ออสการ์: 3 เหตุการณ์สำคัญบนเวทีประกาศผลรางวัลออสการ์ปี 2022

จังหวะที่วิลล์ สมิธ นักแสดงชาวอเมริกันขึ้นเวทีไปตบหน้า คริส ร็อก พิธีกรประกาศมอบรางวัลในงานประกาศรางวัลออสการ์ 2022

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

จังหวะที่วิลล์ สมิธ นักแสดงชาวอเมริกันขึ้นเวทีไปตบหน้า คริส ร็อก พิธีกรประกาศมอบรางวัลในงานประกาศรางวัลออสการ์ 2022

นักแสดงผู้พิการทางการได้ยินชายคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์ ผู้กำกับหญิงคว้ารางวัลใหญ่ และนักแสดงตบหน้าพิธีกรผู้ประกาศรางวัล คือ 3 เหตุการณ์ที่บีบีซีไทยเลือกนำมาบันทึกไว้ว่าเป็นเรื่องเด่นในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ประจำปี 2022 ซึ่งจัดขึ้นที่นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ในช่วงสายวันนี้ (28 มี.ค.) ตามเวลาในไทย

"หัวใจไม่ไร้เสียง" ของทรอย คอตเชอร์

CODA (โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง) ภาพยนตร์ที่พูดถึงครอบครัวของผู้พิการทางการได้ยิน คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 94 และกลายเป็นภาพยนตร์จากสตรีมมิงเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้ ขณะที่ทรอย คอตเชอร์ เป็นผู้พิการทางการได้ยินชายคนแรกที่ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่องนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งรางวัลประวัติศาสตร์ของออสการ์ นอกจากนี้ โคด้ายังได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมอีกด้วย

ทรอย คอตเซอร์

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ทรอย คอตเซอร์ นักแสดงผู้บกพร่องทางการได้ยินคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัลบนเวทีออสการ์ โดยมียุน ยอ จอง พิธีกรประกาศมอบรางวัลถือรางวัลให้เพื่อให้ทรอยได้ใช้ภาษามือในการกล่าวสุนทรพจน์

คอตเชอร์ วัย 53 ปี เป็นนักแสดงและผู้กำกับผู้พิการทางการได้ยินชาวอเมริกัน เขาเริ่มต้นอาชีพการแสดงมาตั้งแต่ปี 1994 หลังจากได้รับการทาบทามให้แสดงในโรงละครคนหูหนวก (National Theatre of the Deaf) เขายึดอาชีพนักแสดงและกำกับการแสดงมานับแต่นั้น

สำหรับในการแสดงเรื่องโคด้า กองถ่ายจะมีล่ามภาษามือคอยแปลภาษาเพื่อสื่อสารระหว่างผู้กำกับ ทีมงานและนักแสดงที่เป็นผู้พิการทางการได้ยิน นอกจากนี้ ผู้กำกับและผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ เซียน เฮเดอร์ ก็ได้เรียนภาษามือก่อนลงมือเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

"ผมขอขอบคุณโรงละครทั้งหลายที่แสดงละครสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน และทำให้ผมได้รับโอกาสในการพัฒนาความสามารถในฐานะนักแสดง ผมขออุทิศรางวัลนี้ให้กับผู้พิการทางการได้ยิน คนดูแลผู้พิการ และผู้พิการทุกคน นี่คือช่วงเวลาของพวกเรา" บางส่วนของสุนทรพจน์ที่ทรอยได้กล่าวหลังขึ้นรับรางวัล

วิลล์ สมิธ ตบหน้าพิธีกร

เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนเวทีออสการ์ปีนี้เมื่อวิลล์ สมิธ นักแสดงชายชาวอเมริกันเดินขึ้นเวทีไปตบหน้า คริส ร็อก พิธีกรบนเวที เนื่องจากไม่พอใจที่ร็อกพูดถึงรูปลักษณ์ของ เจดา สมิธ ภรรยาของเขา โดยล้อว่าเธอควรได้แสดงหนังเรื่อง G.I. Jane (ตัวละครนำที่ไว้ผมสั้นทรงสกินเฮด)

ก่อนหน้านี้เจดาเปิดเผยบนอินสตาแกรมว่าเธอมีอาการผมร่วงอย่างหนัก ซึ่งในระหว่างที่ร็อกพูดล้อเธอนั้น เจดาซึ่งนั่งอยู่ข้าง ๆ สามีในงานประกาศรางวัลออสการ์ ก็มีท่าทีไม่สบอารมณ์อารมณ์นัก

หลังจากเดินขึ้นไปตบหน้าพิธีกรแล้ว สมิธก็เดินกลับไปนั่งและตะโกนขึ้นมาบนเวทีให้ร็อกหยุดเอ่ยถึงภรรยาของเขา

Will Smith hitting Chris Rock at the Oscars

ที่มาของภาพ, Reuters

วิลล์ สมิธ

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

วิลล์ สมิธ ซึ่งได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง King Richard ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เขาตบหน้าคริส ร็อก พิธีกรบนเวที เนื่องจากไม่พอใจที่ร็อกล้อภาพลักษณ์ภรรยาของเขา

