ไวรัสโคโรนา : นายจ้าง เอสเอ็มอีและแรงงานนอกระบบต้องการรัฐเยียวยาอย่างไร หลังรัฐบาลสั่งปิดกิจการ

  • วัชชิรานนท์ ทองเทพ
  • ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย

ภายหลังจากที่มีคำสั่งปิดกิจการของสถานประกอบการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แรงงานนอกระบบและแรงงานต่างด้าวต่างมุ่งหน้าเดินทางกลับภูมิลำเนา

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Image

คำบรรยายภาพ, ภายหลังจากที่มีคำสั่งปิดกิจการของสถานประกอบการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แรงงานนอกระบบและแรงงานต่างด้าวต่างมุ่งหน้าเดินทางกลับภูมิลำเนา ท่ามการความวิตกกังวลว่าจะเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

วันนี้ (24 มี.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพิจารณามาตรการชุดที่ 2 เพื่อช่วยลดผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดสถานประกอบการอย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตามยังมีหลายประเด็นที่ภาคเอกชนและแรงงานนอกระบบยังไม่มั่นใจ เพราะมาตรการช่วยเหลือที่ผ่านมายังขาดรายละเอียดที่ชัดเจนและรอบด้าน

ก่อนที่มาตรการชุดใหม่จะได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บีบีซีไทยสอบถามตัวแทนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ผู้แทนแรงงานนอกระบบว่า อะไรคือมาตรการเยียวยาและมาตรการช่วยเหลือที่ตอบโจทย์ที่สุด หลังจากจำต้องปิดสถานประกอบการแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อน

เมื่อมองภาพใหญ่ น.ส.โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยตั้งข้อสังเกตว่า การที่รัฐออกมาตรการหรือคำสั่งใด ๆ เพื่อบริหารจัดการวิกฤตการระบาดโรคโควิด-19 แบบ "ยาแรง" เช่น การมีคำสั่งปิดสถานประกอบการหรือสถานที่ต่าง ๆ ควรจะต้องมีมาตรการรองรับอย่างรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และควรจะต้องแจ้งล่วงหน้าต่อผู้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ

เรียกร้อง "โรดแมปแก้วิกฤตองค์รวม"

"ในฐานะผู้ประกอบการ หากว่ารู้ล่วงหน้าว่าจะมีการประกาศปิดสถานประกอบการหรือ มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการระบาดของไวรัสโควิด-19 เราก็จะเตรียมตัววางแผนได้" เธออธิบาย

ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อยราวแสนรายทั่วประเทศเรียกร้องว่า แทนที่รัฐจะประกาศมาตรการแบบฉับพลันอย่างที่ผ่านมา รัฐควรมีมาตรการที่เป็นโรดแมปที่ชัดเจน มีแผนสำรอง ที่สามารถรองรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ หรือที่เรียกในทางการบริหารความเสี่ยงว่า "ซินาริโอ แพลน (scinario plan) เพื่อให้เอกชนหรือประชาชนได้รู้กันล่วงหน้า

นับตั้งแตวันที่ 17 มี.ค.เป็นต้นมา ร้านอาหารต่าง ๆ รวมทั้งสถานประกอบการ 26 ประเภทถูกสั่งปิดกิจการชั่วคราว

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, นับตั้งแตวันที่ 17 มี.ค.เป็นต้นมา ร้านอาหารต่าง ๆ รวมทั้งสถานประกอบการ 26 ประเภทถูกสั่งปิดกิจการชั่วคราว

นอกจากนี้ น.ส. โชนรังสียังระบุว่า ท่ามกลางความตื่นตระหนกของประชาชนต่อการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลหรือหน่วยราชการควรจะใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรื่องข่าวลวง (fake news) อย่างเป็นระบบอีกด้วย

ในวงจรเศรษฐกิจ กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคือแหล่งจ้างงานสำคัญ และแหล่งเชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่และภาคการผลิตอื่น ๆ รวมทั้งเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ สะท้อนให้เห็นจากการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนของ น.ส.วิมลกานต์ โกสุมาศ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในเดือนมกราคมที่ฉายภาพรวมของเอสเอ็มอีปี 2562 ที่ผ่านมาว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรวมทั้งหมด 3 ล้านราย ทำให้เกิดการจ้างงานราว 13.95 ล้านคน หรือคิดเป็น 85.5% ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศ

