เกาะโซโลมอน 153 22.8 21,544
แอนติกา และบาร์บูดา 141 145.2 8,665
เบอร์มิวดา 140 219.0 16,162
ซูดานใต้ 138 1.2 17,722
ติมอร์-เลสเต 133 10.3 22,959
ทาจิกิสถาน 125 1.3 17,786
เซียร์ราลีโอน 125 1.6 7,704
ซานมาริโน 115 339.6 18,236
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 114 103.1 9,058
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 113 2.4 14,649
ไอล์ ออฟ แมน 108 127.7 36,463
ยิบรอลตาร์ 104 308.6 19,633
เอริเทรีย 103 2.9 9,805
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส 87 213.6 10,601
ลิกเตนสไตน์ 85 223.6 17,935
เซาตูเมและปรินซิปี 74 34.4 6,064
โดมินิกา 68 94.7 14,852
เซนต์มาร์ติน (ส่วนของฝรั่งเศส) 63 165.8 10,952
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 63 209.8 6,941
โมนาโก 59 151.4 13,100
เซนต์คิตส์และเนวิส 43 81.4 6,157
บุรุนดี 38 0.3 42,731
โบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึส และซาบา 37 142.4 10,405
หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส 36 94.3 6,219
หมู่เกาะเคย์แมน 29 44.7 27,594
ซามัว 29 14.7 14,995
หมู่เกาะแฟโร 28 57.5 34,658
ภูฏาน 21 2.8 59,824
กรีนแลนด์ 21 37.3 11,971
วานูอาตู 14 4.7 11,389
คิริบาส 13 11.1 3,236
เรือสำราญ ไดมอนด์ พรินเซส 13 712
ตองกา 12 11.5 12,301
แองกวิลลา 9 60.5 3,476
มอนต์เซอร์รัต 8 160.3 1,020
หมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา 7 61.2 454
ปาเลา 6 33.3 5,237
แซ็ง-บาร์เตเลมี 6 60.9 4,697
เรือสำราญ เอ็มเอส ซานดาม 2 9
หมู่เกาะคุก 1 5.7 5,774
แซงปีแยร์และมีเกอลง 1 17.2 2,779
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 0 0.0 1,815
ไมโครนีเซีย 0 0.0 38
วาติกัน 0 0.0 29
หมู่เกาะมาร์แชลล์ 0 0.0 18
แอนตาร์กติกา 0 11
เซนต์เฮเลนา 0 0.0 4

โปรดอัพเกรดเบราเซอร์ของคุณเพื่อประสบการณ์รับชมอย่างเต็มรูปแบบ

มีการปรับปรุงข้อมูลนี้เป็นประจำแต่ก็อาจจะไม่ใช่ตัวเลขล่าสุดสำหรับแต่ละประเทศ

ข้อมูลในอดีตสำหรับรายใหม่เป็นค่าเฉลี่ยของ 3 วัน แต่ขณะนี้ได้มีการปรับตัวเลขยอดผู้เสียชีวิต ดังนั้นจึงไม่สามารถคำนวณหาค่าเฉลี่ยสำหรับวันที่นี้ได้

ที่มา : มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์, หน่วยงานสาธารณสุขระดับประเทศต่าง ๆ

ตัวเลขอัปเดตล่าสุดเมื่อ : 5 กรกฎาคม 2565 14:59 GMT+7

สถานการณ์การติดเชื้อทั่วโลก

ลำดับเหตุการณ์โควิด-19 ในไทย

ปี 2565

1 มี.ค. วันแรกที่กระทรวงสาธารณสุขปรับแนวทางการรักษาและดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ใหม่ โดยบริการตรวจรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอกสำหรับผู้สมัครใจ สำหรับกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ไม่มีความเสี่ยง โดยให้ยารักษาตามอาการ

24 ก.พ. ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระลอกการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนในไทย ไต่ระดับขึ้นสูงอีกครั้งนับจาการระบาดของสายพันธุ์เดลตาเมื่อกลางปีที่แล้ว โดยในรอบ 7 วันที่ผ่านมา ผู้ติดเชื้อยืนยันในระบบรวมกับยอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายที่ตรวจด้วยชุดตรวจแอนติเจนด้วยตนเอง (ATK) ทะลุกว่า 230,000 ราย

23 ก.พ. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าไทยเพิ่มเติม เพื่อช่วยนักท่องเที่ยวลดค่าใช้จ่ายและระยะกักตัว แม้ว่ายอดติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น และกระทรวงสาธารณสุขยกระดับเตือนภัยจากโรคโควิด-19 เป็นระดับ 4 แต่ยืนยันว่าปริมาณเตียงมีอย่างเพียงพอ

คนกำลังถูกสวอบ

ที่มาของภาพ, Getty Images

15 ก.พ. เริ่มใช้การเคลมประกันโควิดใหม่ที่จะจ่ายชดเชยตามเกณฑ์ผู้ป่วยใน 5 เกณฑ์ และไม่จ่ายชดเชยสำหรับการกักรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ตามข้อปฏิบัติของสมาคมประกันชีวิตไทยเกี่ยวกับการ "เคลมประกันโควิด-19" สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทประกันชีวิต

11 ก.พ. ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) มีมติให้ยังคงจัดกลุ่มจังหวัดตามสีและระดับการระบาดเช่นเดิม เนื่องจากสถานการณ์การระบาดเริ่มสูงกว่าระดับที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คาดการณ์ไว้ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นจำนวนมากกว่า 1.5 หมื่นรายในวันนี้ (11 ก.พ.)