สมิธกลับขึ้นมาบนเวทีอีกครั้งเพื่อรับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง King Richard โดยในช่วงหนึ่งของการกล่าวสุนทรพจน์ เขาได้ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและกล่าวว่า "คุณอาจจะต้องโดนทำร้าย โดนคนพูดจาไม่ดีใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมนี้ บางคนอาจไม่ให้ความเคารพคุณเลย แต่คุณก็ต้องฝืนยิ้มและทำเหมือนว่ามันไม่เป็นอะไร"

เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งมองว่าแม้ร็อก ผู้เป็นพิธีกรไม่สมควรนำรูปลักษณ์ของเจดามาเล่นตลกเช่นนั้น แต่วิลล์ สมิธเองก็ไม่ควรใช้ความรุนแรงตอบโต้กับเหตุการณ์นี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานสำคัญที่ถูกถ่ายทอดสดออกอากาศไปทั่วโลก

ผู้ใช้ทวิตเตอร์นามว่า @junkfoodjourney ทวีตตอบกลับบนทวีตของสื่อ Variety ว่า "นี่เป็นสิ่งที่น่ากลัว วิลล์ สมิธ ควรถูกตั้งข้อหาทำร้ายร่างกาย ถ้าเขาได้ทำร้ายคริสไปจริง ๆ ความรุนแรงไม่ควรถูกยอมรับไม่ว่าจะในรูปแบบไหน มุกตลกล้อเลียนว่าแย่แล้ว แต่การตอบโต้กลับแย่กว่า"

ข้าม Twitter โพสต์ , 1
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 1

แม้แต่ทางฝั่งออสการ์เองก็ออกแถลงถึงเหตุการณ์นี้ "ทางสถาบันไม่ยอมรับความรุนแรงในทุกรูปแบบ คืนนี้เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเฉลิมฉลองกับผู้ชนะรางวัลในการประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 94 นี้ของเรา ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นสมควรได้รับการยกย่องจากคนรอบข้างและผู้รักในภาพยนตร์ทั่วทุกมุมโลก"

ข้าม Twitter โพสต์ , 2
ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก "ยินยอมและไปต่อ"

สิ้นสุด Twitter โพสต์, 2

ผู้กำกับหญิงบนเวทีออสการ์

เจน แคมเปียน ผู้กำกับจากภาพยนตร์เรื่อง The Power of the Dog กลายเป็นผู้กำกับหญิงคนที่สาม ในประวัติศาสตร์ออสการ์ที่คว้ารางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปครอง และหากนับภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมปีนี้อย่างโคด้า จากฝีมือของผู้กำกับและนักเขียนบทหญิง เซียน เฮเดอร์ ด้วยแล้ว จะทำให้รางวัลสำคัญในปีนี้ตกไปอยู่ในมือของผู้กำกับหญิงมากกว่าผู้กำกับผู้ชาย

ผู้กำกับถือรางวัลออสการ์

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เจน แคมเปียน (ซ้าย) ได้รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง The Power of the Dog ส่วน เซียน เฮเดอร์ คว้ารางวัล บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม ในเวทีออสการ์ปี 2022

เจน แคมเปียน เป็นผู้กำกับหญิงชาวนิวซีแลนด์ อายุ 67 ปี เธอห่างหายจากการนั่งแท่นผู้กำกับภาพยนตร์ไปกว่า 12 ปี นับจากภาพยนตร์เรื่อง Bright Star ที่ออกฉายในปี 2009 กว่า 40 ปีในวงการภาพยนตร์เธอได้รับรางวัลออสการ์เป็นตัวที่สองแล้ว โดยครั้งแรกเธอได้รางวัลในฐานะคนเขียนบทภาพยนตร์ในรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปี 1994 จากเรื่อง The Piano ส่วน เซียน เฮเดอร์ ผู้กำกับหญิงชาวอเมริกันวัย 44 ปี ที่เพิ่งได้กำกับภาพยนตร์เรื่องโคด้าเป็นเรื่องที่สอง และคว้ารางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปครองด้วย

สำหรับรายชื่อบุคคลและภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ประจำปี 2022 ทั้งหมด มีดังต่อไปนี้

  • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ CODA
  • ผู้กำกับยอดเยี่ยม ได้แก่ Jane Campion จากเรื่อง The Power of the Dog
  • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้แก่ Will Smith จากเรื่อง King Richard
  • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ Jessica Chastain จากเรื่อง The Eyes of Tammy Faye
  • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ Ariana DeBose จากเรื่อง West Side Story
  • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ได้แก่ Troy Kotsur จาก CODA
  • บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ได้แก่ Belfast โดย Kenneth Branagh
  • บทดัดแปลงยอดเยี่ยม ได้แก่ CODA โดย Siân Heder
  • ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ได้แก่ Drive My Car โดยผู้กำกับชาวญี่ปุ่น Ryusuke Hamaguchi
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ Hans Zimmer จากเรื่อง Dune
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ No Time to Die ของ Billie Eilish จากเรื่อง No Time to Die
  • ออกแบบเสียงยอดเยี่ยม ได้แก่ Dune
  • กำกับภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ Dune
  • ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ Summer of Soul
  • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ได้แก่ Cruella
  • ภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม ได้แก่ Encanto
  • ออกแบบเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ได้แก่ Dune
  • ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ได้แก่ Dune
  • ตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ Dune
  • แต่งหน้าทำผมยอดเยี่ยม ได้แก่ The Eyes of Tammy Faye
  • ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ The Long Goodbye
  • ภาพยนตร์อนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ The Windshield Wiper
  • ภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ The Queen of Basketball