สินเชื่อเร่งด่วน เติมสภาพคล่อง

ในภาวะปกติ อุปสรรคสำคัญของฟันเฟืองเศรษฐกิจเหล่านี้ก็คือการเข้าถึงแหล่งทุน หรือ สินเชื่อ แต่เมื่อมาถึงภาวะวิกฤตเช่นปัจจุบัน เรื่องนี้ยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดสถานที่และสถานประกอบการอย่างฉับพลันทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

น.ส. ประวีณ์นุช กิติวัฒนบำรุง กรรมการผู้จัดการ บริษัท พราวิเนีย จำกัด ผู้ดำเนินการโรงเรียนพราวิเนีย ความงาม และธุรกิจสปา พราวิเนียบิวตี้สปา ย่านราชพฤกษ์ เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการชั่วคราว ที่ครอบคลุมสถานบริการเสริมความงามด้วย

ก่อนมีคำสั่งปิด ในช่วงปกติจะมีผู้เข้ามาใช้บริการนวดหน้าที่สปาของประวีณ์นุชราว 200-300 คน/เดือน หรือ 7-15 คน/วัน

ที่มาของภาพ, บริษัท พราวิเนีย จำกัด

คำบรรยายภาพ, ก่อนมีคำสั่งปิด ในช่วงปกติจะมีผู้เข้ามาใช้บริการนวดหน้าที่สปาของประวีณ์นุชราว 200-300 คน/เดือน หรือ 7-15 คน/วัน

เธอคาดว่าต้องสูญเสียรายได้กว่าล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่รายจ่ายยังคงเดิม เนื่องจากยังต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานเหมือนเดิม แม้ว่าร้านจะต้องปิดไปจนถึงวันที่ 12 เม.ย.ตามประกาศของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อระดับจังหวัด

"คิดว่าไม่มีทางที่ธุรกิจจะกลับมาเปิดได้หลังวันที่ 12 เม.ย. เชื่อว่าการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นการซื้อเวลา เพราะคิดว่าสถานการณ์น่าจะลุกลามไปจนถึงเดือนพฤษภาคม" เธออธิบายและประเมินว่า ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาคือ "การขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ"

ผู้บริหารสปารายนี้บอกว่า มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่น่าจะตรงจุดมากที่สุดคือ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำราว 0-1% ต่อปี หากสามารถทำได้ จะทำให้ธุรกิจของเธอสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเงื่อนไขผ่อนปรน และระยะเวลาในการพิจารณาเงินกู้ไม่ยาวนานเกินไปอาจจะใช้ระยะเวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, คาดการณ์ว่า ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จะพิจารณามาตรการชุดที่ 2 เพื่อช่วยลดผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดสถานประกอบการอย่างฉับพลัน ในบ่ายวันนี้ ( 24 มี.ค.)

เรื่องการลดค่าใช้จ่ายก็สำคัญ เช่น การจ่ายค่าประกันสังคม ซึ่งก่อนหน้าที่ปรับลดลงจาก 5% มาเหลือ 4% ถือว่ายังไม่ไม่เพียงพอ ขณะที่ภาษีหักค่าที่จ่ายควรลดลงจากเดิม 3% เป็น 0 - 0.5% เป็นระยะเวลา 6 เดือนหรือถึงสิ้นปี

น.ส.โชนรังสี ซึ่งนอกจากจะเป็นประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยแล้ว ยังเป็นผู้บริหารรุ่นที่ 2 ของธุรกิจสำนักพิมพ์ บริษัท บุ๊ค ไทม์ จำกัด ย่านพระราม 2 ที่ต้องดูแลพนักงานกว่า 40 ชีวิต กล่าวในฐานะผู้ประกอบการว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีจากการปิดห้างสรรพสินค้าคือ บริษัทของเธอต้องยุติการจัดแสดงและขายหนังสือ และเปลี่ยนมาขายผ่านทางระบบออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญในการช่วยให้ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 30 ปีไปได้ในวิกฤตครั้งนี้ คือ "สินเชื่อ และ "การชำระภาษี"

"มาตรการที่ผ่านมา ที่ให้พักชำระเงินต้น โดยการยืดอายุการชำระออกไป 6-12 เดือนในระยะแรก ถือว่ายังไม่ตรงจุด อยากให้ลดดอกเบี้ยลงกว่าปัจจุบัน แม้ว่า กนง. ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลดลงแล้วก่อนหน้านี้" น.ส.โชนรังสีกล่าว