4 ก.พ. กรรมการผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้ขยายการใช้วัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์มในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ส่วนเด็กอายุ 3-5 ปี ให้ส่งข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ด้านราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยยังไม่แนะนำวัคซีนเชื้อตายในเด็ก

20 ม.ค. ศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (ศบค.) มีมติเปิดรับผู้เดินทางระบบเทสต์แอนด์โก (Test and Go) อีกครั้ง รวมถึงปรับลดพื้นที่สีส้ม เพิ่มพื้นที่สีเหลือง ทำให้สามารถดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ นอกจากนี้ยังขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ครั้งที่ 16) อีก 2 เดือน มีผลตั้งแต่ 1 ก.พ. เป็นต้นไป

17 ม.ค. กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันผู้ป่วยโควิด-19 ที่ตรวจพบว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย หนึ่งในนั้น เป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว และได้รับวัคซีนไฟเซอร์แล้ว 2 เข็ม

14 ม.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศให้การระบาดของโควิด "ระลอกมกราคม 2565" นี้เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น หลังผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการพบสายพันธุ์โอมิครอน พร้อมกับการเดินหน้าการให้บริการวัคซีนเป็นแนวทางการสู้รบกับโรคโควิด-19 ในปีนี้

ผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรกที่พบในไทยเป็นผู้ที่เดินทางเข้าประเทศผ่านระบบ Test and Go

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ, ผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรกที่พบในไทยเป็นผู้ที่เดินทางเข้าประเทศผ่านระบบ Test and Go

12 ม.ค. หน่วยงานด้านสาธารณสุขของไทยระบุว่า พบแนวโน้มเด็กติดโควิด-19 เพิ่มขึ้นในการระบาดระลอกที่ 5 โดยคาดว่าสัดส่วนผู้ป่วยเด็กอาจเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโควิดทั้งหมดในไทย เนื่องจากเด็กอายุ 5-11 ปี เป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับฉีดวัคซีนต้านโควิดเลย

6 ม.ค. สธ. ประกาศว่าประเทศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 5 ของโควิด-19 จากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอนที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันเพิ่มสูงเกิน 5,000 ราย จาก 2,000-3,000 รายในช่วงเดือน ธ.ค. 2564 สธ. ยังได้ยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 จากระดับ 3 เป็นระดับที่ 4 ซึ่งภายใต้การเตือนภัยระดับนี้ ทางการอาจสั่งให้ปิดสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค และแนะนำให้ประชาชนทำงานที่บ้าน งดการเดินทางข้ามจังหวัด งดการเดินทางไปต่างประเทศ หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม

สธ.รายงานว่าระหว่างวันที่ 1 พ.ย. - 5 ม.ค. มีผู้ติดเชื้อโอมิครอนสะสมทั้งสิ้น 2,062 ราย

ปี 2564

21 ธ.ค. ศบค. มีมติให้ระงับการลงทะเบียนขอเข้าประเทศไทย ระหว่าง 21 ธ.ค. 2564-4 ม.ค. 2565 ทั้งในรูปแบบแซนบ็อกซ์ (Sandbox) และเทสต์แอนด์โก (Test and Go) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

20 ธ.ค. ราว 3 สัปดาห์หลังจาก สธ. ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนครั้งแรกเมื่อ 6 ธ.ค. ปรากฏว่าจำนวนผู้ติดเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในวันนี้ สธ. รายงานว่าพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มเป็น 63 ราย ในจำนวนนี้ยืนยันแล้ว 20 ราย ในจำนวนนี้เกือบทั้งหมดมีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นหญิงไทยที่ติดเชื้อในประเทศจากสามีนักบินชาวโคลอมเบียที่เดินทางกลับจากไนจีเรีย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่าขณะนี้พบว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดโควิด-19 เป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน

9 ธ.ค. สธ. พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย เป็นหญิงไทย อาชีพล่ามที่เดินทางกลับมาจากประเทศไนจีเรีย และยังมีชายไทยอีก 1 รายต้องสงสัยติดเชื้อโอมิครอน ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. สธ. รายงานว่าไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสะสมแล้ว 11 ราย ทั้งหมดมีประวัติเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ ยังไม่พบการติดเชื้อภายในประเทศ

บรรยากาศผู้คนคับคั่งในวันแรกของการกลับมาทำงานหลังหยุดยาวปีใหม่เมื่อวันที่ 4 ม.ค. จะหายไปอีกครั้ง เมื่อ สธ.ประกาศยกระดับเตือนภัยโควิด-19 และแนะนำให้คนงดเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะและทำงานที่บ้าน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ, บรรยากาศผู้คนคับคั่งในวันแรกของการกลับมาทำงานหลังหยุดยาวปีใหม่เมื่อวันที่ 4 ม.ค. จะหายไปอีกครั้ง เมื่อ สธ.ประกาศยกระดับเตือนภัยโควิด-19 และแนะนำให้คนงดเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะและทำงานที่บ้าน

6 ธ.ค. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอนรายแรกในไทย เป็นชายไทย สัญชาติอเมริกันที่เดินทางมาจากประเทศสเปน

27 พ.ย. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยออกประกาศห้ามผู้โดยสารจาก 8 ประเทศเข้าไทยเพื่อสกัดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนประกอบด้วย บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามีเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว โดยผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงไทยระหว่างวันที่ 28-30 พ.ย. จะต้องเข้ากระบวนการกักตัว 14 วันทันที

