โควิด-19 : ค่าปรับละเมิดคำสั่งสวมหน้ากาก ต่างประเทศปรับกันเท่าไร

นายกฯ ไม่ใส่หน้ากากในขณะนั่งประชุม

ที่มาของภาพ, FACEBOOK/Prayuth Chan-o-cha

โทษปรับจากการละเมิดข้อกำหนดควบคุมการระบาดโรคโควิด-19 ด้วยการไม่ใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ กำลังเป็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้นำประเทศเป็นผู้ที่ละเมิดกฎเสียเอง และกลายเป็นผู้ที่ต้องจ่ายค่าปรับ 6,000 บาท ตามประกาศของกรุงเทพมหานคร ในวันแรกที่มีผลบังคับใช้

พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกทม. ได้ออกประกาศ กทม. เรื่อง ให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งตลอดเวลาที่ออกนอกเคหสถาน หรือสถานที่พำนัก โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 26 เม.ย. เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

"แล้วประชาชนนั่งในรถต้องใส่หน้ากากนะ ไม่งั้นจับปรับ แล้วนายกไม่ใส่คือ?" ผู้ใช้งานชื่อ กอตอ โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์

ข้าม Twitter โพสต์ , 1
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 1

ชาวเน็ตไม่พอใจนายกฯ

เช่นเดียวกับอีกหลายคนที่ต่างแสดงความไม่พอใจที่ผู้นำประเทศละเมิดกฎที่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไปเสียเอง บางคนเห็นว่าควรจะปรับให้มากกว่านั้น

ขณะที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์บางคนเห็นว่า นายกรัฐมนตรีอาจไม่ได้ตั้งใจละเมิดกฎนี้ แต่เป็นเพราะรีบประชุมจึงลืมหยิบหน้ากากออกมาใส่

ข้าม Twitter โพสต์ , 2
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 2

ข้าม Twitter โพสต์ , 3
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

คำเตือน:เนื้อหาภายนอกอาจมีโฆษณา

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 3

ประกาศของกทม. ในเรื่องนี้สอดคล้องกับมาตรา 51 ของพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

"หลังจากการประชุม นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งมายังผม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ตรวจสอบว่ากรณีดังกล่าวเป็นความผิดหรือไม่" พล.ต.อ.อัศวิน โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก ผู้ว่าฯ อัศวิน

โดยหลังจากนั้นผู้ว่าฯ กทม. พร้อมกับเจ้าพนักงานได้เดินทางไปทำเนียบรัฐบาลเพื่อเปรียบเทียบปรับนายกฯ

ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่สังคมตั้งข้อสงสัยคือ เรื่องการขับรถยนต์ส่วนตัวออกนอกเคหสถาน โดยไม่สวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในรถ มีความผิดหรือไม่

นั่งรถคนเดียวไม่สวมหน้ากากถูกปรับไหม

เว็บไซต์สำนักข่าวไทยรายงานโดยอ้าง พล.ต.ท.อำพล บัวรับพร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เกี่ยวกับกรณีความผิดฐานไม่สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ขณะอยู่นอกเคหสถาน หรือต้องติดต่อกับบุคคลอื่น หรือเดินทางไปสถานที่สาธารณะ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คนขี่มอเตอร์ไซค์ในกทม.

ที่มาของภาพ, EPA

พล.ต.ท. อำพล ยืนยันว่าหากตีความตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด แม้ว่าจะอยู่ในรถคนเดียว ก็ถือว่ามีความผิด หากเจ้าหน้าที่พบเห็นการกระทำผิดซึ่งหน้า ก็สามารถสั่งปรับได้ เพราะถือว่าออกนอกเคหสถาน และรถยนต์นั้นก็อยู่ในทางสาธารณะ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ จึงขอความร่วมมือให้ประชาชนปฏิบัติตาม