ด้านนายสมคิด ด้วงเงิน ประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) บอกกับบีบีซีไทยว่าหลังจากรัฐบาลมีคำสั่งปิดสถานประกอบการรอบแรกเมื่อวันที่ 17 มี.ค. สมาพันธ์ฯ ได้เสนอมาตรการสำหรับช่วยเหลือแรงงานนอกระบบและผู้มีรายได้น้อยไปเบื้องต้นแล้ว

ข้อเสนอของสมาพันธ์ฯ ซึ่งส่งให้คณะทำงานของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย

  • ขอให้ปรับเงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย รายจิ๋ว และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ขับรถแท็กซี่รับจ้าง วงเงินสินเชื่อไม่เกิน หนึ่งล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% และลดดอกเบี้ยลงเหลือ 1% ในกรณีที่มีการรวมกลุ่มอาชีพ
  • พักเงินต้น ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย รายจิ๋ว และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
  • ขอให้รัฐบาลเจรจากับสถาบันการเงินเอกชนเพื่อผ่อนคลายการชำระคืนเงินกู้ และเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของผู้ประกอบการรายย่อย รายจิ๋ว และผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ลดภาษีมูลค่าเพิ่มลง 1 % เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของแรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไป

ขอขยายระยะเวลาส่งงบการเงินและยื่นภาษีออกไป 3 เดือน

ในฐานะประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย น.ส.โชนรังสี บอกว่า สมาพันธ์ฯ ได้ร่วมกับอีก 4 สมาคมประกอบด้วย สมาคมสำนักงานบัญชีและกฎหมาย สมาคมสำนักบัญชีคุณภาพ สมาคมสำนักงานบัญชีไทย และสมาคมผู้สอบบัญชีอากรแห่งประเทศไทย ได้ยื่นจดหมายถึงอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอพิจารณาขยายระยะเวลากำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขยายระยะเวลายื่นงบการเงิน

ร้านค้าปิด

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

โดยในเอกสารดังกล่าวระบุถึงข้อสรุปที่ 5 องค์กรได้หารือกันคือ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบันและยังไม่ทราบว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อใดจึงขอยื่นขยายการจัดส่งงบการเงินและการยื่นภาษีเงินได้ออกไปอีก 3 เดือนหรือ 90 วัน

แรงงานนอกระบบวอนขอเยียวยา

จากข้อมูลของสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ระบุว่า แรงงานนอกระบบ และผู้ประกอบอาชีพอิสระทำการผลิตอยู่ตามบ้าน เป็นผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ขับรถรับจ้างสาธารณะ หมอนวด ช่างเสริมสวย ผู้ทำงานบริการ และอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 20.4 ล้านคน เป็นกลุ่มไม่ได้เป็นผู้ประกันตนภายใต้การประกันสังคมมาตรา39 และมาตรา 40 เป็นผู้ไดรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นกัน แต่บุคคลเหล่านี้กลับไม่ได้การเยียวยาจากทางการ โดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน หลังจากที่รัฐสั่งปิดกิจการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

น.ส. ลลิตา แซ่ว่าง พนักงานสอนนวดในธุรกิจสปา พราวิเนียบิวตี้สปา บอกว่าเธอก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องถูกให้พักงาน เพราะสถานประกอบการถูกสั่งปิดชั่วคราวตามนโยบายรัฐบาล แต่ต้องขาดรายได้ราว 500 - 1000 บาทต่อวัน โดยที่เธอเลือกที่จะอยู่ในกรุงเทพฯ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการรับเชื้อโรคหากเดินทางกลับบ้านเกิดที่จังหวัดน่าน

ศูนย์ออกกำลังกายก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ต้องถูกปิดให้บริหาร

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, ศูนย์ออกกำลังกายก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ต้องถูกปิดให้บริหาร

เนื่องจากเธอเป็นลูกจ้างรายวัน จึงไม่ได้รับความคุ้มครองในแบบผู้ประกันตนฯ สิ่งที่เธอเรียกร้องคือ ขอให้ภาครัฐเปิดช่องทางให้แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบได้รับค่าชดเชยและช่วยเหลือค่าใช้จ่ายประจำวัน รวมถึงในการรักษา การตรวจฟรีโรคโควิดฟรี เช่นเดียวกับแรงงานในระบบ