26 พ.ย. ศบค. ยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) และปรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็นศูนย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นการผ่อนคลายมาตรการครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดระลอกเดือน เม.ย. 2564 แต่เห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักรไปอีก 2 เดือน จนถึงวันที่ 31 ม.ค. 2565 พร้อมกับมีมติยังไม่ให้สถานบันเทิงกลางคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ กลับมาเปิดให้บริการเนื่องจากเห็นว่าเป็นกิจการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน

วันเดียวกันนี้ (26 พ.ย.) องค์การอนามัยโลกประกาศให้เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ B.1.1.529 ที่พบทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นสายพันธุ์ที่ "น่ากังวล" และให้ชื่อว่า โอมิครอน (Omicron) ถือเป็นเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ที่น่ากังวลชนิดที่ 5 ต่อจากอัลฟา เบตา แกมมา เดลตา

25 พ.ย. สธ. ลงนามสัญญาจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 5 หมื่นคอร์สการรักษา หรือประมาณ 2 ล้านเม็ด มูลค่ารวม 500 ล้านบาท มุ่งเป้าใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่มีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง เช่น ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจและโรคมะเร็ง เป็นต้น โดยคาดว่ายาตัวนี้จะช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหรือการเข้ารักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยได้ถึงครึ่งหนึ่ง

9 พ.ย. โรงพยาบาลเอกชนเริ่มฉีดวัคซีนโมเดอร์นาให้ผู้ที่จองวัคซีนไว้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ, บรรยากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันเปิดประเทศ 1 พ.ย. 2564

1 พ.ย. วันเปิดประเทศ และวันเปิดภาคเรียนแบบ "ออนไซต์"

-วันแรกที่ประเทศไทยเปิดรับผู้เดินทางจาก 63 ประเทศและดินแดนให้เข้าไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว หากมีหลักฐานการฉีดวัคซีนครบโดส และผลการตรวจ RT-PCR เป็นลบ

-เปิดภาคเรียนวันแรก กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษาที่มีมาตรการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพเปิดการเรียนการสอนที่โรงเรียนหรือ "ออนไซต์" ควบคู่ไปกับการเรียนออนไลน์ได้ โดยในกรุงเทพฯ มีโรงเรียนเพียง 63 แห่งที่กลับมาสอนแบบออนไซต์ ส่วนที่เหลือยังรอดูสถานการณ์

-วัคซีนโมเดอร์นาล็อตแรกจำนวน 560,200 โดส มาถึงไทยหลังจากใช้เวลากว่า 1 ปีในการประสานงานกันระหว่างสมาคมโรงพยาบาลเอกชน องค์การเภสัชกรรม และบริษัท แซดพี เทอราพิวติกส์ ซิลลิค ฟาร์มา ประเทศไทย ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาในไทย

16 ต.ค. วันแรกของการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เพิ่มเติมตามข้อกำหนดฉบับที่ 35 ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เช่น ลดเวลาเคอร์ฟิว ขยายเวลาให้บริการของสถานประกอบการต่าง ๆ ไปจนถึง 22.00 น. และลดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดหรือ "พื้้นที่สีแดงเข้ม" จาก 29 จังหวัด เป็น 23 จังหวัด

14 ต.ค. ที่ประชุมใหญ่ ศบค. มีมติเห็นชอบยกเลิกล็อกดาวน์เพื่อให้สอดรับกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในวันที่ 1 พ.ย. และมีมติลดระยะเวลาเคอร์ฟิวลงอีก 1 ชม. เป็น 23.00-03.00 น.

11 ต.ค. นายกฯ แถลงข่าวผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจประกาศแผนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้าไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำอย่างน้อย 10 ประเทศรวมถึง อังกฤษ สิงคโปร์ เยอรมนี จีน และสหรัฐฯ จะสามารถเดินทางเข้าไทยได้โดยไม่ต้องกักตัวตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. และระบุว่าในวันที่ 1 ธ.ค. จะพิจารณาอนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในร้านอาหารได้ และจะพิจารณาอนุญาตให้สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสถานบันเทิง เปิดให้บริการได้

8 ต.ค. รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศถอนไทยและอีก 46 ประเทศและดินแดนออกจากบัญชีประเทศที่มีความเสี่ยงโควิด-19 สูง หรือ "บัญชีแดง" มีผลให้ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. ผู้ที่เดินทางมาจากไทยและฉีดวัคซีนโควิดที่อังกฤษรับรองแล้ว 4 ยี่ห้อคือ แอสตร้าเซนเนก้า, ไฟเซอร์, โมเดอร์นา หรือ แจนเซน/จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ครบโดส สามารถเดินทางเข้าอังกฤษได้โดยไม่ต้องกักตัว

4 ต.ค. สธ. เริ่มฉีดวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์ให้เด็กอายุ 12-18 ปีทั่วประเทศเป็นวันแรก หลังจากมีการฉีดนำร่องเฉพาะเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โดย พล.อ. ประยุทธ์กล่าวระหว่างเป็นประธานในการ "คิกออฟ" การฉีดวัคซีนไฟเซอร์นักเรียนว่าการเริ่มฉีดวัคซีนวันนี้เพื่อเตรียมความพร้อมรับเปิดเทอมใหม่ในวันที่ 1 พ.ย. นี้

คำบรรยายวิดีโอ, วัคซีนโควิด คนกังวลเรื่องอะไรกัน

1 ต.ค. วันแรกของการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ตามข้อกำหนดฉบับที่ 34 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญคืออนุญาตให้กิจการ/กิจกรรมกลับมาเปิดบริการเพิ่มเติมอีก 9 ประเภทภายใต้มาตรการที่กำหนด เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พิพิธภัณฑ์ ร้านสัก ร้านนวด/สปา โรงภาพยนตร์ การเล่นดนตรีในร้านอาหาร เป็นต้น โดยมาตรการ 2 อย่างที่ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด คือ มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID-free Setting) และการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบครอบจักรวาล (Universal Prevention)

นอกจากนี้ยังลดระยะเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ลงอีก 1 ชั่วโมง จากเดิม 21.00-04.00 น. เป็น 22.00-04.00 น.