อังกฤษปรับเท่าไหร่

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก หลายประเทศก็บังคับใช้กฎสวมหน้ากากหรือผ้าปิดปากเช่นเดียวกัน ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไป

โดยเว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักรระบุว่า หากจำเป็น ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของการขนส่งลอนดอน (Transport for London--TfL) มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายได้ รวมถึงการสั่งปรับ 200 ปอนด์ หรือประมาณ 8,700 บาท (ลดเหลือ 100 ปอนด์ หรือประมาณ 4,350 บาท หากจ่ายภายใน 14 วัน) ในการทำความผิดครั้งแรก

ผู้กระทำความผิดซ้ำจะถูกปรับเพิ่มเป็น 2 เท่าตัวในความผิดแต่ละครั้ง โดยหลังจากการทำผิดครั้งแรกจะไม่มีส่วนลดค่าปรับให้ ยกตัวอย่าง ค่าปรับในครั้งที่สองจะอยู่ที่ 400 ปอนด์ หรือประมาณ 17,400 บาท และครั้งที่สามจะอยู่ที่ 800 ปอนด์ หรือประมาณ 34,800 บาท เพิ่มไปเรื่อย ๆ จนถึงค่าปรับสูงสุดที่ 6,400 ปอนด์ หรือประมาณ 278,400 บาท

ส่วนอินเดีย ซึ่งผู้ติดเชื้อกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้ และถูกมองว่า สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการหละหลวมของประชาชน ก็มีการใช้โทษปรับสำหรับผู้ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยในช่วงเดือนนี้เช่นกัน โดยเว็บไซต์ข่าวหลายแห่ง รายงานว่า การรถไฟอินเดียได้ประกาศเมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า จะมีการบังคับใช้โทษปรับ 500 รูปี หรือประมาณ 209 บาท กับผู้ที่ไม่สวมหน้ากากในบริเวณพื้นที่ของการรถไฟ รวมถึงผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากากในขบวนรถไฟ คำสั่งนี้จะครอบคลุมระยะเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าจะมีคำสั่ง

คนสวมหน้ากากในร้านค้า

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ, ผู้กระทำความผิดซ้ำในอังกฤษจะถูกปรับเพิ่มเป็น 2 เท่าตัวในความผิดแต่ละครั้ง จนถึงค่าปรับสูงสุดที่ 6,400 ปอนด์ หรือประมาณ 278,400 บาท

ขณะที่รัฐบาลประจำรัฐหลายรัฐของอินเดีย ก็ออกคำสั่งบังคับใช้โทษปรับกับผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยเช่นเดียวกัน

เว็บไซต์ไลฟ์มินต์ รายงานว่า รัฐบาลรัฐอุตตรประเทศ ประกาศเมื่อ 17 เม.ย. ว่า ผู้กระทำความผิดครั้งแรกจะถูกปรับ 1,000 รูปี หรือประมาณ 418 บาท แต่หลังจากนั้น ผู้กระทำผิดซ้ำจะต้องจ่ายค่าปรับ 10,000 รูปี หรือประมาณ 4,180 บาท ในแต่ละครั้งที่ถูกพบเห็นว่าไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย

ด้านอิสราเอล ซึ่งเป็นชาติที่มีการให้วัคซีนแก่ประชาชนในสัดส่วนที่สูงลำดับต้น ๆ ของโลก ได้ยกเลิกประกาศการบังคับสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่กลางแจ้งแล้ว

เว็บไซต์อินดิเพนเดนต์ รายงานว่า อิสราเอลได้ยกเลิกข้อกำหนดให้สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะกลางแจ้งแล้วเมื่อ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา แต่ยังคงกำหนดให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากเมื่ออยู่ภายในอาคาร

ข้อมูลจากเว็บไซต์แอตแลนตายิวอิชไทม์ เมื่อ 29 มิ.ย. 2020 ระบุว่า ค่าปรับอยู่ที่ 500 เชเกล หรือประมาณ 4,590 บาท