มาตรการช่วยเหลือจากกระทรวงแรงงานมีอะไรบ้าง

  • กรณีมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน (50% ไม่เกิน 7,500 บาท)
  • กรณีผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากการสั่งปิดกิจการเพื่อลดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงานอัตราร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน (50% ไม่เกิน 7,500 บาท)

สำหรับกรณีที่เป็นแรงงานนอกระบบนั้น นายอภิญญา สุจริตตานนท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานให้สัมภาษณ์กับรายงาน "เจาะลึกทั่วไป อินไซด์ ไทยแลนด์" ทางสถานีโทรทัศน์ MCOT HD เมื่อวันที่ 23 มี.ค. โดยยอมรับว่าไม่มีมาตรการเยียวยาสำหรับกลุ่มดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีเป็นผู้ประกันตนฝ่ายเดียว ถ้าเจ็บป่วยที่จะได้รับค่ารักษาพยาบาล และเงินทดแทนการขาดรายได้ สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วัน

แผนที่การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลก 22 เมษายน 2563

แผนที่นี้ใช้ข้อมูลที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์บันทึกไว้เป็นระยะ และอาจจะไม่สะท้อนข้อมูลล่าสุดของแต่ละประเทศ

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วทั้งหมด จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
2,524,433 177,503
จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต
สหรัฐอเมริกา 824,065 44,996
สเปน 204,178 21,282
อิตาลี 183,957 24,648
เยอรมนี 148,453 5,086
สหราชอาณาจักร 129,044 17,337
ฝรั่งเศส 117,324 20,796
ตุรกี 95,591 2,259
อิหร่าน 84,802 5,297
จีน 83,864 4,636
รัสเซีย 52,763 456
บราซิล 43,368 2,761
เบลเยียม 40,956 5,998
แคนาดา 39,405 1,915
เนเธอร์แลนด์ 34,139 3,916
สวิตเซอร์แลนด์ 28,063 1,478
โปรตุเกส 21,379 762
อินเดีย 20,111 645
เปรู 17,837 484
ไอร์แลนด์ 16,040 730
สวีเดน 15,322 1,765
ออสเตรีย 14,873 491
อิสราเอล 13,942 184
ซาอุดีอาระเบีย 11,631 109
ญี่ปุ่น 11,512 281
ชิลี 10,832 147
เกาหลีใต้ 10,694 238
เอกวาดอร์ 10,398 520
โปแลนด์ 9,856 401
ปากีสถาน 9,749 209
เม็กซิโก 9,501 857
โรมาเนีย 9,242 498
สิงคโปร์ 9,125 11
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 7,755 46
เดนมาร์ก 7,695 370
นอร์เวย์ 7,241 182
อินโดนีเซีย 7,135 616
สาธารณรัฐเช็ก 7,033 201
เบลารุส 6,723 55
ออสเตรเลีย 6,647 74
เซอร์เบีย 6,630 125
ฟิลิปปินส์ 6,599 437
กาตาร์ 6,533 9
ยููเครน 6,125 161
มาเลเซีย 5,482 92
สาธารณรัฐโดมินิกัน 5,044 245
ปานามา 4,821 141
โคลอมเบีย 4,149 196
ฟินแลนด์ 4,014 141
ลักเซมเบิร์ก 3,618 78
อียิปต์ 3,490 264
แอฟริกาใต้ 3,465 58
บังกลาเทศ 3,382 110
โมร็อกโก 3,209 145
อาร์เจนตินา 3,144 151
ไทย 2,826 49
แอลจีเรีย 2,811 392
มอลโดวา 2,614 72
กรีซ 2,401 121
ฮังการี 2,168 225
คูเวต 2,080 11
คาซัคสถาน 2,025 19
บาห์เรน 1,973 7
โครเอเชีย 1,908 48
ไอซ์แลนด์ 1,778 10
อุซเบกิสถาน 1,692 6
อิรัก 1,602 83
เอสโตเนีย 1,552 43
โอมาน 1,508 8
อาเซอร์ไบจาน 1,480 20
นิวซีแลนด์ 1,451 14
อาร์เมเนีย 1,401 24
ลิทัวเนีย 1,370 38
สโลวีเนีย 1,344 77