29 ก.ย. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรไปอีก 2 เดือน จนถึงวันที่ 30 พ.ย. นับเป็นการต่ออายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉินครั้งที่ 14

21 ก.ย. ครม. เห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อกำหนดให้มีมาตรการที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ระงับ ควบคุม หรือขจัดโรคติดต่อที่มีการระบาดในกรณีปกติและในกรณีที่มีความรุนแรง และเพิ่มหมวดเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เพื่อแยกการจัดการกรณีโรคติดต่อในสถานการณ์ปกติออกจากโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่มีลักษณะของการเป็นโรคอุบัติใหม่หรือโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ซึ่งต่อไปจะได้ไม่ต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเดียวกันนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เริ่มฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้นักเรียนนักศึกษาอายุ 12-18 ปี ในกรุงเทพฯ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีโรคประจำตัว 7 โรค

20 ก.ย. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (รจภ.) เริ่มฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้เด็กอายุ 10-18 ปี ภายใต้โครงการวิจัย "VACC 2 School" คาดว่าจะมีเด็กรับวัคซีนซิโนฟาร์มภายใต้โครงการนี้ 108,000 คน ทั้งนี้ อย. ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์มสำหรับฉีดในเด็ก แต่เนื่องจาก รจภ. ดำเนินการฉีดในลักษณะโครงการวิจัยที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการของ รจภ. จึงสามารถฉีดได้

7 ก.ย. ที่ประชุม ครม. นัดแรกผ่านศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ และรัฐมนตรีอีก 5 คน ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-4 ก.ย. มีมติชอบและอนุมัติงประมาณ 4,254.36 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่ม 12 ล้านโดส รองรับการฉีดวัคซีนสูตรผสม แม้ว่าในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ส. ฝ่ายค้านหลายคนจะตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาก็ตาม

กราฟิก

การประชุม ครม. นัดนี้ยังเป็นนัดแรกที่รัฐมนตรีเดินทางมาประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลแทนที่จะเป็นการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เหมือนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.

วันเดียวกันนี้ อย. ได้อนุมัติให้ฉีดวัคซีนโมเดอร์นาในเด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไป นับเป็นวัคซีนชนิดที่ 2 ต่อจากไฟเซอร์ที่ อย. อนุมัติให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปี

1 ก.ย. วันแรกของการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ตามข้อกำหนดฉบับที่ 32 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน การผ่อนคลายมาตรการมีเช่น อนุญาตให้นั่งรับประทานอาหารในร้านได้แต่ต้องจำกัดปริมาณลูกค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านตัดผม สนามกีฬา สวนสาธารณะกลับมาเปิดบริการได้แบบมีเงื่อนไข อย่างไรก็ตามคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานหรือเคอร์ฟิวระหว่างเวลา 21.00-04.00 น. ยังมีผลบังคับใช้

เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือนนับจากวันที่ 12 ก.ค. ที่ ศบค. ประกาศล็อกดาวน์ 10 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ก่อนจะเพิ่มมาเป็น 13 และ 29 จังหวัด ที่มีการผ่อนคลายมาตรการ โดย ศบค. ให้เหตุผลว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มลดลงและเพื่อเริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดว่าประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถกำจัดโควิด-19 ไปได้ จึงต้องหาทางอยู่ร่วมกับโรคระบาดนี้ให้ได้

25 ส.ค. จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมจากโควิด-19 ของไทยถึงหลักหมื่นเป็นวันแรก นับตั้งแต่ สธ. ยืนยันผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นชายไทยอายุ 35 ปี เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2563 จนถึงวันนี้มีผู้เสียชีวิตสะสม 10,085 ราย

24 ส.ค. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานการพบสายพันธุ์ย่อยของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาในประเทศไทยจำนวน 4 ชนิด และมีผู้ติดเชื้อเดลตาสายพันธุ์ย่อยนี้แล้วอย่างน้อย 7 คน โดยอธิบายว่าการพบสายพันธุ์ย่อยของไวรัสเป็นเรื่องปกติเมื่อมีการระบาดในวงกว้าง แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง และยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าจะส่งผลต่อการดื้อต่อวัคซีนมากกว่าสายพันธุ์หลักหรือไม่

จำนวนผู้ป่วยโควิดสะสม

20 ส.ค. จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมในประเทศไทยนับตั้งแต่พบการระบาดในประเทศเมื่อเดือน ม.ค. 2563 เกิน 1 ล้านคน

16 ส.ค. ศบค. ประชุมประเมินสถานการณ์หลังขยายพื้นที่ล็อกดาวน์เพิ่มเป็น 29 จังหวัดผ่านไป 14 วัน พบว่าคุมการระบาดได้ราว 20% มีมติให้คงมาตรการต่อเนื่องถึง 31 ส.ค. พร้อมกับเห็นชอบในหลักการให้จัดหาวัคซีนซิโนแวคมาเพิ่มอีก 12 ล้านโดส