บอสเนีย และเฮอร์เซโกวินา 1,342 51
มาซิโดเนียเหนือ 1,231 55
สโลวาเกีย 1,199 14
แคเมอรูน 1,163 43
คิวบา 1,137 38
อัฟกานิสถาน 1,092 36
กานา 1,042 9
บัลแกเรีย 1,015 47
จิบูตี 945 2
โกตดิวัวร์ 916 13
เปอร์โตริโก 915 64
ตูนิเซีย 901 38
ไซปรัส 784 12
ไนจีเรีย 782 25
ลัตเวีย 748 9
อันดอร์รา 717 37
เรือสำราญ ไดมอนด์ พรินเซส 712 13
กินี 688 6
เลบานอน 677 21
คอสตาริกา 669 6
ไนเจอร์ 657 20
คีร์กิซสถาน 612 7
แอลเบเนีย 609 26
โบลิเวีย 609 37
บูร์กินาฟาโซ 600 38
อุรุกวัย 543 12
คอซอวอ 510 12
ฮอนดูรัส 510 46
ซานมาริโน 476 40
ดินแดนปาเลสไตน์ 466 4
มอลตา 443 3
จอร์แดน 428 7
ไต้หวัน 425 6
เซเนกัล 412 5
เรอูนียง 410
จอร์เจีย 408 4
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 350 25
มอริเชียส 328 9
กัวเตมาลา 316 8
มอนเตเนโกร 313 5
มายอต 311 4
ศรีลังกา 310 7
ไอล์ ออฟ แมน 307 9
เคนยา 296 14
เวเนซุเอลา 288 10
โซมาเลีย 286 8
เวียดนาม 268
มาลี 258 14
เจอร์ซีย์ 255 14
แทนซาเนีย 254 10
เกิร์นซีย์ 241 10
จาเมกา 233 6
เอลซัลวาดอร์ 225 7
ปารากวัย 213 9
หมู่เกาะแฟโร 185
คองโก 165 6
มาร์ตีนิก 164 14
กาบอง 156 1
รวันดา 150
กัวเดอลุป 148 12
ซูดาน 140 13
บรูไน (ดารุสซาลาม) 138 1
กวม 136 5
ยิบรอลตาร์ 132
กัมพูชา 122
เมียนมา 121 5
มาดากัสการ์ 121
ตรินิแดดและโตเบโก 115 8
เอธิโอเปีย 114 3
ไลบีเรีย 101 8
เบอร์มิวดา 98 5
เฟรนช์เกียนา 97 1
อารูบา 97 2
โมนาโก 94 3
มัลดีฟส์ 86
โตโก 86 6
อิเควทอเรลกินี 83
ลิกเตนสไตน์ 81 1
บาร์เบโดส 75 5
แซมเบีย 70 3
กาบูเวร์ดี 68 1
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส 68 10
หมู่เกาะเคย์แมน 66 1
กายอานา 66 7
บาฮามาส 65 9
ยูกันดา 61
ลิเบีย 59 1
เฮติ 58 4
เฟรนช์พอลินีเซีย 57
เบนิน 54 1
หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา 53 3
เซียร์ราลีโอน 50
กินีบิสเซา 50
เนปาล 42
ซีเรีย 42 3
โมซัมบิก 39
เอริเทรีย 39
เซนต์มาร์ติน (ส่วนของฝรั่งเศส) 38 2
มองโกเลีย 35
ชาด 33
เอสวาตีนี 31 1
ซิมบับเว 28 3
แอนติกา และบาร์บูดา 24 3
แองโกลา 24 2
ติมอร์-เลสเต 23
บอตสวานา 20 1
สปป.ลาว 19
มาลาวี 18 2
นิวแคลิโดเนีย 18
เบลีซ 18 2
ฟิจิ 18
นามิเบีย 16
โดมินิกา 16
เซนต์ลูเซีย 15
เซนต์คิตส์และเนวิส 15
คูราเซา 14 1
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา 14 2
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 14
เกรนาดา 14
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 13
มอนต์เซอร์รัต 11
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 11
หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส 11 1
กรีนแลนด์ 11
บุรุนดี 11 1
เซเชลส์ 11
สุรินัม 10 1
แกมเบีย 10 1
นิการากัว 10 2
วาติกัน 9
MS Zaandam 9 2
ปาปัวนิวกินี 7
มอริเตเนีย 7 1
ภูฏาน 6
แซ็ง-บาร์เตเลมี 6
ซาฮาราตะวันตก 6
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 5 1
ซูดานใต้ 4
เซาตูเมและปรินซิปี 4
แองกวิลลา 3
เยเมน 1
แซงปีแยร์และมีเกอลง 1

ที่มา: มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์, หน่วยงานท้องถิ่น

ข้อมูล 22 เมษายน 2563 13:00 GMT+7 ล่าสุด