วันเดียวกันนี้สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการนำเข้ายา วัคซีน และเวชภัณฑ์เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งอนุญาตให้หน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เสนอต่ออธิการบดีให้จัดหา ผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือขออนุญาตและออกใบอนุญาตการขึ้นทะเบียนยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ ซึ่งต่อมา มธ. ชี้แจงว่าจะเป็นการนำเข้าวัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ไม่ซ้ำกับยี่ห้อที่มีการนำเข้ามาในไทยแล้ว และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเข้ามาเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น คาดว่าจะเริ่มนำเข้าได้ต้นปี 2565

10 ส.ค. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดฉบับที่ 31 ให้ยกเลิกข้อกำหนดฉบับที่ 29 ซึ่งออกตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ว่าด้วยการห้ามเผยแพร่ข่าวสารที่สร้างความหวาดกลัวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ซึ่งก่อนหน้านี้ตัวแทนสื่อออนไลน์และภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนยื่นฟ้องต่อศาลให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพิกถอนข้อกำหนดดังกล่าว

การยกเลิกข้อกำหนดฉบับนี้มีขึ้นเพียง 3 วันหลังจากที่ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนายกฯ บังคับใช้ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ตามคำร้องของตัวแทนสื่อมวลชนออนไลน์ 12 ราย และภาคีนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ยื่นฟ้อง พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ให้เพิกถอนคำสั่งฉบับนี้

4 ส.ค. ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมงเกิน 2 หมื่นรายเป็นครั้งแรก และอยู่ในระดับนี้อีกประมาณ 2-3 วันก่อนที่ตัวเลขจะลดลงต่ำกว่า 2 หมื่นรายเล็กน้อยหลังจากนั้น วันนี้ยังเป็นวันแรกที่มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ล็อตที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐฯ ให้บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าและประชาชนที่เข้าเกณฑ์

1 ส.ค. ศบค. มีมติขยายระยะเวลามาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 แบบ "ล็อกดาวน์ขั้นสูงสุด" ออกไปอีก 14 วันจากข้อกำหนดฉบับที่ 28 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. โดยให้มีผลตั้งแต่ 3 ส.ค. พร้อมกับเพิ่มจังหวัด "สีแดงเข้ม" หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครปฐม นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ปัตตานี อยุธยา ยะลา สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร กาญจนบุรี ตาก นครปฐม นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

วัคซีนไฟเซอร์จากสหรัฐฯ บริจาคให้ไทย

ที่มาของภาพ, กระทรวงสาธารณสุข

คำบรรยายภาพ, วัคซีนต้านโควิด-19 ของไฟเซอร์ที่สหรัฐฯ บริจาคให้ไทยมาถึงเมื่อวันที่ 30 ก.ค.

30 ก.ค. วัคซีนของไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสที่รัฐบาลสหรัฐฯ บริจาคให้ไทยเดินทางมาถึง โดย ศบค. เปิดเผยว่าวัคซีนล็อตนี้จะนำไปฉีดเป็นวัคซีนกระตุ้น (booster dose) ให้บุคลากรทางการแพทย์, ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป, ชาวต่างชาติ เน้นผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง, และคนไทยที่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ คือ นักเรียก นักศึกษา นักกีฬา และนักการทูต

29 ก.ค. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ที่ออกตาม พ.ร.บ. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่าด้วยการควบคุมการเสนอข่าวและข้อมูลอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนที่อาจทำให้ประชำชนเกิดความหวาดกลัว เข้าใจผิด สับสน ปฏิบัติตนไม่ถูกต้องในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ข้อกำหนดฉบับนี้ทำให้องค์กรวิชาชีพสื่อออกมาคัดค้านและเรียกร้องให้ยกเลิก เพราะเห็นว่าเป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อและการแสดงความเห็นของประชาชน ต่อมาสำนักข่าวออนไลน์และภาคีนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกันยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งซึ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนายกรัฐมนตรีใช้ข้อกำหนดฉบับนี้เมื่อวันที่ 6 ส.ค.

23 ก.ค. องค์การเภสัชกรรมเซ็นสัญญากับบริษท ซิลลิคฟาร์มา เพื่อสั่งซื้อวัคซีนชนิด mRNA ของบริษัทโมเดอร์นาจำนวน 5 ล้านโดส วัคซีนของโมเดอร์นาเป็นวัคซีนโควิด-19 ลำดับที่ 4 ที่องค์การอาหารและยาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ โดยมีบริษัทซิลลิคฟาร์มาเป็นผู้ได้รับอนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นวัคซีน "ทางเลือก" สำหรับประชาชนที่พร้อมเสียค่าใช้จ่ายในการฉีด โดยวัคซีนทั้งหมดจะทยอยนำเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 ต่อเนื่องไตรมาส 1 ปี 2565

20 ก.ค. กรมควบคุมโรคลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA กับบริษัทไฟเซอร์ (ประเทศไทยและอินโดไชนา) เพื่อจัดหาวัคซีนโควิด จำนวน 20 ล้านโดส คาดว่าวัคซีนล็อตแรกจะมาถึงไทยภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ตามข้อตกลงในสัญญา

19 ก.ค. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดฉบับที่ 28 ที่ออกตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ให้ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. ศบค. อธิบายว่าข้อกำหนดฉบับนี้เป็น "มาตรการล็อกดาวน์ขั้นสูงสุด" ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้มหรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครปฐม นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ปัตตานี อยุธยา ยะลา สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร) ให้ประชาชนงดออกจากเคหสถานหรือที่พำนักโดยไม่จำเป็นในเวลากลางวัน ยกเว้นเพื่อจัดหาอาหาร ยา พบแพทย์ รับวัคซีน และอาชีพจำเป็น ห้ามเดินทางออกนอกพื้นที่สีแดงเข้ม จำกัดจำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะ และขยายเวลาคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานหรือเคอร์ฟิวไปจนถึงวันที่ 2 ส.ค.

17 ก.ค. จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันของไทยทะลุ 1 หมื่นรายเป็นครั้งแรกคือ 10,082 และมีผู้เสียชีวิตในรอบ 24 ชั่วโมงสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกันที่ 141 ราย

12 ก.ค. คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติสำคัญ 2 ข้อเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิดและการตรวจหาเชื้อ คือ

  • เห็นชอบให้มีการฉีดวัคซีนต่างชนิดได้ในประเทศไทย โดยให้ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นวัคซีนเชื้อตายของซิโนแวค รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนชนิดไวรัลเว็กเตอร์ของแอสตร้าเซนเนก้า ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ โดยโรงพยาบาลต่าง ๆ ดำเนินการได้ทันที โดยอ้างการศึกษาของไทยที่พบว่าทำให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มได้เร็วขึ้น
  • เห็นชอบให้สถานพยาบาลและหน่วยตรวจหาเชื้อโควิด-19 ใช้ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยวิธีตรวจแบบแอนติเจน (rapid antigen test) ได้

9 ก.ค. ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด และยกระดับมาตรการควบคุมโรครวม 10 จังหวัดที่มีการระบาดรุนแรงของโควิด-19 มีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. เช่น การประกาศเคอร์ฟิวช่วงเวลา 21.00-04.00 น. ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการระบาด เลื่อนเวลาปิดของห้ามสรรพสินค้า เป็นต้น รวมทั้งมีมติเห็นชอบให้ขยายการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกไปอีก 2 เดือนไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2564

คำบรรยายวิดีโอ, "อยากให้ภูเก็ตเป็นปราสาท เพราะเราตั้งว่าแซนด์บ็อกซ์"

1 ก.ค. เปิดตัวโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์หรือการทดลองนำร่องเปิดเกาะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือนที่ จ.ภูเก็ต มีโอกาสต้อนรับเที่ยวบินจากต่างประเทศ ภายหลังเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ในไทย ตั้งแต่ปี 2563 โดยนายกฯ เดินทางไปภูเก็ตเพื่อเปิดงานและต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยตัวเอง

28 มิ.ย. ข้อกำหนดฉบับที่ 25 ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมีผลบังคับใช้ ใจความสำคัญคือการประกาศให้พื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑลรวม 6 จังหวัด และจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่น ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง หยุดโครงการก่อสร้าง ห้ามรับประทานอาหารในร้าน จำกัดเวลาการเปิดของห้างสรรพสินค้าให้เปิดถึง 21.00 และห้ามรวมกลุ่มกันเกิน 20 คน

25 มิ.ย. เริ่มฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้ประชาชนกลุ่มแรกจำนวน 6,400 คน ซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนโดยรอบโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

24 มิ.ย. อย. ขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้นำเข้าวัคซีน "โคเมอร์เนตี" (Comirnaty) ของ บ. ไฟเซอร์ โดยมี บ. ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) เป็นผู้นำเข้า

20 มิ.ย. วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกจำนวน 1 ล้านโดส ที่จัดหาผ่านราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้องค์กรต่าง ๆ เป็นวัคซีนทางเลือก มาถึงไทย

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ที่มาของภาพ, สำนักโฆษก สำนักนายกรัฐมนตรี

คำบรรยายภาพ, "ผมรู้ดีว่าการตัดสินใจของผมวันนี้ มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะเมื่อเราเปิดประเทศ ไม่ว่าเราจะเตรียมการป้องกันขนาดไหนก็ตาม ก็ยังมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เมื่อเราประเมินสถานการณ์ และคิดถึงความอยู่รอดในการทำมาหากินของพี่น้องประชาชน ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วครับที่เราจะต้องยอมรับความเสี่ยงร่วมกันบ้าง" นายกฯ กล่าวเมื่อ 16 มิ.ย. 2564

16 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ทั่วประเทศประกาศ "เปิดประเทศ" ภายในเวลา 120 วัน โดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอดในการทำมาหากินของประชาชน และทุกฝ่ายต้องยอมรับความเสี่ยงร่วมกัน

7 มิ.ย. "ดีเดย์" วันเริ่มต้นฉีดวัคซีนโควิด-19 ปูพรมทั่วประเทศ โดยมีวัคซีนทั้งของซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า ในสามวันแรก (7, 8 และ 9 มิ.ย.) ฉีดวัคซีนได้วันละ 416,847 โดส 472,128 โดส และ 336,674 โดสต่อวันตามลำดับ

1 มิ.ย. องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนซิโนแวคของจีนสำหรับการใช้งานในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการรับประกันต่อนานาประเทศ ผู้ให้ทุน หน่วยงานจัดหา และประชาชนว่าวัคซีนชนิดนี้ได้มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการผลิต ขณะที่ ศบค. รายงานว่าไทยมีผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตสะสมเกิน 1,000 รายแล้ว โดยเพิ่มจาก 937 รายในวันที่ 31 พ.ค. เป็น 1,069 ราย

28 พ.ค. อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีน "BBIBP-CorV" ของ บ. ซิโนฟาร์ม ประเทศจีน วันเดียวกันนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ตั้งโต๊ะแถลง "แนวทางการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก ซิโนฟาร์ม"

24 พ.ค. นายกฯ เข้ารับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกซึ่งฉีดเมื่อ 16 มี.ค. ราว 70 วัน

เปรียบเทียบสายพันธุ์โควิดที่พบในไทย

23 พ.ค. สธ. พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์แอฟริกาใต้ 3 รายแรก ในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

21 พ.ค. ยืนยันพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดียในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่แคมป์คนงานย่านหลักสี่

13 พ.ค. อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนของบริษัท โมเดอร์นา เป็นชนิดที่ 4 ต่อจากวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวคและจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

12 พ.ค. กรมราชทัณฑ์ออกเอกสารข่าวชี้แจงว่าได้ตรวจหาเชื้อเชิงรุกทั้งในเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และผู้ต้องขัง 100% พบผู้ติดเชื้อโควิด -19 รวม 2,835 ราย อยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางรวม 1,040 ราย และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครรวม 1,795 ราย นับเป็นครั้งแรกที่มีการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ในเรือนจำ ส่วนหนึ่งเป็นแกนนำกลุ่ม "ราษฎร" ที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง เช่น นายอานนท์ นำภาและนายภาณุพงศ์ จาดนอก

11 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แล้ว ยังได้ตั้งตัวเองเป็นผู้อำนวยการ "ศบค.กรุงเทพฯ และปริมณฑล" เพื่อควบคุมการระบาดระลอก 3 ประกาศให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติและวิงวอนให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าจะฉีดให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดสตั้งแต่เดือน มิ.ย. เป็นต้นไป

10 พ.ค. ศบค. แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดียในไทย เป็นคนไทย 2 คนที่เดินทางมาจากปากีสถาน

7 พ.ค. คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติเห็นชอบแนวทางในการฉีดวัคซีนของซิโนแวคให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ เนื่องจากผลการศึกษาของประเทศจีนมีความชัดเจนมากขึ้น จากเดิมที่กำหนดให้ฉีดเฉพาะคนที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี

29 เม.ย. ศบค. มีมติให้ยกระดับมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 โดยประกาศให้ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการเป็น "พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด" หรือ "พื้นที่สีแดงเข้ม" กำหนดระยะเวลาปิด-เปิดของห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ห้ามนั่งรับประทานอาหารที่ร้าน และห้ามเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ เป็นต้น เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป

23 เม.ย.จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 2,070 ราย นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการระบาดเมื่อ ม.ค. 2563 ที่ผู้ป่วยรายใหม่ทะลุ 2,000 ราย

8 เม.ย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตรวจพบว่าเชื้อโควิดที่มีการระบาดในสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เป็นไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ เป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดของสายพันธุ์นี้ในไทย

1 เม.ย. เริ่มต้นการระบาดระลอกที่ 3 โดยเริ่มจากการติดเชื้อเป็นกลุ่มเป็นก้อนในกลุ่มพนักงานและนักเที่ยวสถานบันเทิงย่านทองหล่อ

การระบาดระลอก เม.ย. 2564 นี้มีประเด็นสำคัญหลายอย่าง เช่น

  • บุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งในแวดวงการเมืองและวงการบันเทิงติดเชื้อจำนวนมาก เช่น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ซึ่งนับว่าเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดโควิด นายอาคม ปรีดากุล หรือ "ค่อม ชวนชื่น" นักแสดงตลกชื่อดัง ซึ่งต่อมาได้เสียชีวิตในวันที่ 30 เม.ย.
  • พบการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ
  • แพทย์พบว่าการระบาดระลอกนี้ผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการทรุดเร็ว หลายรายเสียชีวิตภายใน 1 สัปดาห์หลังมีอาการป่วย
  • จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตรายวันทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีการระบาดในไทย

25 มี.ค. อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนของ บ.จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เป็นวัคซีนยี่ห้อที่ 3 ต่อจากซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า

16 มี.ค. หลังเลื่อนการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 มาได้ 4 วัน ในที่สุด พล.อ. ประยุทธ์ก็เข้ารับการฉีดวัคซีนของ บ.แอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรกของประเทศไทย โดยมีรัฐมนตรีอีก 19 รายเข้ารับการฉีดวัคซีนด้วย

12 มี.ค. พล.อ. ประยุทธ์มีกำหนดรับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นคนแรกของประเทศ แต่กำหนดการวันนี้ถูกเลื่อนออกไปอย่างกะทันหัน เพราะไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่นายกฯ จะฉีดนั้นเองได้มีรายงานว่าบางประเทศในยุโรประงับการฉีดวัคซีนยี่ห้อนี้เนื่องจากพบผลข้างเคียงคืออาการลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ได้รับวัคซีนบางราย

28 ก.พ. ไทยเริ่มต้นการฉีดวัคซีนโควิด-19 นายอนุทิน รมว.สธ. เป็นผู้ได้ร้บวัคซีนเป็นคนแรก โดยได้รับวัคซีนของ บ.ซิโนแวค ซึ่งมีข้อบ่งใช้ว่าจะฉีดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี

24 ก.พ. วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกมาถึงไทย นายกฯ และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สธ. ร่วมพิธีรับวัคซีนที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งได้แก่ วัคซีนของ บ.ซิโนแวค 2 แสนโดส และวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า 117,300 โดส

กราฟิก

22 ก.พ. อย.ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค

20 ม.ค. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า

18 ม.ค. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า จัดเฟซบุ๊กไลฟ์วิจารณ์นโยบายการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ว่า "ล่าช้า" และตั้งคำถามถึงแนวทางจัดหาวัคซีนแบบ "แทงม้าตัวเดียว" จาก บ.แอสตร้าเซนเนก้า และแสดงความกังวลต่อการที่บริษัทเอกชนซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดวัคซีน

3 ม.ค. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ได้ถอดรหัสสายพันธุ์ พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษหรือที่เรียกว่า "สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ B.1.1.7" ได้ในประเทศไทย เป็นครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คน พ่อ แม่ ลูก 2 คน ติดเชื้อทั้ง 4 คน ทั้งหมดเข้ารับการรักษาและกักโรคที่โรงพยาบาลเอกชน นับเป็นการพบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษครั้งแรกในไทย แต่ยังไม่มีการกระจายในชุมชน

ปี 2563

15 ธ.ค. สธ. ประกาศการระบาดระลอกใหม่ในไทย หลังจากมีการแพร่ระบาดที่ตลาดกลางกุ้ง ต. มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ผู้ติดเชื้อจำนวนมากเป็นแรงงานชาวเมียนมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการตั้งโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่หลายแห่งในจังหวัด เพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกมารักษา การระบาดระลอกที่ 2 นี้ลากยาวมาจนถึงสิ้นเดือน มี.ค.

ต่อมา สธ. สรุปจำนวนผู้ติดเชื้อในระลอกแรกและระลอกสอง ดังนี้

  • ระลอก ม.ค. 2563 (ม.ค.-14 ธ.ค.) มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 4,237 ราย เสียชีวิต 60 ราย อัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 1.42 %
  • ระลอก ธ.ค. 2563 (15 ธ.ค.63-31 มี.ค. 64) มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 24,626 ราย เสียชีวิต 34 ราย อัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 0.14%

28 พ.ย. กรมควบคุมโรคแถลงยืนยันพบหญิงไทยวัย 29 ปี ใน จ.เชียงใหม่ ติดโควิด-19 ผู้ป่วยรายนี้ทำงานเป็นพนักงานที่สถานบันเทิงแห่งหนึ่งใน จ.ท่าขี้เหล็ก เป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อ "กลุ่มท่าขี้เหล็ก" ซึ่งมีผู้ติดเชื้อกว่า 40 ราย

27 พ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้าระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กับแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) บริษัทผลิตวัคซีนสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน โดยมี บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธย รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด-19 โดยรัฐบาลคาดว่าคนไทยจะมีวัคซีนโควิด-19 ใช้ในปี 2564

มิ.ย.-ก.ค. รัฐบาลประกาศคลายมาตรการล็อกดาวน์เป็นระยะ ๆ

3 เม.ย. รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวในเวลา 22.00-04.00 น. .เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ได้ลดช่วงเวลาเคอร์ฟิวลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีการยกเลิกประกาศเคอร์ฟิวในวันที่ 15 มิ.ย.

27 มี.ค. นายกฯ ลงนามในคำสั่งจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยมีนายกฯ เป็นผู้อำนวยการ ศบค.

26 มี.ค. รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 26 มี.ค.-30 เม.ย. จากนั้นได้มีการขยายเวลาบังคับใช้อีกหลายครั้งต่อเนื่องจนถึงปี 2564

11 มี.ค. องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic

1 มี.ค. สธ. แถลงผู้ป่วยโควิด-19 คนไทย เสียชีวิตเป็นรายแรก เป็นชายไทย อายุ 35 ปี ที่มีประวัติสัมผัสนักท่องเที่ยวชาวจีน

29 ก.พ. สธ.ออกประกาศให้ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" หรือ "โรคโควิด 19" เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย ประกาศฉบับนี้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มี.ค. กำหนดให้ประชาชน ผู้ประกอบการ เช่น โรงแรม มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องรายงานและแจ้ง เมื่อสงสัยหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่ออันตราย ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ขั้นตอนของการซักประวัติ เพื่อช่วยในการรักษาและป้องกันตนเองด้วย

12 ก.พ. องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า "โควิด-19" (Covid-19) โดยชื่อนี้มาจากคำย่อในภาษาอังกฤษของคำว่าโคโรนา ไวรัส และดีซีส (Disease) ที่แปลว่าโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งเลข 19 ซึ่งหมายถึงปี 2019 ที่มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรก

13 ม.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในไทยและเป็นรายแรกที่พบนอกประเทศจีน ผู้ป่วยรายนี้เป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีน อายุ 61 ปี เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่นถึงไทยวันที่ 3 ม.ค.

วิดีโอน่ารู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา

คำบรรยายวิดีโอ, โควิด-19: วัคซีนจะพร้อมใช้งานได้เมื่อไหร่
คำบรรยายวิดีโอ, โควิด ติดซ้ำได้หรือไม่
ข้าม YouTube โพสต์ , 1
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 1

ข้าม YouTube โพสต์ , 2
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 2

ข้าม YouTube โพสต์ , 3
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 3